25 ม.ค. 2022 เวลา 11:52 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราการเติบโตของประชากรไทยเหลือแค่ 0.25% ต่อปี!...แล้วอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร?
1
คู่รักหลายคู่ที่วางแผนจะมีลูก ในช่วง 2 ปีมานี้หลายคู่ก็ถอดใจไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดและสภาพการเงินที่ไม่แน่นอน
บางคนอาจจะบอกว่า ก็แล้วแต่สิ ถ้าคนไม่อยากจะมีลูกก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย เกี่ยวอะไรกับฉันด้วย...อยากให้ลองคิดดูดีๆ ว่าในโลกของอนาคตที่มีแต่ผู้สูงอายุเต็มไปหมด ทุกคนไม่ได้มีเงินได้ต้องเสียภาษี แต่ยังได้รับสิทธิบำนาญ สวัสดิการต่างๆ อยู่ ในขณะที่ประชากรวัยแรงงานมีอยู่เพียงหยิบมี จะต้องเก็บภาษีต่อคนสูงแค่ไหนถึงจะเพียงพอ? ไหนจะงบประมาณรักษาพยายาลที่ต้องเพิ่มขึ้น เมื่อประเทศเต็มไปด้วยประชากรสูงวัย
1
ทีนี้เรามาลองดูตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดของคนไทยกันสักหน่อย
Fertility rate หรืออัตราการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง ในปี 2019 อยู่ที่ 1.51 นั่นหมายถึงว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ 1 คน ให้กำเนิดเด็ก 1.51 คน ถ้าเป็นไปตามนี้ย่อมแปลว่าประชากรที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถทดแทนประชากรที่หายไปได้ (ต้องมีลูกอย่างน้อย 2 คน เพื่อชดเชยกับจำนวนพ่อแม่ที่วันหนึ่งต้องหายไป)
Source: World Bank
ในส่วนของอัตราการเติบโตของประชากรก็ยิ่งดูถดถอยเข้าไปใหญ่ เพราะอัตราการเติบโตของประชากรไทยอยู่ที่เพียง 0.25% ต่อปีเท่านั้น (เทียบกับประเทศใกล้ๆ อย่าง สปป.ลาว อยู่ที่ 1.47% ต่อปี)
Source: Data Commons
และในปี 2020 ที่เป็นช่วงที่ไทยเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิดอย่างหนักนั้น เด็กไทยเกิดแค่เพียง 5.8 แสนคน ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่อัตราการเกิดต่ำกว่า 6 แสนคน เทียบเท่ากับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยทีเดียว
ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า รัฐจะแก้ปัญหาอย่างไร จะทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าประเทศที่นี้ยังมีอนาคตหลงเหลืออยู่พอที่เขาอยากให้ลูกเติบโตมาเป็นอนาคตของประเทศนี้ได้
อย่าลืมว่าต้นทุนการเลี้ยงให้เด็กคนหนึ่งเติบโตมาอย่างมีคุณภาพนั้นมีราคาสูงมาก การจะจูงใจให้คนอยากมีลูกมันคงไม่ใช่แค่การแจกเงินเล็กๆ น้อยๆ ให้คนอยากมีลูก แต่ต้องมีการสร้างภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเลี้ยงเด็กให้มีคุณภาพดีด้วย
เพราะเด็กที่มีคุณภาพ คืออนาคตของประเทศนี้
ขอคนละ 1 ไอเดีย ว่าทำอย่างไรถึงจะจูงใจให้คนมีลูกกันได้ comment กันมาเลย 😀
โฆษณา