Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MotoSyndrome Area 755
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2022 เวลา 03:27 • ยานยนต์
☢☢☢ 1 9 4 9 SUNBEAM S7 De Luxe ☢☢☢
🤩🤩 รถล้อโตสุดหรู “ฝ่าวิกฤต”…ทางตัน!!! 😍🤩
⚜⚜ ซันบีม...ถือเป็นรถจักรยานยนต์จากเกาะอังกฤษที่แปลกตามากแบรนด์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในสารบพรถ “ปีลึก” เครื่องยนต์จุดคู่บ๊อกเซอร์วางตามยาว ขับเคลื่อนด้วยเพลา คือสรรพคุณที่ “หวังผล” และโลดแล่นเป็นโมเดลแรกหลังสิ้นสงคราม...สแตนดาร์ด...เดอร์ลุค...ทางเลือก...ส่วนผสมครบเครื่องมาก/ น้อย ถูกปรุงแต่ง...หวัง...ทะลวงทางตัน!!! ทว่า ด้วยแพทเทิร์นของรุ่น “S” ที่มีข้อจำกัดก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ไลน์ผลิตเดียวโดดๆ ที่ออกสู่ตลาด...จึง...อาจไม่เจนโสต “ปริมาณ” ไม่ได้การันตี “คุณภาพ” กระนั้น...ผม...จึงเลือกที่จะปีนข้ามกำแพง ช่วงชีวิตที่สั้นๆ นี่แหละ...ที่ผมสนใจ!!!
ภาพรวมที่ค่อนข้างจะแปลกตา เมื่อเทียบเคียงกับรถแบรนด์อื่นๆ ของอังกฤษ ล้อโต เครื่องบ๊อกเซอร์ ขับเพลา คุณลักษณะเด่นๆ ประจำตัวของ “S” ซีรีส์
⚜⚜ แบล็กกราวด์ของ Sunbeam นั้นเริ่มต้นขึ้นที่ Wolverhampton ราวปี 1912 John Marston ประสบความสำเร็จจากการขายรถจักรยานภายใต้ชื่อ Sunbeam และเขาเริ่มหันมาให้ความสนใจที่จะจับตลาดรถจักรยานยนต์บ้าง โปรดักท์แรกที่คลอดออกมาเป็นเครื่องยนต์ SV สูบเดียว ขนาด 247 ซี.ซี. 2 เกียร์ ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยโซ่ ทว่า โมเดลที่สร้างชื่อให้ Sunbeam กลับเป็นระบบหล่อลื่นโซ่ขับหลังที่มีนิคเนมว่า "little oil bath" ...1913 Sunbeam มาพร้อมเครื่องยนต์แบบ V-Twin ขนาด 499 ซี.ซี. ที่มีเครื่องยนต์ให้เลือกมากขึ้นถึง 3 แบรนด์ดัง อาทิ JAP, MAG และ AKD
เครื่องยนต์แบบบ๊อกเซอร์ ทว่า โรงงานเรียกชื่อทางการว่า Tandem Twin ขุมกำลังแค่ 487 ซี.ซี. 25 แรงม้า จึงดูน้อยไปนิดเมื่อเทียบกับสัดส่วนของน้ำหนักตัวถึง 437 ปอนด์
⚜⚜…1918 Sunbeam ถูกซื้อโดยให้โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ แต่ก็ยังได้สิทธิในการผลิตรถจักรยานยนต์...ปี 1920/ 1922 Sunbeam เป็นแชมป์รายการ Senior TT ซึ่งส่งผลให้มียอดขายขาขึ้นในเวลาถัดมา…1924 เครื่องยนต์ OHV ยังคงประสบความสำเร็จจากรายการแข่งขัน TT ปีกระทั่งปี 1929...ปี 1930 มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน รูปแบบของตัวรถ ถังนํ้ามัน ให้ลงตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งโปรดักส์ที่ออกขายยังคงอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว…1936 โรงงานถูกขายให้กลุ่ม AMC และย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่ London…1939 เครื่องยนต์ 250-500 ซี.ซี. กับระบบวาล์วคุณภาพเยี่ยมถูกผลิตขึ้นมา แต่กลับต้องสะดุดลงเมื่อเกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2
ดูความอลังกาของช่วงหน้า โช้ค กระโหลกไฟ รวมถึงดุม มิติไหนก็ใหญ่คับหน้าอกหน้าใจ
ถังน้ำมันมากความจุ ทว่า ดีไซด์เน้นที่ความเรียบเนียน ไม่ต้องพึ่งคิ้วสันอย่างแบรนด์คู่แข่ง
...ต่อมา...เราเห็น Sunbeam อีกครั้งในปี 1947 ทว่า มันถูกควบรวมเข้ากับไลน์ผลิตหลักของโรงงานผลิตอาวุธชื่อดังนาม BSA โดยเครื่องยนต์ที่ทำการออกแบบใหม่นั้นดูแปลกตา ซึ่ง Sunbeam ก็ไม่ต้องการให้ใครเรียกมันว่า Boxer แบบอย่างเยอรมนี โดยผู้สร้าง Erling Poppe ให้ชื่อมันว่า Tandem Twin (แถวเรียงแบบคู่) แถมยังปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนแบบใหม่ที่เป็นว่า...เพลา!!! 🤩🤩
ขับหลังด้วย “เพลา” นิ่มนวลดี แถมดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องพะวงเรื่องการปรับตั้ง
ระบบแอฟซอฟหลังสไลด์ (Plunger) กันกระเทือนยุคกลาง โดยร้อยแกนล้อเข้ากับแกนโช้คหลังโดยตรง
⚜⚜ S7 คันแรกคลอดในปี 1946 แต่ก็ประสบปัญหามากมายรุมเร้า โดยเฉพาะที่ชุดเฟืองเกียร์ขับ รวมถึงพละกำลังของเครื่องยนต์ที่ไม่จัดจ้าน มันสั่นสะท้านมากเมื่อใช้งานในรอบเครื่องยนต์ที่สูง การควบคุมก็ไม่สู้จะดีนัก แถมยังตั้งราคาขายไว้แพง...ง...หูฉี่!!! S7 ที่เป็นความหวัง...เลย...ต้องพังคลืน...น...1949 โรงงานส่ง S7 De Luxe ที่ได้รับการอัพเกรดมาในหน้าตาเดิมๆ ที่ยังคงใช้ยางหน้า/ หลังขนาดใหญ่ขนาด 4.60/ 16 (Balloon Tyres) มันนิ่มนวลขึ้นเพราะเครื่องยนต์ถูกวางไว้บน “ลูกยาง” แท่นเครื่องที่ช่วยลดอาการสั่นไหว การควบคุมดีขึ้น ทว่า ก็ยังคง “แรง” น้อยไปนิดเพราะยังไม่ได้ขยับขยายความจุของเครื่องยนต์ ปลายปี 1949 รถ “ทางเลือก” ก๊อกสุดท้ายในนาม S8 เกิดขึ้นหวังตอบโจทย์
บังโคลนเสริมปีก บนล้อเหล็กขนาดเขื่องกับขนาดของกระทะ 4.60/ 16 ไซด์นี้ไซด์เดียวกับ ฮาร์เล่ย์ฯ เลยละ
ล้อหลังขนาดเท่ากัน บังโคลนอวบอ้วน ที่ยังคงเน้นที่ความเรียบลื่น สะอาดตา
...แต่...แทนที่จะอัพเกรดในส่วนของเครื่องยนต์ มันกลับมีภาพลักษณ์ใหม่ที่ถึงจะดูสปอร์ตขึ้น ด้วยล้อหน้า/ หลัง ขนาดใหม่ที่ 3.50/ 18 บนโช้คอัพหน้าไฮดรอลิกแบบเดียวกับ BSA A10 กระนั้น มันก็มีอัตราเร่งที่ดีกว่า S7 De Luxe เพียงเล็กน้อย “จุดบอด” ที่เฟรมของ Sunbeam ที่ยังคงเป็นเลือกแบบคานคู่ขนาดใหญ่ ไม่มีใครกังขาในเรื่องความแข็งแรง ทว่า ปัญหาเดิมๆ เรื่องของ “น้ำหนัก” จึงยังคงตามหลอกหลอน Sunbeam ชนิดไม่ยอมรามือ มันรวมถึงชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เกียร์ ที่มีมาก ห้องแคร้งขนาดใหญ่ นั่นคือค่าสัมประสิทธิ “มวลรวม” ที่ยังมองไม่เห็นทางออก...ซึ่ง...สุดท้าย...ทีมผู้บริหารก็เลือกที่จะ...ไม่มอง...จบไลน์ผลิตในแบรนด์การค้าของ Sunbeam ในที่สุด โดยรถไลน์ผลิตรุ่นสุดท้ายในปี 1959-1964 ใช้เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะขนาด 173/ 249 ซี.ซี. ภายใต้พิมพ์เขียวของรถสกู๊ตเตอร์ BSA
เพื่อให้ S7 De Luxe นิ่มนวลขึ้น เครื่องยนต์ถูกร้อยผ่านลูกยาง...ก่อน...ถึงเฟรม เครื่องสั่น ทว่า เฟรมยังคงนิ่ง เสริมสมรรถนะในการแฮนด์เดิ้ลที่ดีเยี่ยม
☢☢☢ S p e c i f i c a t i o n ☢☢☢
รถ / รุ่น SUNBEAM/ S7 De Luxe
ปีผลิต 1949
เจ้าของ โรจน์ ศิลป์
เครื่องยนต์ SOHC. 2 สูบวางตามยาว Tandem Twin
4 จังหวะ 487 ซี.ซี. 25 แรงม้า
กระบอกสูบ/ ช่วงชัก 70/ 63.5 ม.ม.
ระบบไฟ จานจ่าย (6V.)
ระบบเกียร์ 4 เกียร์ (เท้า)
ระบบคลัตช์ น้ำมัน (หลายแผ่น/ ใช้ไอน้ำมันเครื่องเลี้ยง)
ระบบขับเคลื่อน เพลา
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง) เทเลสโกปิก / สไลด์
ระบบเบรก (หน้า/หลัง) ดรัมเบรก (ดุมเสี้ยว / บนล้อ 4.60 X16 นิ้ว)
น้ำหนัก 197 กก. (437 ปอนด์)
ความเร็วออกห้าง 116 กม./ ชม. (72 mph.)
ท่อไอเสียหน้าตาแปลก ปลายเป็นอะลูมิเนียมที่ระบายความร้อนดีกว่า บ้างก็ว่าเป็นของ S8 ทว่า รถรุ่น De Luxe ปีสุดท้ายก็ใช้ทรงนี้ ส่วนรุ่นก่อนหน้าเป็นแบบกระบองดุ้นๆ
มุมมองของชุดกระโหลกไฟหน้า ถึงดูเรียบๆ ทว่า ขนาดยังคงเน้นที่ไซด์ไม่ปรกติ
🤩🤩 อ้างอิง : THE ENCYCLOPEDIA OF THE MOTORCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHEEL / Roland Brown 🤩🤩
การศึกษา
สกูตเตอร์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย