28 ม.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประชากรเกิดน้อยลง ส่งผลอย่างไรกับเศรษฐกิจ
จำนวนประชากรที่เกิดในประเทศไทย ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
จากปี 2555 ที่มีคนไทยเกิด 820,000 คนต่อปี
ล่าสุดปี 2564 เหลือเพียง 540,000 คนต่อปี
5
ซึ่งสวนทางกับสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่ยังคงเพิ่มมากขึ้น
จนทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของสังคมผู้สูงอายุ
แล้วสถานการณ์แบบนี้ จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
ค่าครองชีพที่สูง
การหางานที่มีการแข่งขันกันสูง
ภาระค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหากมีลูก
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ น่าจะเป็นเหตุผลที่ใครหลายคนตัดสินใจไม่อยากมีลูก
เมื่อคนต้องการมีลูกลดลงแล้ว การเติบโตของจำนวนประชากรในประเทศก็น้อยลงไปด้วย
3
ปี 2523 ประเทศไทย มีประชากร 47 ล้านคน
ปี 2543 ประเทศไทย มีประชากร 63 ล้านคน
ปี 2563 ประเทศไทย มีประชากร 70 ล้านคน
1
จะเห็นได้ว่า
ในช่วง 20 ปีแรก ประชากรเพิ่มขึ้นถึง 16 ล้านคน
ขณะที่ 20 ปีต่อมา เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 7 ล้านคน เท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม การแพทย์สมัยใหม่ ทั้งเทคโนโลยีการตรวจหาและรักษาโรค
บวกกับพฤติกรรมที่เราใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ก็ได้ทำให้คนเรามีอายุขัยมากขึ้น
โดยในปี 2563 อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยคือ 77.7 ปี เพิ่มขึ้นจาก 70.2 ปีในอดีต
อายุขัยที่เพิ่มขึ้นมีผลโดยตรงต่อจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
1
ตอนนี้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ถึง 13% ของประชากรทั้งประเทศ
สัดส่วนดังกล่าวทำให้ประเทศไทยได้ “ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” เรียบร้อยแล้ว
และจะยกระดับเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” หากสัดส่วนเพิ่มจาก 13% เป็น 14%
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้อัตราส่วน “วัยแรงงานต่อวัยสูงอายุ” ของไทยลดต่ำลง
จากเมื่อก่อนอยู่ที่ 15 ต่อ 1 มาในวันนี้ เหลือเพียง 6 ต่อ 1 เท่านั้นเอง
1
แล้วตัวเลขนี้ สำคัญอย่างไร ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น
รัฐบาลก็จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- ค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น จากอัตราการล้มป่วยของผู้สูงอายุที่มากกว่ากลุ่มคนวัยทำงาน
- บำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ ก็ต้องจ่ายนานขึ้น
- สวัสดิการอื่น ๆ เช่น เงินทุนกู้ยืมสำหรับผู้สูงอายุแบบปลอดดอกเบี้ยนานขึ้น
6
รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและป้องกันอุบัติเหตุตามพื้นที่สาธารณะก็ต้องมากขึ้นไปด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว รายจ่ายของรัฐบาลก็จะเพิ่มขึ้นตามมา
ในขณะที่รายได้หลักของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี ซึ่งหากเราย้อนกลับไปที่อัตราส่วนวัยแรงงานต่อวัยสูงอายุแล้ว จะสะท้อนให้เห็นว่า
เมื่อก่อน รัฐบาลสามารถเก็บภาษีจากคนทำงาน 15 คน เพื่อแบ่งไปเป็นสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ 1 คน
แต่วันนี้ รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้เพียง 6 คนเท่านั้น และอาจจะเหลือเพียงแค่ 3 คน ในปี 2570
5
แล้วสังคมผู้สูงอายุ กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร ?
เมื่อวัยหนุ่มสาวลดลง การบริโภคและกำลังซื้อก็มีแนวโน้มที่จะลดลง
แถมค่าจ้างแรงงานก็อาจจะแพงขึ้น
ทำให้ขาดความน่าสนใจที่จะลงทุนในสายตาต่างชาติ
3
เมื่อวัยแรงงานมีน้อยลง กำลังการผลิตก็มีแนวโน้มจะลดน้อยลง
ทำให้ธุรกิจขยายตัวได้ช้า และอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
1
แล้วถ้าต้องไปเก็บภาษีจากบริษัทและคนทำงานมากขึ้น
แรงจูงใจในการทำงานก็จะยิ่งน้อยลง
จนวนลูปกลับไปสู่กำลังการผลิตไม่พออีกทอดหนึ่ง
1
แล้วประเทศที่เผชิญกับปัญหานี้
พวกเขามีแนวทางในการกำหนดนโยบาย กันอย่างไร ?
1
- รัฐบาลเกาหลีใต้ให้โบนัสสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เป็นเงิน 8,000 บาทต่อเดือน
ให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมคลอด 54,000 บาท รวมถึงพ่อและแม่สามารถลางานเพื่อดูแลลูกได้ 3 เดือน
10
- รัฐบาลสิงคโปร์จะมอบเงินสด 1.4 แสนบาทต่อบุตรหนึ่งคน และจะเพิ่มเป็น 1.9 แสนบาทต่อคน สำหรับบุตรคนที่ 3 ขึ้นไป
2
รวมถึงหากพ่อแม่เปิดบัญชีเพื่อลูกกับธนาคารที่กำหนด จะได้รับเงินสมทบอีกเท่าตัวจากรัฐบาลตั้งแต่ 1.4 ถึง 4.4 แสนบาทด้วย
3
- รัฐบาลจีนยกเลิกนโยบายที่ให้มีลูกแค่ 1 คน ซึ่งมีมากว่า 30 ปี และล่าสุดก็สนับสนุนให้มีลูกได้ถึง 3 คน รวมถึงพยายามลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการมีลูก เช่น ค่าเรียนกวดวิชา
5
นอกจากนี้ หลายประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา จูงใจชาวต่างชาติด้วยสวัสดิการและคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างที่ประเทศเยอรมนี ได้มีการเปิดรับแรงงาน ถึงปีละ 400,000 คน
1
หรือแม้แต่แคนาดาที่เปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้าไปทำงานถาวรกว่า 1,200,000 คน ในช่วงปี 2564 ถึง 2566
1
แล้วนโยบายสำหรับการเกษียณในแต่ละประเทศ มีอะไรบ้าง ?
- ประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้จ้างงานจนถึงอายุ 65 ปี และให้ตั้งศูนย์จัดหางานและส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ
2
- ประเทศสิงคโปร์ มีการเปลี่ยนนิยามผู้สูงอายุ และการเกษียณอายุเป็น 62 ปี และต่อสัญญาการทำงานได้ถึง 65 ปี
1
- ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการกำหนดนิยามอายุของประชากรผู้สูงอายุอยู่ที่ 65 ปีขึ้นไป และบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองห้ามไม่ให้เลิกจ้างงานโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ในการเลิกจ้าง
4
ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นนโยบายที่จะช่วยแรงงานในประเทศ และเป็นการรักษาเสถียรภาพของจำนวนแรงงานในระบบ
2
แล้วโอกาสของเรื่องนี้มีบ้างไหม ?
แน่นอนว่าธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ ก็คือ
- สินค้าเกี่ยวกับการแพทย์ รวมถึงอุปกรณ์ IoT
ที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงอายุได้
1
- การบริการด้านสุขภาพ
ตรงนี้ประเทศไทย ถือเป็นจุดหมายปลายทางของชาวต่างชาติอยู่แล้ว
1
- การท่องเที่ยวอาจจะเป็นรูปแบบใหม่
เป็นกลุ่มเฉพาะลูกค้าสูงวัย, พักยาวนานขึ้น และใช้พนักงานน้อยลง
1
- อสังหาริมทรัพย์
เป็นบ้านแนวราบนอกเมือง รวมไปถึงบ้านพักสำหรับผู้สูงวัย
รวมถึงการทำประกันสุขภาพ และธุรกิจต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายแรงงานของรัฐบาล
ในขณะที่ธุรกิจที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบ ก็คือ สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับเด็กและการแต่งงาน
เช่น เสื้อผ้าและของเล่นสำหรับเด็ก โรงเรียน รวมถึงธุรกิจรับจัดงานแต่งงานก็อาจจะโดนไปด้วย
3
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดที่ลดลง
ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป
แต่ยังส่งผลถึงภาพรวมเศรษฐกิจและภาคการลงทุน
1
ที่ผ่านมา หลายประเทศก็ได้มีการกำหนดนโยบายออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว
ซึ่งผลลัพธ์ในแต่ละนโยบายเป็นอย่างไร ก็เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่เราควรติดตาม
1
และแม้ว่าหลายคนจะบอกว่าเทคโนโลยีและหุ่นยนต์กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในอนาคต ก็อาจจะเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตต่อหัวทดแทนแรงงานที่หายไปได้
เศรษฐกิจก็อาจจะยังคงเติบโตได้
แต่มันก็อาจจะยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ว่า ทำไมคนยุคใหม่ไม่ค่อยอยากมีลูก อยู่ดี..
2
หรือเราอาจจะต้องคิดกลับกันว่า
การไม่อยากมีลูกไม่ใช่ปัญหา และจริง ๆ แล้ว ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่ประชากรเพิ่มขึ้นเพียงปัจจัยเดียว แต่เป็นปัจจัยอื่นเช่น รายได้ต่อหัวประชากร
5
และถ้าเป็นแบบนั้น ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น เหมือนในอดีตที่เคยเป็นมา..
References
โฆษณา