Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
25 ม.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมบางประเทศถึงย้ายเมืองหลวง?
1
โดยปกติแล้วเมืองหลวงของประเทศหนึ่งๆ มักจะเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด เป็นที่ตั้งของศูนย์บริหารงานราชการและมีความสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน แต่ก็ใช่ว่าหากเมืองนั้นเป็นเมืองหลวงแล้วจะคงสถานะเช่นนั้นตลอดไป ในบางครั้ง รัฐบาลของหลายประเทศก็มีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงคราม การเมือง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
1
อินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศล่าสุดที่ประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา ที่ตั้งอยู่บนเกาะชวา ไปอยู่ทางกาลีมันตันตะวันออก เกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงแห่งใหม่นี้จะถูกเรียกว่า “นูซันตารา (Nusantara)” ซึ่งมีความหมายในภาษาอินโดนีเซียว่าหมู่เหมาะ อันสะท้อนถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย
📌 สาเหตุหลักที่รัฐบาลมักตัดสินใจย้ายเมืองหลวง
แน่นอนว่าการย้ายเมืองหลวงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่รัฐบาลประกาศวันนี้แล้วพรุ่งนี้จะสามารถย้ายได้ทันที จึงเป็นการตัดสินใจที่ต้องใช้เวลาพิจารณาความสมควร และเหตุผลหลักๆ ที่มักถูกนำมาพิจารณาก็จะเป็นเรื่องทางการเมือง, ผลต่อสังคม, หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังว่าเมืองหลวงแห่งใหม่นั้นจะถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างดี และทำให้ประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้กล่าวว่า การย้ายเมืองหลวงเป็นวิธีหนึ่งที่อาจช่วยกระจายความมั่งคั่งของคนในชาติได้ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว เมืองหลวงมักจะเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ และก็มีทรัพยากรมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างเมืองหลวงกับจังหวัดอื่นๆ
1
อย่างกรุงจาการ์ตาเองก็มีความเจริญแตกต่างกับภูมิภาคอื่นๆ ที่เหลือในประเทศอยู่พอสมควร โดยส่วนใหญ่แล้วความเจริญในอินโดนีเซีย มักจะไปกระจุกอยู่ในฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย จากข้อมูลในปี 2018 พบว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย กระจุกตัวอยู่ในแถบเกาะชวา ตลอดจนฝั่งตะวันตกบางส่วน โดยมีมูลค่า Gross Regional Domestic Product (GRDP) คิดเป็นกว่า 80% การย้ายเมืองหลวงจึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยลดความมีอำนาจของเกาะชวาและเกาะสุมาตราลง และการลงทุนก็จะย้ายไปสู่ฝั่งตะวันออกมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านที่ดินและหน่วยงานบริการของรัฐ ดังนั้นการย้ายเมืองหลวงอาจจะช่วยให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจดีขึ้น
อีกทั้งปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ก็มักจะเป็นเหตุผลสำคัญในการย้ายเมืองหลวงเช่นกัน ซึ่งเหตุผลนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นอย่างมากในการย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย เนื่องจากกรุงจาการ์ตา มีคนอาศัยอยู่ราว 10 ล้านคน จึงมีความแออัดและทำให้การจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก
และด้วยลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ กรุงจาการ์ตาถือเป็นหนึ่งในเมืองที่จมน้ำเร็วที่สุดในโลกเนื่องจากพื้นดินทรุดตัวจากการสูบน้ำบาดาลมาใช้ในปริมาณมากเกินไป อีกทั้งมีการสร้างตึกสูงเป็นจำนวนมาก คาดการณ์กันว่าบางส่วนทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตาจะค่อยๆ จมไปประมาณ 25 ซม. ต่อปี ที่ผ่านมากรุงจาการ์ตาจึงมักเผชิญกับอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง และทำให้เศรษฐกิจรวมถึงการบริหารงานของภาครัฐต้องหยุดชะงักลง ประกอบกับที่กล่าวไปข้างต้นว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในแถบนี้ ดังนั้นหากวันหนึ่งที่กรุงจาการ์ตาจมน้ำไป นั่นหมายถึงหายนะครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจแน่นอน
📌 ประเทศไหนในโลกนี้เคยย้ายเมืองหลวงไปแล้วบ้าง
อินโดนีเซียเองไม่ใช่ประเทศแรกที่ตัดสินใจย้ายเมืองหลวง ในอดีตที่ผ่านมาก็มีหลายประเทศพยายามย้ายเมืองหลวงด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางประเทศก็ย้ายสำเร็จทั้งหมด ส่วนบางประเทศก็ย้ายเฉพาะส่วนที่เป็นศูนย์บริการราชการของรัฐเท่านั้น แต่เมืองหลวงเดิมยังเป็นศูนย์กลางด้านการเงินและการค้าอยู่ดี
มาเลเซีย ย้ายศูนย์บริการราชการจากกัวลาลัมเปอร์ ไปอยู่ที่ปุตราจายา ในปี 1999 เพื่อลดความแออัดในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่มีความเป็นเมืองหนาแน่นขึ้น อย่างไรก็ตามกัวลาลัมเปอร์ยังคงมีสถานะเป็นเมืองหลวง เป็นที่พำนักของกษัตริย์ และยังคือเป็นศูนย์กลางการเงินและการค้าอยู่
1
1.
พม่า ย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปยังกรุงเนปิดอว์ ในช่วงปี 2005
2.
ออสเตรเลีย จะเรียกว่าเป็นการย้ายเมืองหลวงไปที่แคนเบอร่า ก็อาจจะไม่ถูกนัก เพราะแคนเบอร่าถูกสร้างให้เป็นเมืองหลวงขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1920 เพื่อเป็นการประนีประนอมระหว่างเมืองใหญ่ 2 เมืองคือ ซิดนีย์ และเมลเบิร์น ที่มีขนาดใหญ่พอกันทั้งคู่
3.
ปากีสถาน ย้ายศูนย์บริหารราชการจากการาจี ไปอยู่ที่กรุงอิสลามาบัด ในช่วงทศวรรษ 1960
4.
ไนจีเรีย ย้ายเมืองหลวงจากลากอส ไปอยู่ที่อาบูจา ในช่วงปี 2001 เนื่องจากความหนาแน่นของประชากร และเมืองลากอส เองก็อยู่ห่างไกลจากฝั่งอื่นๆ ในประเทศมาก เมื่อย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อาบูจา จึงมีการวางผังเมืองและถนนเป็นอย่างดี
1
📌 ความท้าทายในการย้ายเมืองหลวงต่อจากนี้ของอินโดนีเซีย
หลังจากที่รัฐบาลอินโดนีเซียเห็นชอบการย้ายเมืองหลวงแล้ว ก็คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อดำเนินการย้ายเมืองหลวงให้เป็นไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม กรุงจาการ์ตาจะยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินอยู่เหมือนเดิม
1
ส่วนในเรื่องของการออกแบบเมืองหลวงใหม่ ก็คาดว่าจะสร้างให้มีความเป็น “Smart City” และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายกรัฐมนตรีของอินโดนีเซีย ก็ได้กล่าวว่าเมืองหลวงแห่งใหม่นี้จะสามารถดึงดูดคนที่มีความสามารถจากทั่วทุกมุมโลก และเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 32.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และถือเป็นโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลอินโดนีเซียเคยทำมา ซึ่งถูกคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2045
3
[เกร็ดเล็กน้อย] อันที่จริง รัฐบาลของไทยในหลายยุคสมัยก็เคยมีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงเหมือนกัน เนื่องจากกรุงเทพฯ มีความหนาแน่น เต็มไปด้วยมลพิษ การจราจรติดขัด และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอาจทำให้กรุงเทพฯ จมน้ำลงสักวัน นับตั้งแต่
1.
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงไป จ.เพชรบูรณ์
2.
สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ มีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงไป อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา
3.
สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็น รมช.มหาดไทย ก็เคยศึกษาการย้ายเมืองหลวงไป จ.นครปฐม
4.
สมัยนายทักษิณ ชินวัตร มีแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงไป อ.บ้านนา จ.นครนายก
1
และในสมัยรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการย้ายเมืองหลวงนั้นเป็นประเด็นใหญ่ ที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าควรจะศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ และโฟกัสไปที่การพัฒนาจังหวัดที่ใหญ่รองลงไปอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีกว่า
1
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
Farida, F. (2021). Indonesia’s capital city relocation: A perspective of regional planning. Jurnal Perspektif Pembiayaan Dan Pembangunan Daerah, 9(3), 221 - 234.
thoughtco.com
theguardian.com
channelnewsasia.com
bbc.com
Hypebeast.com
thairath.co.th
เครดิตภาพ : Nagara Rimba Nusa, Ibu Kota Negara Indonesia – Winning concept design by urbanplus.
อินโดนีเซีย
ข่าวรอบโลก
เศรษฐกิจ
12 บันทึก
14
5
12
12
14
5
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย