Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sanook.com
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2022 เวลา 04:28 • ข่าว
น้ำมันดิบ 4 แสนลิตร รั่วกลางทะเลมาบตาพุด! เตือนอาจเคลื่อนเข้าชายหาดระยอง
2
ท่อน้ำมันดิบใต้ทะเลในนิคมมาบตาพุด รั่วไหล 4 แสนลิตร กรมควบคุมมลพิษคาด กลุ่มน้ำมันอาจเคลื่อนถึง หาดแม่รำพึง-หมู่เกาะเสม็ด ในวันที่ 28 ม.ค. ที่จะถึงนี้
มีรายงานว่า เกิดเหตุท่อน้ำมันดิบใต้ทะเล หลังตรวจพบบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึก หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง เกิดรั่วไหล
3
ทั้งนี้ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) เผยแพร่แถลงการณ์ เรื่อง พบน้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) จนถึงขณะนี้ 2 ฉบับ โดยเนื้อหาฉบับที่ 1 มีดังนี้
6
"วันที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 21.06 น. บริษัทฯ พบน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
4
ในทันทีที่เกิดเหตุ บริษัทฯ ได้ระดมทีมเพื่อควบคุมสถานการณ์ตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งหยุดกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดตามขั้นตอนความปลอดภัย บริษัทฯ มีการแจ้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ชุมชน ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อม ศูนย์บัญชาการตอบโด้สถานการณ์ฉุกเฉินและกระจายข่าว และกลุ่มบริษัทข้างเคียง
1
บริษัทฯ ขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจะดำเนินการสืบสวนเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ตังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอย้ำว่า เราคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นสำคัญ
1
หากมีความคืบหน้า บริษัทฯ จะรายงานสถานการณ์ให้ทราบโดยเร็วที่สุด"
นอกจากนี้ เมื่อเวลา 04.02 น. ของวันนี้ มีการเผยแพร่แถลงการณ์ ฉบับที่ 2 ซึ่งเปิดเผยว่า "ตามที่บริษัทฯ แจ้งเหตุน้ำมันดิบรั่วบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) นั้น
2
บริษัทฯ ขอแจ้งเพิ่มเติมว่า หลังจากที่เกิดเหตุ ทีมตอบโต้ภาวะถูกเฉินได้ทำการควบคุมสถานการณ์ตามขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และได้ทำการหยุดกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมดตามขั้นตอนความปลอดภัย ไนขณะนี้สถานการณ์สามารถควบคุมได้และหยุดการรั่วไหลตั้งแต่เวลา 00:18 น. ของวันนี้ และได้ดำเนินการใช้เรือฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมัน เนื่องจากเวลาที่เกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน บริษัทฯ จะทำการสำรวจบริเวณที่เกิดเหตุในเช้าวันนี้ เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป
1
บริษัทฯ ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อม (EMCC), ศูนย์บัญชาการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินและกระจายข่าว (EIC), ชุมชนกลุ่มประมงใกล้เคียง, ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.ภาค 1) และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี ซึ่งประกอบด้วยกำลังพล เรือ และน้ำยาขจัดคราบน้ำมัน เพื่อใช้ไนการขจัดคราบน้ำมัน สำหรับการดำเนินงานของโรงกลั่นน้ำมัน บริษัทฯ ยังสามารถเดินเครื่องได้ตามปกติโดยไม่มีผลกระทบจากอุบัติการณ์ดังกล่าว
หากมีความคืบหน้า บริษัทฯ จะรายงานสถานการณ์ให้ทราบเป็นระยะจนกว่าสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ"
ขณะที่ กรมควบคุมมลพิษ ได้รับการประสานจากบริษัทฯ ว่า เหตุเกิดเมื่อเวลา 00.10 น. วันที่ 26 มกราคม มีน้ำมันดิบรั่วไหลจำนวน 400,000 ลิตร จากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล บริเวณมาบตาพุด จุดเกิดเหตุ คือ บริเวณทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล (SPM) ละติจูด 12 องศา 29.3 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 11.76 ลิปดาตะวันออก
กรมควบคุมมลพิษ จึงใช้แบบจำลอง OilMap ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลุ่มน้ำมันดังกล่าวอาจเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดแม่รำพึง จนถึงบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ในวันที่ 28 มกราคม เวลาประมาณ 17.00 น. ในปริมาณ 180,000 ลิตร
4
นอกจากนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จ.ระยอง โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเตือนภัยว่า "ด่วน! เตือนภัย ชายหาดใน จ.ระยอง เกาะเสม็ด เกิดน้ำมันดิบรั่วแถวท่าเรือมาบตาพุด ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด"
1
อ่านเพิ่มเติม
sanook.com
น้ำมันดิบ 4 แสนลิตร รั่วกลางทะเลมาบตาพุด! เตือนอาจเคลื่อนเข้าชายหาดระยอง
ท่อน้ำมันดิบใต้ทะเลในนิคมมาบตาพุด รั่วไหล 4 แสนลิตร กรมควบคุมมลพิษคาด กลุ่มน้ำมันอาจเคลื่อนถึง หาดแม่รำพึง หมู่เกาะเสม็ด 28 ม.ค.
28 บันทึก
65
7
154
28
65
7
154
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย