Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขียนเล่าเท่าที่รู้ 😊
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2022 เวลา 12:13 • ปรัชญา
ภาวะไร้นาม (Anonymity) กับความเห็นแก่ตัวของคน
สมมุติว่ามีแมวจรจัดตัวนึงมาป้วนเปี้ยนอยู่แถวบ้าน เราอาจจะไม่ได้สนใจอะไรมันมาก บางคนอาจถึงขั้นหงุดหงิดรำคาญใจที่มันมาวุ่นวายแถวบ้าน ยิ่งมันมาสร้างปัญหาทำลายข้าวของหรือทิ้งมูลเอาไว้เรายิ่งรู้สึกไม่ชอบมันมากขึ้นไปอีก
แต่ถ้าอยู่มาวันนึง เราเกิดตั้งชื่อแมวจรจัดตัวนั้นว่า "กงยู" ขึ้นมา เราจะเริ่มเกิดความรู้สึกผูกพันกับมัน เราจะเริ่มสงสัยถ้าอยู่ ๆ มันไม่แวะมาที่บ้าน เราจะเริ่มเอาข้าวเอาน้ำให้มัน และเริ่มอยากเอาใจใส่มันมากขึ้น ทั้งที่เจ้ากงยูนั่นก็ยังคงสถานะแมวจรจัดอยู่
นี่คือผลของ "ภาวะไร้นาม" (Anonymity) ที่เรามีต่อคนหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องได้พบเจอในชีวิตประจำวัน
ข้อเสียของสมองมนุษย์ที่เรามักจะไม่รู้ตัวคือ เราจะพยายามคิดหรือมองให้ทุกอย่างมันง่ายเข้าไว้ (ทางจิตวิทยาจะเรียกกลไกนี้ว่า Generalization) จนบางคนก็สามารถที่จะอธิบายสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพิสูจน์อะไร เช่น สมัยก่อนคนเราเคยเชื่อว่าไฟเกิดจากฝีมือของพระเจ้า กว่าที่จะยอมรับกันได้ว่าไฟเกิดจากปฏิกิริยาตามธรรมชาติก็ต้องผ่านเวลาไปหลายหมื่นปี
ในแง่ของความสัมพันธ์ก็เช่นกัน สมองเราจะขี้เกียจจดจำหรือนึกถึงทุก ๆ คนที่เราต้องได้พบเจอ เราจึงจะจดจำและสนใจเฉพาะคนที่เราคิดว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเราจริง ๆ เช่น พ่อแม่ คนในครอบครัว คนรัก เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน คนที่เรารู้สึกดีด้วย คนที่เราต้องติดต่อธุรกรรมหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งคนที่สมองจะจดจำและนึกถึงนั้นก็มีอยู่จำกัดเช่นกัน ซึ่งผมเคยเขียนเอาไว้ในเรื่อง Dunbar's number
แล้วคนอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในสารบบที่สมองจะจดจำหล่ะจะเป็นยังไง? ก็จะเป็นเหมือนแมวจรจัดที่ไม่ได้ถูกตั้งชื่อที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นนั่นแหละครับ คือถูกเราจดจำเป็นบุคคลนิรนาม (Anonymous)
ซึ่งคนที่ถูกจัดให้มาอยู่ในกลุ่มนิรนามนี้ นอกจากจะไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ควรเป็นแล้ว (อย่างที่บางทีเราจะเห็นตามสื่อที่คนที่ถูกรถชนจนบาดเจ็บกลับไม่มีคนมาช่วยเหลือจนต้องนอนเจ็บต่ออยู่อย่างนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากภาวะไร้นามนี่แหละ - เรียกว่า Bystander Effect) บางทีคนกลุ่มนี้ยังตกเป็นผู้ถูกกระทำจากคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งสนใจแต่ตัวเองเท่านั้น
ด้วยความที่ว่า คนบางคนเชื่อว่ากลุ่มนิรนามนี้ไม่ได้มีความสำคัญอะไรกับเขา ไม่จำเป็นที่เขาจะต้องผูกพันอะไรด้วย ดังนั้น หากเขาทำอะไรไม่ดีต่อกลุ่มนิรนาม เขาก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด หรือต้องมารับผิดชอบต่อสิ่งที่เขาทำ เราจึงมักจะได้เห็นคนบางกลุ่มแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ออกมา
- ขับรถปาดหน้าเบียดแถวคนที่ขับต่อกันมาตามปกติ
- ขับรถฝ่าสัญญานไฟจราจร ไม่ยอมจอดให้คนข้ามทางม้าลาย
- ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน หรือสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน
- อันนี้จริง ๆ ยังสามารถรวมถึงคนที่ Bully คนอื่นทางอินเตอร์เนท หรือพวกที่หลอกลวงคนอื่นผ่านคอลเตอร์ได้ด้วย
และที่เขาทำสิ่งที่ดูเห็นแก่ตัวเหล่านี้ได้หน้าตาเฉย และไม่รู้สึกผิดใด ๆ เลย เพราะเขาเชื่อว่าคนที่ได้ผลจากการกระทำของเขาเป็นคนที่เขาไม่รู้จัก เขาจึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ
คนเห็นแก่ตัวจึงเกิดขึ้นได้จาก Anonymity ได้ด้วยเหตุนี้แหละ
ทีนี้อาจมีคนสงสัยว่า แล้วเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร? วิธีการดั้งเดิมที่มีคนเคยใช้แล้วได้ผลคือ การทำให้ทุกคนในสังคมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ (เรียกอีกอย่างคือการปลูกฝังลัทธิชาตินิยม) วิธีการนี้จะทำให้ทุกคนมองเพื่อนร่วมชาติเป็นเหมือนกับตัวเอง ซึ่งจะทำให้เขาให้เกียรติและใส่ใจคนอื่น ๆ ในชาติมากขึ้น ความรู้สึกอยากทำผิดต่อคนอื่นก็จะลดลง - ชาติที่ใช้วิธีนี้และประสบความสำเร็จอย่างงดงามก็คือญี่ปุ่น
แต่วิธีที่ชาติตะวันตกยุคใหม่ใช้กันนั้นง่ายกว่านั้นมาก แต่ในความง่ายก็มีความยากมากแอบแฝงอยู่ วิธีการนั้นคือ การปลูกฝังความรู้สึกสงสารเห็นใจคนอื่น (Empathy) ให้กับพลเมืองทุกคน คือทำให้ทุกคนคิดว่า "ถ้าเป็นฉันเองที่ถูกกระทำแบบนั้นบ้าง ฉันจะรู้สึกอย่างไร" ซึ่งหากเขาคิดได้ เขาจะเริ่มไม่อยากทำผิดกับคนอื่น คนเห็นแก่ตัวในสังคม
ซึ่งนี่ก็จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายในบ้านเราว่า เราจะปลูกฝังให้คนที่ใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวตัวมัน ปากกัดตีนถีบ มี Empathy เห็นใจคนอื่นได้อย่างไร
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย