Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Cloudsec Asia
•
ติดตาม
27 ม.ค. 2022 เวลา 09:29 • ธุรกิจ
‘Quantum’ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก พลิกวงการ Cybersecurity
‘ควอนตัม’ (Quantum) คือเทคโนโลยีที่กำลังเป็นความหวังครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์โลก และเป็นเทคโนโลยีที่อาจปฏิวัติโลกทั้งใบได้ในพริบตา ซึ่งจุดเด่นของทฤษฎีนี้คือการพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติอะตอม ทั้งในด้านรูปแบบของการเคลื่อนที่ที่สามารถไปได้หลายทิศทางในเวลาเดียวกัน และความเร็วของการสื่อสารแบบไม่ต้องผ่านตัวกลาง พัฒนาการหนึ่งที่กำลังเป็นที่จับตามองทั่วโลกคือการนำเอาทฤษฎีทางกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) มาสร้างคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) เมื่อนำทฤษฎีควอนตัมมาปรับใช้กับคอมพิวเตอร์จะทำให้เกิดชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลข้อมูลมหาศาลได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเร็วในที่นี้ตามที่ Google คาดการณ์ไว้คือกว่า 100 ล้านเท่าจากชิปคอมพิวเตอร์ปกติ และยังไม่รวมถึงความสามารถอื่น ๆ อีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ
แน่นอนว่าควอนตัมนั้นสร้างแรงกระเพื่อมให้กับทุกวงการ รวมถึงวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน
พัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสด้วยการสุ่มเลข
ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้ารหัสเพื่อให้การสื่อสารหรือส่งข้อมูลระหว่างทั้งสองฝ่ายนั้นปลอดภัย ปกติแล้วการเข้ารหัส (Encryption) ทางไซเบอร์แบบดั้งเดิมจะใช้อัลกอริธึมในสร้างชุดตัวเลข อักษร หรืออักขระพิเศษขึ้นมาเป็นรหัส เช่น การเข้ารหัสด้วยฟังค์ชัน Hash หรือสร้างคู่กุญแจ (Key pair) ที่ผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งทำให้คาดเดาได้ยากมาก และลดโอกาสที่จะโดนแฮกหรือเดารหัสสำเร็จ
อย่างไรก็ตามการสุ่มเลขแบบดั้งเดิมมักเรียกกันว่า ‘เลขสุ่มเทียม’ (Pseudo-random number generator) กล่าวคือแม้เลขส่วนมากจะเป็นการสุ่ม แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ทำให้ยังมีโอกาสถูกแฮกอยู่บ้าง ซึ่งหากใช้หลักการของควอนตัมในสาขาควอนตัมออปติก (Quantum Optics) มาช่วย จะทำให้สามารถสร้างตัวเลขแบบสุ่มที่แท้จริง (True Random) ได้ ซึ่งมีหลายบริษัท เช่น Quantum Dice หรือ IDQuantique ที่กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้อยู่
การแจกจ่ายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution)
ในการเข้ารหัสข้อมูลก็มีขั้นตอนของการแจกจ่ายกุญแจสำหรับการไขรหัสให้แก่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เสี่ยงต่อการถูกดักฟังหรือโจรกรรมข้อมูลโดยบุคคลที่สามได้เช่นกัน การนำทฤษฎีควอนตัมมาปรับใช้กับการแจกจ่ายกุญแจนั้น จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเรากำลังถูกดักฟังหรือไม่ โดยการส่งกุญแจกันจะส่งผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกความเร็วสูง โดยจะมีส่งที่เรียกว่า ‘โฟตอน’ (Photon) ซึ่งเป็นอนุภาคของแสงชนิดหนึ่งมาคอยดูแลการส่ง หากมีแทรกแซงโดยบุคคลที่สาม อนุภาคดังกล่าวจะเปลี่ยนไป ทำให้รู้ได้ทันที ซึ่งบริษัทเช่น KETS Quantum Security และ Toshiba ก็กำลังมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีนี้เช่นกัน
ในทางตรงกันข้ามทฤษฎีควอนตัมนั้นก็ถือเป็นดาบสองคมที่อาจทำให้การแฮกข้อมูลด้วยการเดาเลขรหัสนั้นง่ายขึ้นเนื่องจากพลังการประมวลผลความเร็วสูงที่ประมวลผลข้อมูลได้มหาศาลของควอนตัม อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของควอนตัมเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกมากที่รอการค้นพบ ควอนตัมยังคงเป็นอีกเทคโนโลยีที่ควรจับตามองกันต่อไปอย่างใกล้ชิดต่อไปในอนาคต
ปกป้ององค์กรของท่านจากการโจมตีทางไซเบอร์
ติดต่อเรา Cloudsec Asia
ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของเอเชียแปซิฟิก
Tel.+66 2962 3425
www.cloudsecasia.com
#cybersecurity
#cybersecurityisamust
#cloudsecasia
References:
Lipman, P., 2021. How Quantum Computing Will Transform Cybersecurity. [online] Forbes. Available at [Accessed 19 October 2021]
IBM., 2021. What is quantum computing?. [online] IBM. Available at [Accessed 19 October 2021]
Gillis, A, S., 2021. quantum key distribution (QKD). [online] SearchSecurity. Available at [Accessed 19 October 2021]
quantumcomputer
cybersecurity
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย