Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
30 ม.ค. 2022 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
สินค้าที่แทบไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในแคนาดา
3
ความท้าทายของการฟื้นตัวเศรษฐกิจแคนาดาในปี 2565 นอกจากปัจจัยความเสี่ยงการแพร่ ระบาดระลอกใหม่ๆ หรือโอกาสพบไวรัสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่มีท่าทีจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งทุกวันนี้ผู้บริโภคได้เริ่มรับรู้ถึงผลกระทบของเงินเฟ้อในชีวิตประจำวันที่ราคาสินค้าวัตถุดิบอาหาร ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าเดินทางได้ปรับสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 โดยตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุด
8
ในพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ระดับ 4.7% ที่พุ่งสูงสุดเกือบในรอบ 20 ปี ทั้งนี้ ได้มี 1 กลุ่มสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าปัจจัยขั้นพื้นฐานที่แทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อเลย หรือมีการปรับราคาสินค้าขึ้นน้อยมากในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่สินค้ากลุ่มเสื้อผ้า โดยอัตราเงินเฟ้อในสินค้ากลุ่ม นี้จากสถิติล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ระดับ 0.7% (เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อในภาพรวมที่ 4.7%) นอกจากนี้หากเปรียบเทียบ อัตราเงินของสินค้าเสื้อผ้ากับตัวเลขเมื่อสองปีก่อน (พฤศจิกายน 2562) ก่อนช่วง Covid-19 จะพบว่า ราคาเฉลี่ยของสินค้าเสื้อผ้ามีอัตราติดลบ -1.6%
5
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดสหรัฐฯ ราคาเสื้อผ้า และรองเท้าได้ปรับเพิ่มขึ้น 5% ในปี 2564 แต่นักวิเคราะห์มองว่าในปีที่ผ่านมา ในปี 2563 ราคาของสินค้ากลุ่มนี้ได้ปรับลดอย่างมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่กักตัวอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน ไม่มีความจำเป็นในการซื้อสินค้าเสื้อผ้ารองเท้าใหม่ๆ ทำให้สินค้ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ
6
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมระยะยาวในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า ราคาสินค้าเสื้อผ้าในสหรัฐฯ ได้ปรับลดลง -7.9% ในขณะที่ราคาสินค้าเสื้อผ้าในแคนาดาลดลง -11% เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ได้ปรับสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ที่ราคาสินค้าตั้งแต่ เสื้อยืด ถุงเท้า เสื้อสูท ได้มีราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับสินค้าประเภทอื่นๆ ที่มีราคาขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1
ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนถึงการแข่งขันที่สูงในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่กลุ่มสินค้านี้ จะต้องรีบจำกัดสต็อกสินค้าและปรับให้เข้ากับเทรนด์กระแสแฟชั่นอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ อุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้านั้น ได้มีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตอยู่ตลอดเวลา ที่เคลื่อนย้ายแหล่งค่าแรงที่ต่ำแล้ว ไปยังประเทศที่ต่ำกว่า (อีก) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งในช่วงตั้งแต่ก่อน Pandemic ซัพพลายเสื้อผ้าในแต่ละปีทั่วโลกนั้นมีปริมาณการผลิตมากกว่าดีมานด์ที่เกิดภาวะ “Oversupply” มานานหลายปีแล้ว โดยแต่ละปี ผู้ผลิตได้มีการทิ้งสินค้าใหม่จำนวนมาก ที่ผลิตขึ้นมาแล้วแต่ไม่สามารถจำหน่าย ได้ถูกทิ้งเป็นขยะซึ่งแย่กับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
3
ในช่วงทศวรรษ 1970 เสื้อผ้าที่จำหน่ายในสหรัฐฯ กว่า 70% จะถูกผลิตในประเทศ แต่ภายหลังการเปิดประเทศและการโยกย้ายฐานการผลิตตามกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ไปยังประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า ภายในปี 2012 มีเสื้อผ้าเพียง 2.5% ที่ถูกผลิตขึ้นในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามราคาเสื้อผ้า ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้มีการตั้งราคาสะท้อนถึงต้นทุน อาทิ ถ้าหากเสื้อยืดในร้านค้ามี ราคา 10 เหรียญ/ตัว เสื้อโคตกันหนาวราคา 20 เหรียญ/ตัว (ที่ใช้ วัตถุดิบมากกว่า) ราคาของบิกินี่ (ชุดว่ายน้ำสตรี) ควรจะต้องอยู่ระดับ 1 เหรียญ/ชิ้น หากคำนวณจากต้นทุนวัตถุดิบและแรงงาน แต่ความเป็นจริงแล้ว ราคาสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นนั้นมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแบรนด์ คุณภาพวัตถุดิบ ฯลฯ แต่ผู้ผลิตทุกรายก็ยังมุ่งหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน แต่ก็สะท้อนได้ว่าราค ปลีก ไม่ได้เป็นไปตามราคาต้นทุนการผลิต
2
ถึงแม้ว่าในช่วง Covid-19 อุตสาหกรรมผู้ผลิตเสื้อผ้าทั่วโลก จะได้รับผลกระทบ อาทิ เสื้อผ้าของยี่ห้อ Nike และ Lululemon (ยี่ห้อเสื้อโยคะชื่อดังของแคนาดา) ได้ย้ายฐานการผลิตชั่วคราวไปประเทศ อื่นๆ เนื่องจากโรงงานของบริษัทในเวียดนามถูกสั่งปิดชั่วคราวจากการ แพร่ระบาด Covid-19 รวมถึงต้นทุนผ้าฝ้าย (Cotton) ที่สูงขึ้น ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ปรับสูงขึ้น 300-500% ที่ผลิตหลายรายต้องใช้การขนส่งทางอากาศแทน แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงก็ตาม
1
แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าได้มีการปรับตัวและมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีอัตรากำไร (Profit Margin) สูงกว่าสินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะ หากเป็นสินค้าที่มีแบรนด์มีชื่อเสียง
ในปี 2563 วิกฤต Covid-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างมากกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่ยอดจำหน่ายเสื้อผ้าลดลง เนื่องจากคนส่วนใหญ่กักตัวอยู่บ้าน ทำงานจากบ้าน ไม่ได้มีโอกาสไปพบปะผู้คนมากนัก
2
ทั้งนี้หลังจากแคนาดาเริ่มเปิดเมืองมากขึ้น ยอดจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้า และเครื่องประดับต่างๆ ได้เริ่มปรับดีขึ้น โดยในเดือน พฤศจิกายน 2564 มียอดจำหน่ายในประเทศ 3 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งเป็นตัวเลขในระดับเกือบเทียบเท่าในช่วงก่อน Pandemic ที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ราคาของสินค้ากลุ่มนี้ไม่ได้ปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มอื่นๆ
2
ปัจจัยความเสี่ยงของเศรษฐกิจแคนาดาและทั่วโลกในปี 2565 มาจากปัญหาเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าเกือบทุกประเภทได้มีสัญญาณปรับสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ตั้งแต่สินค้า อาหาร น้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าครองชีพอื่นๆ ในภาพรวม แต่มี 1 กลุ่ม สินค้าซึ่งเป็นสินค้าปัจจัยพื้นฐานที่แทบไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ หรือได้รับผลกระทบน้อยกว่าสินค้าอื่นๆ ได้แก่ “สินค้า เสื้อผ้า” ราคาสินค้าเกือบทุกกลุ่มในแคนาดาปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.7% ในขณะที่ราคาสินค้าเสื้อผ้าปรับเพิ่มเพียง 0.7% (ตัวเลขสถิติล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2564)
1
ทั้งนี้สาเหตุหลักที่ราคาสินค้าเสื้อผ้าไม่ได้ ปรับเพิ่มขึ้นมากเท่ากับสินค้าอื่น มาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1) ภาวะ Oversupply อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้านั้นอยู่ในภาวะ Oversupply มาตั้งแต่ก่อน Pandemic ที่แต่ละปีจะมีการผลิตมากกว่าที่ตลาดจะรองรับได้ และเป็นสินค้าแฟชั่นที่ต้องปรับเปลี่ยนเร็วทุกๆ ปี
2) สินค้าที่มีอัตรากำไรสูง (High Profit Margin) เสื้อผ้าเป็นสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงกว่าสินค้าขั้นพื้นฐานชนิดอื่นๆ การตั้งราคาสินค้าส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้ตั้งราคาสะท้อนตามต้นทุนเหมือนกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) อาทิ ข้าว อาหารกระป๋อง (ที่มีอัตรากำไร ต่ำ) แต่เป็นการตั้งราคาตามแบรนด์ภาพลักษณ์สินค้า และผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ไม่ได้จับจ่าย หรือเลือกซื้อสินค้าที่ราคาต่ำที่สุดเสมอไป โดยเลือกตามรสนิยม ดีไซน์ ที่ราคาที่จับจ่ายไม่ได้สะท้อนกับต้นทุนวัตถุดิบมากนัก
1
3) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในช่วง Pandemic ที่ไม่มีความจำเป็นในการจับจ่ายสินค้าเสื้อผ้า เนื่องจาก คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่บ้านไม่ได้มีโอกาสในการพบปะเข้าสังคม ทำให้ดีมานด์ของสินค้ากลุ่มลดลงอย่างมากในปี 2563-2564
1
อย่างไรก็ตามมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าได้เริ่มฟื้นตัวไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การเปิดเมืองในแคนาดา แต่สินค้าเสื้อผ้ามีความยืดหยุ่นต่อภาวะเงินเฟ้อมากกว่าสินค้าอื่นๆ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยในยุค Post Pandemic ควรปรับรูปแบบสินค้าเสื้อผ้าที่เน้นการใช้นวัตกรรม อาทิ การใช้เส้นใยเทคโนโลยีที่แห้งไวไม่อมเหงื่อ (Breathable Fabric) เส้นใยจากกัญชง เป็นต้น ที่เป็นการสร้างคุณค่าเสริม (Value Added) ให้กับสินค้าเสื้อผ้าของไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวในการค้าระหว่างประเทศผ่านเว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่
www.ditp.go.th
และ
www.thaitrade.com
หรือโทรปรึกษาเรื่องการค้าระหว่างประเทศที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร.1169 (หากโทรจากต่างประเทศ โปรดติดต่อที่ โทร. +66 2792 6900)
เยี่ยมชม
ditp.go.th
สินค้าที่แทบไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในแคนาดา (สินค้าเสื้อผ้า)
สินค้าที่แทบไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อในแคนาดา (สินค้าเสื้อผ้า)
แคนาดา
เสื้อผ้า
การตลาด
52 บันทึก
28
51
52
28
51
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย