26 ม.ค. 2022 เวลา 23:45 • ความคิดเห็น
===============
“สัปดาห์ละบทสองบท”
===============
🌅• รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง - Defining Moment
✍🏻• รวิศ หาญอุตสาหะ เขียน
🔖• The Amount of Joy ตอนที่ 9 || หมื่น - หนึ่ง
📝• บันทึกใจความแบบดิบ ๆ ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป พร้อม บันทึกการอ่านของ อิคิ ∙ 生き
[ อรัมภทบโดย อิคิ ∙ 生き ]
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ นับจากวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา
ก็เป็น 15 วัน พอดิบพอดี ที่ อิคิ ∙ 生き ห่างหาย
จากการแบ่งปันบันทึกการอ่าน
“สัปดาห์ละบทสองบท” ไป
แต่วันนี้มีเหตุให้ อิคิ ∙ 生き อย่างแบ่งปัน
บันทึกการอ่านค่ะ และเหตุนั้นก็คือ เหตุการณ์
การเสียชีวิตของคุณหมอกระต่ายจักษุแพทย์
จบใหม่ ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ขณะที่คุณหมอ
ข้ามทางม้าลาย เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565
ที่ผ่านมา
ซึ่ง อิคิ ∙ 生き เห็นว่า บทเรียนจากจากตอน
“หมื่น - หนึ่ง” ในหนังสือ “รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง”
จะให้สติกับผู้ขับขี่บนท้องถนนได้เป็นอย่างดี
และนี่จึงเป็นที่มาในการนำบันทึกการอ่านบทนี้
มาแบ่งปันกับเพื่อน ๆ ในวันนี้ค่ะ
[ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง ]
=================
หมื่น - หนึ่ง

=================
บทนี้คุณรวิศเล่าถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์เพื่อการพาณิชย์ 2 โรง
ในประเทศญี่ปุ่น
———
||โรงที่ 1|| โรงไฟฟ้าที่ฟุกุชิมะ
- -
ตอนสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เรื่องต้นทุนและ
ประสิทธิภาพถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ
- -
ส่วนเรื่องความปลอดภัย ก็จะเน้นที่การรับมือกับ
แผ่นดินไหวเป็นหลัก โรงไฟฟ้านี้จึงถูกสร้างขึ้น
บนรากฐานที่เป็นหิน
- -
เนื่องจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ ใกล้ทะเล
ดังนั้นจึงทำให้ระหว่างการก่อสร้าง จะต้องทำลาย
กำแพงหินสูงที่ป้องกันน้ำทะเลลง เพื่อทำให้
การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง สะดวกมากขึ้น
———
||โรงที่ 2|| โรงไฟฟ้าที่โอนากาวะ
- -
ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ตั้งอยู่กลางทะเลเช่นกัน
และอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะประมาณ
178 กิโลเมตร
- -
ตอนแรกลักษณะของโรงไฟฟ้าโอนากาวะนั้นจะ
คล้ายกับโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ กล่าวคือ ต้องสร้าง
บนหินใกล้ทะเลเช่นกัน
- -
แต่รองประธาน ฮิราอิ เสนอว่า ควรย้ายสถานที่
สร้างห่างออกไปจากทะเลอีกหน่อย โดยให้อยู่สูง
กว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 15 เมตร พร้อมทั้งเสนอ
ให้สร้างกำแพงสูง 15 เมตรเอาไว้กันน้ำทะเลอีกด้วย
- -
เหตุผลที่รองประธาน ฮิราอิ ต้องการทำเช่นนั้นเพราะ
ครอบครัวของเขาเคยไปดูแผ่นหินอายุหลายร้อยปี
ที่อาเนโยชิ ซึ่งถูกสร้างไว้เป็นอนุสรณ์แด่ผู้เสียชีวิต
จากเหตุการณ์สินามิ
- -
และสถานที่แห่งนี้ได้สลักคำเตือนไว้ว่า
“อย่าสร้างบ้านของท่านต่ำกว่าจุดนี้”
- -
นอกเหนือจากเรื่องที่ตั้งและกำแพง
ท่านรองประธานฯ ยังให้สร้างระบบฉุกเฉิน
เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีน้ำเพียงพอสำหรับ
ระบบหล่อเย็นเสมอ
- -
เพราะว่าเวลาสึนามิมา น้ำจะถูกดูดจากชายฝั่ง
ทะเลออกไปที่ทะเล
- -
การสร้างโรงไฟฟ้าในที่สูงและการลงทุนกับระบบ
ป้องกันสูงสุดของท่านรองประธานฮิราอิ ถูกวิศวกร
จำนวนมากมองเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและทำให้ต้นทุนสูง
เกินไปโดยใช่เหตุ
- -
แต่ความดื้อดึงของท่านรองประธานฯ ก็ทำให้
โรงไฟฟ้าที่พร้อมรับมือกับสึนามิ เกิดขึ้นในท้ายที่สุด
[ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง ]
ในปี 2011 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุด
เป็นลำดับที่ 4 ของโลก นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา
- -
โรงไฟฟ้าทั้ง 2 สามารถต้านทานแผ่นดินไหวครั้งนี้ได้
แต่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไม่สามารถต้านทานสิ่งที่ตามมา
หลังแผ่นดินไหวได้ นั่นคือ “สึนามิ” ที่ใหญ่ที่สุดใน
ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคน
และอีกหลายแสนคนไม่มีที่อยู่อาศัย
- -
โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะเสียหายอย่างหนัก ในขณะที่
โรงไฟฟ้าโอนากาวะไม่เป็นอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่อยู่ใกล้
และได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิมากกว่า
- -
นอกจากไม่เป็นอะไรแล้ว โรงไฟฟ้าโอนากาวะยังเป็น
สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับ
ความเสียหายน้อยมากในบริเวณนั้น จนคนผู้คนที่ไร้บ้าน
จากภัยพิบัติครั้งนี้ต้องมาพึ่งพิงอาศัยเพื่อหลบภัย
[ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง ]
เมื่อเรื่องนี้ได้รับการสืบสวนถึงสาเหตุ จึงได้ข้อสรุปว่า
เหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
แต่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของมนุษย์ เพราะ. . .
=====================

เหตุการณ์นี้สามารถป้องกันได้
=====================
ในตอนที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้ คนส่วนใหญ่ไม่เห็น
ด้วยกับรองประธาน ฮิราอิ ในการลงทุนเพื่อยกระดับ
ความปลอดภัยสูงสุดให้กับเหตุการณ์ที่มีแทบจะ
ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
- -
แต่ความยึดมั่นในความไม่ประมาทของรองประธาน
ฮิราอิ ทำให้เขาไม่กลัวที่จะถูกมองว่ามีปฏิกิริยา
เกินกว่าเหตุ ไม่สนใจว่าจะถูกมองเป็นคนโง่เขลา
ในสายตาของใครหลายคน
- -
เพราะสำหรับเขาเรื่องนี้ถือเป็น. . .
===============

เรื่องคอขาดบาดตาย
===============
30 ปี ผ่านไป การกระทำเกินว่าเหตุของเขา ก็ได้รับ
การพิสูจน์แล้วว่าเขาคิดถูก ยิ่งไปกว่านั้นการตัดสินใจ
ของท่านรองประธาน ยังช่วยชีวิตคนจำนวนมหาศาล
ไว้อีกด้วย
[ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง ]
เรื่องนี้ทำให้คุณรวิศคิดถึงบทความของ
พี่โจ้-ธนา เธียรอัจริยะ ที่เขียนถึงคุณไกรสร จันศิริ
ประธานกรรมการ บมจ. ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์
ผู้ผลิตทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่งของโลก
- -
คุณไกรสร สอนลูกทุกคนถึงคำว่า “บ่วงอิก”
===============
บ่วง → แปลว่า หมื่น
อิก → แปลว่า หนึ่ง
===============
ส่ิงนี้หมายความว่า ต่อให้มีความเสี่ยงต่ำขนาดไหน
แต่ถ้าความเสี่ยงนั้นจะทำให้ธุรกิจพังหรือล่มจม
ก็ต้องไม่ทำเด็ดขาด
- -
เรื่องนี้สอนคุณรวิศว่า . . .
- -
“เราต้องรู้ว่าความเสี่ยงที่สุดในการทำงาน
การทำธุรกิจ หรือ การใช้ชีวิตคืออะไร เมื่อรู้แล้ว
เราจะต้องหาทางป้องกันทุกวิถีทาง และต้องกล้า
ที่จะต่อสู้ยืนหยัดเพื่อทำในส่ิงนั้นให้ได้ด้วย”
[ อิคิ ∙ 生き's Memo ]
การที่ อิคิ ∙ 生き ได้ยินข่าวของ คุณหมอกระต่าย
จักษุแพทย์จบใหม่ ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ถูก
Big Bike ยี่ห้อ Ducati ชน ในขณะที่คุณหมอกำลัง
ข้ามทางม้าลาย . . .เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565
ที่ผ่านมา
- -
เหตุการณ์นี้ทำให้ อิคิ ∙ 生き หวนคิดถึงช่วงเวลา
ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา
- -
ช่วงเวลาเกือบ 3 ปี ที่ อิคิ ∙ 生き อยู่ที่นั่นทำให้นิสัย
การขับรถของ อิคิ ∙ 生き เปลี่ยนไปมากค่ะ
จากคนที่ . . .
• ใจร้อน ไม่มีน้ำใจบนท้องถนน สำหรับ อิคิ ∙ 生き
การขับรถคือใครดีใครได้ ถ้ามีน้ำใจให้รถอีกทาง
ไปก่อน เราจะถูกกักขังให้อยู่จุดนั้นชั่วกัลปาวสาน
- -
• การอยู่หลังพวงมาลัยรถ ทำให้ อิคิ ∙ 生き คิดว่า
เราเป็นใหญ่บนท้องถนน รถมาแล้วคนต้องถอยไป
เชื่อไหมคะ มีอยู่ช่วงหนึ่ง อิคิ ∙ 生き เคยคิดว่า
รถมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่รถ เป็นเพียงสิ่งกีดขวาง
- -
อิคิ ∙ 生き จะไม่เคยให้ทาง รถมอเตอร์ไซค์ เลยค่ะ
เพราะเราถือว่าเราใหญ่กว่า เกิดเหตุใด ๆ เราไม่
เจ็บตัว ดังนั้นเขาซึ่งเล็กกว่าต้องหยุด
- -
• เมื่อก่อน อิคิ ∙ 生き ไม่เคยรู้ความหมายของ
ทางม้าลายที่แท้จริงค่ะ อิคิ ∙ 生き คิดเสมอว่า
เมื่อรถมาแล้ว แปลว่าคนต้องหยุด
- -
• เมื่อก่อน อิคิ ∙ 生き ไม่เคยให้ความสำคัญกับป้าย
หรือกฎจราจรเท่าที่ควร จะให้ความสำคัญแค่เพียง
สัญญาณไฟจราจรตามสี่แยกเท่านั้น เอาเข้าจริง
เราไม่เคยสนใจป้ายจราจรเลยก็ว่าได้ค่ะ เช่น. . .
---> เราก็ไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ เวลาที่เราเห็น ป้ายหยุด
ตามสี่แยก สิ่งที่เราควรทำคือ หยุดที่ป้ายนั้นเพื่อดู
ซ้าย ขวา ให้ปลอดภัยก่อนออกรถ
---> ป้ายเตือนต่าง ๆ เช่น “เขตโรงเรียน ลดความเร็ว”
แม้เราจะเห็นแต่ก็ไม่เคยสนใจ เหมือนป้ายเหล่านั้น
เป็นเพียงป้ายประดับถนน
---> ป้ายจำกัดความเร็ว สำหรับ อิคิ ∙ 生き
ถ้าไม่มีตำรวจยืนอยู่ หรือ รู้ว่าบริเวณนั้นไม่กล้อง
เราก็ไม่เคยสนใจค่ะ
การได้ขับรถที่ Seattle เป็นระยะเวลาหลายปี
ทำให้ อิคิ ∙ 生き เปลี่ยนนิสัยการขับขี่ไปอย่างมาก
จากคนใจร้องก็ค่อย ๆ กลายเป็นคนใจเย็น
ในการขับรถมากขึ้น เพราะที่ Seattle ป้ายจราจร
ถือเป็นคำสั่งที่ทุกคนบนท้องถนนต้องปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัดค่ะ ไม่ว่าจะเป็น . . .
||ป้าย STOP 🛑||
- -
ถ้าเราเห็นป้าย STOP 🛑 เมื่อไหร่
เราต้องหยุดรถให้สนิท นับ 1 ถึง 3 ในใจ
มองซ้ายมองขวาก่อนออกรถ
- -
ช่วง 2 - 3 เดือนแรก ที่ อิคิ ∙ 生き ขับรถที่โน่นใหม่ ๆ
เรายังไม่เห็นความสำคัญของป้าย STOP 🛑 ค่ะ
ยังขับรถสไตล์ไทย ๆ อยู่ ถ้าไม่มีตำรวจ เราก็ขับ
ตามใจสไตล์เรา
- -
ครั้งหนึ่งที่ อิคิ ∙ 生き ขับรถลงเขา และจริงแล้ว
บริเวณนั้นก็มีป้าย STOP 🛑 หลายป้ายที่เราต้องหยุด
แต่เราไม่หยุด ปล่อยรถไหลลงตามแรงโน้มถ่วง
อย่างสบายใจ
- -
จนมาถึง 4 แยกหนึ่ง อยู่ ๆ ก็มีรถขับผ่านหน้ารถของ
อิคิ ∙ 生き ไป แบบระยะประชิด จนรถ อิคิ ∙ 生き เกือบ
ชนรถคันดังกล่าว แบบเส้นยาแดงผ่าแปดค่ะ
- -
ถ้าวันนั้นชนกันจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นน่าจะเกิด
ความเสียหายร้ายแรง เพราะมันเป็นทางลงเขาค่ะ
- -
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ อิคิ ∙ 生き รู้ว่า การจอดรถ
ให้สนิทดูซ้าย ขวาทุกครั้งเมื่อเห็นป้าย STOP 🛑
เป็นเรื่องสำคัญค่ะ
- - - - -
||ป้ายจำกัดความเร็ว||
ที่ Seattle จะมีการแบ่ง ZONING อย่างชัดเจนว่า
บริเวณไหน เป็น . . .
• เมือง
• ที่อยู่อาศัย
• ชุมชน
• โรงเรียน 🚸
และจะมีกฎชัดเจนว่าบริเวณไหน ต้องขับรถ
ด้วยความเร็วไม่เกินเท่าไหร่ ซึ่งคนที่ได้รับใบขับขี่
จะต้องทราบ อีกทั้งจะมีป้าย SPEED LIMIT
กำกับมองท้องถนนเสมอ
- -
นอกจากนั้นแล้ว การขับรถด้วยความเร็วที่เกิน
กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ
เป็นอย่างมากค่ะ เราจะคิดว่าขับเกินไปแค่นิดเดียว
ไม่ได้นะคะ
มีครั้งหนึ่ง ที่อเมริกา อิคิ ∙ 生き ขับรถอยู่บนถนน
เราก็ว่าเราขับช้าแล้ว แต่เอาเข้าจริงวันนั้น อิคิ ∙ 生き
ก็ขับรถเกิน SPEED LIMIT ที่กำหนดไปนิดหน่อยค่ะ
- -
ระหว่างขับรถ อยู่ ๆ ก็มีรถตำรวจขับมาขนานกับ
รถของ อิคิ ∙ 生きในขณะนั้น อิคิ ∙ 生き
คิดเราไม่ได้ขับเร็ว และอยู่ ๆ จะเบรกก็ดูไม่ดี
มันชัดเจนเกินไป
- -
สรุปคือ อิคิ ∙ 生き ค่อย ๆ ถอนคันเร่งอย่างเป็นธรรมชาติ
ดังนั้นรถของ อิคิ ∙ 生き จึงค่อย ๆ ขับแซงรถคุณตำรวจ
ไปแบบ Slow Motion
เมื่อนั้น หวอรถคุณตำรวจก็ดังขึ้นทันทีค่ะ
ประกาศว่าให้เราจอดรถข้างทางโดยด่วน
เมื่อถูกถามเรื่องใบขับขี่ อิคิ ∙ 生き บอกว่าอยู่
หลังรถ จึงมีความจำเป็นต้องออกมานอกรถ
- -
การออกมานอกรถตำรวจก็มีกระบวนการค่ะ คือ
ให้เรายกมือขึ้นเหนือหัวสอง ใครถูกจราจรที่โน่นจับ
และต้องออกนอกรถ เราต้องทำแบบนี้ทุกคนค่ะ
เพราะตำรวจกลัวเรามีอาวุธ
- -
ในตอนนั้น อิคิ ∙ 生き ก็คิดในใจเหมือนนะคะว่า
นี่เราขับเกิน SPEED LIMIT ไปนิดเดียว มันต้อง
โดนขนาดนี้เลยหรือเนี่ย
- -
สรุปวันนั้นถูกตักเตือนไปค่ะ เพราะขับเร็วเกิน
SPEED LIMIT ไปเพียงนิดเดียว ถ้าเกินเยอะกว่านี้
คงได้รับบทลงโทษที่สูงขึ้นค่ะ
การขับรถที่ Seattle ทำให้ อิคิ ∙ 生き เป็นคนมีน้ำใจ
บนท้องถนนมากถึงค่ะ ทุกสี่แยกจะมีป้าย STOP 🛑
และนอกจากเราจะต้องหยุดรถให้สนิทแล้ว รถแต่ละคัน
จะต้องผลัดกันไปทีละคันโดยวนตามเข็มนาฬิกาค่ะ
- -
สิ่งนี้ถือเป็นมารยาทบนท้องถนน ที่ผู้ขับขี่ทุกคน
จะทราบดี หากขับรถแบบที่ อิคิ ∙ 生き ขับที่เมืองไทย
กล่าวคือ ถ้าคันหน้าได้ไป เราต้องรีบขับตามคันหน้า
ไปติด ๆ
- -
ถ้าเราทำเช่นนี้ใน Seattle เราจะถูกมองว่าเสียมารยาท
และขับรถได้อย่างไร้อารยธรรมอย่างมากค่ะ
- -
นอกจากเรื่องการให้ทางและผลัดกันไปแล้ว บนถนน
ใน Seattle จะถือว่า “คน” มีสิทธิมากกว่า “รถ” ดังนั้น
ทุกครั้งที่เราเห็นคนข้ามถนนบนทางม้าลายเราต้อง
จอดรถให้สนิท และรอคนข้ามถนนให้เรียบร้อยก่อน
เราถึงออกรถได้ค่ะ
- -
การที่ อิคิ ∙ 生き ต้องหยุดรถที่ป้าย STOP 🛑
และให้ทางรถคันอื่นสลับกันไปทีละคัน ประกอบกับ
การหยุดรถเมื่อเห็นคนบนท้องถนนทุกครั้ง
ส่ิงเหล่านี้ทำให้ . . .
- -
อิคิ ∙ 生き กลายเป็นคน ที่มีน้ำใจบนท้องถนนมากขึ้น
ไปโดยปริยาย เพราะแต่ละวันเราต้องเจอป้าย STOP 🛑
และให้ทางแทบจะทุกสี่แยกบนถนนเลยค่ะ

การขับรถที่ Seattle ทำให้ อิคิ ∙ 生き ตระหนักถึง
การให้ความสำคัญกับเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน
มากยิ่งขึ้นค่ะ
- -
ที่ Seattle เวลามีรถฉุกเฉิน 🚑 วิ่งบนถนน
รถทุกคันที่อยู่ ณ ตรงนั้นต้องจอดชิดขอบทาง
ทันทีและหยุดรถให้สนิท
- -
การทำแบบนี้จะทำให้รถฉุกเฉินสามารถจะขับรถ
ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ได้อย่างปลอดภัย
เนื่องจากต้องนำผู้ป่วยหรือคนเจ็บไปถึงโรงพยาบาล
ให้เร็วที่สุด
- -
แรก ๆ อิคิ ∙ 生き ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ว่าเราต้องจอดรถ
ชิดขอบทางทันทีและหยุดรถให้สนิททันที่ได้ยินเสียงหวอ
ครั้งนั้น อิคิ ∙ 生き แค่เบี่ยงรถไปเลนข้าง ๆ และขับต่อ
แบบชลอ ชลอเหมือนที่ขับในเมืองไทย
- -
ปรากฎว่ารถของ อิคิ ∙ 生き โดยประกาศตักเตือน
อย่างรุนแรง คนทั้งถนนมองรถคันนี้ว่าทำอะไรกันเนี่ย
ทำไมไม่หยุดรถ วันนั้นรู้สึกว่าเราได้ทำผิดร้ายแรง
อย่างมากเลยค่ะ
ที่ Seattle จะให้ความสำคัญกับการขับขี่บนท้องถนน
ตั้งแต่ตอนให้ใบขับขี่เลยนะคะ ตอนสอบใบขับขี่
อิคิ ∙ 生き ต้องสอบปฏิบัติมากถึง 2 รอบค่ะ
เพราะสอบตกในครั้งแรกนั่นเอง 😅
- -
เวลาสอบ เราจะต้องขับออกถนนจริง และมีครูผู้สอบ
นั่งรถไปกับเราด้วย
อิคิ ∙ 生き สอบครั้งแรกตกด้วยเหตุผลเล็กน้อยมากค่ะ
กล่าวคือ. . .
• อิคิ ∙ 生き ไม่คาดเข็มขัดให้เรียบร้อยก่อน Start รถ
• เวลาถอยรถหันแค่คอไม่หันไปทั้งตัวและ
ชะเง้อมองด้านหลัง
• ณ ป้าย Stop อิคิ ∙ 生き แค่แตะเบรกแล้วปล่อย
ไม่จอดรถให้สนิทแล้วนับ 1-2-3 ในใจ
- -
เหตุผลเหล่านี้ทำให้ อิคิ ∙ 生き ต้องไปสอบใบขับขี่
ใหม่เป็นครั้งที่ 2 ค่ะ
แต่เมื่อ อิคิ ∙ 生き กลับมาเมืองไทย อิคิ ∙ 生き
ไม่สามารถขับรถแบบที่ขับที่ Seattle ได้ 100% ค่ะ
- -
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ณ สี่แยกหนึ่งในกรุงเทพที่ไม่มี
สัญญาณไฟจราจร หาก อิคิ ∙ 生き ขับรถแบบ
ผลัดกันไปทีละคัน อิคิ ∙ 生き บอกได้เลยค่ะว่า
วันนั้น อิคิ ∙ 生き น่าจะไปถึงที่หมายช้ากว่าเวลา
ที่กำหนดเป็นอย่างมาก
- -
ดังนั้นพอกลับมาถึงเมืองไทย แม้ อิคิ ∙ 生き จะ
ขับรถในมาตรฐานเดียวกับที่ขับที่ Seattle ไม่ได้
100% แต่มันก็ทำให้ อิคิ ∙ 生きให้ความสำคัญ
กับคนบนท้องถนน มีนำ้ใจหยุดรถ หรือให้ทาง
รถคันอื่นไปก่อนบ้าง
- -
ที่สำคัญ อิคิ ∙ 生き ไม่ได้ขับรถเร็วเหมือนสมัย
ก่อนแล้วค่ะ ทุกวันนี้คุณโอ๋คู่ชีวิตของ อิคิ ∙ 生き
จะต้องบอก อิคิ ∙ 生き อยู่เสมอ ว่าพอจะขับเร็วขึ้น
กว่านี้ได้หรือไม่
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น มันทำให้ อิคิ ∙ 生き
คิดถึงเรื่อง หมื่น-หนึ่ง หรือ บ่วง-อิก ที่คุณรวิศ
ได้กล่าวไว้ค่ะ
- -
หลาย ๆ ครั้งเราเห็นการปฏิบัติตามกฎจราจร
เป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น ถ้าขับรถในเมืองไทย
แล้วเราจอดรถสนิททุกสี่แยก ต่อด้วยการนับในใจ
1 ถึง 3 อาจเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะสำหรับใครหลายคน
- -
หรือแม้กระทั่งการไม่รัดเข็มขัด ขับรถเร็วเกินที่กำหนด
ถอยรถแบบไม่หันหลังไปทั้งตัว ไม่ชะลอรถเมื่อเห็น
ทางม้าลาย ขับรถไปแต่งหน้าไป ก้มหน้าพิมพ์ตอบ
ข้อความทางไลน์ [ อิคิ ∙ 生き เผลอทำเป็นประจำค่ะ ]
- -
เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่บางครั้งเราก็ดูเบา แต่ถ้าวันใด
วันหนึ่งมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ
ที่เราเป็นผู้ประสบ หรือเป็นผู้ก่อเหตุ มันจะเป็นความ
เสียหายร้ายแรง ที่ไม่คุ้มค่าต่อความประมาทเลยค่ะ
- -
เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 1 ในหมื่นนั้น อาจเป็นการ
สูญเสียชีวิตใครสักคน หรือ แม้กระอนาคตที่ต้องเสีย
ไปของของตัวผู้ขับขี่เอง ซึ่ง อิคิ ∙ 生き คิดว่ามัน
ไม่คุ้มกันเลยค่ะ
- -
สำหรับคนไทยหลาย ๆ คน อาจคิดว่าเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นกับหมอกระต่าย คงถึงวาระที่หมอกระต่าย
จะต้องจากไป
- -
แต่สำหรับ อิคิ ∙ 生き เรากลับคิดว่า มันคงถึงวาระ
ที่จะต้องปฏิวัติการจราจรและจิตสำนึกของผู้ใช้รถ
ใช้ถนนในสังคมเราแล้วมากกว่าค่ะ
- -
เราทำสิ่งนี้ได้ทันทีนะคะ โดยเริ่มที่จิตสำนึก
ในการขับขี่และใช้ท้องถนนของเราก่อน
- -
เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหมอกระต่าย
เหมือนกับเหตุการณ์โรงไฟฟ้าที่คุณรวิศได้เล่า
ข้างต้นค่ะ
- -
เหตุการณ์นี้ไม่ใช่อุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย
แต่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของมนุษย์ เพราะ. . .
=====================

เหตุการณ์นี้สามารถป้องกันได้
=====================
เช้าวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอฝากบันทึกความคิด
ไว้แต่เพียงเท่านี้ค่ะ
- -
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ขอลาไปก่อน
แล้วพบกันใหม่ ในบทความหรือบันทึกการอ่าน
ตอนต่อ ๆ ไปจาก อิคิ ∙ 生き นะคะ
- -
อรุณสวัสดิ์ค่ะเพื่อน ๆ ทุกคน 🙏🏻😊
หมายเหตุ : หากเพื่อน ๆ ท่านใดสนใจเนื้อหาจากหนังสือเล่มนี้ จนรอ อิคิ ∙ 生き สรุปเรื่องราวทีละบทของ “รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง” ไม่ไหวก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้ที่ Link ด้านล่างนะคะ https://www.facebook.com/KOOBBOOKS/
#สัปดาห์ละบทสองบท #รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา