Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อยากเล่าเรื่อยเปื่อย
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2022 เวลา 13:59 • หนังสือ
กลไกของความทุกข์
ความทุกข์ที่เกิดกับจิตใจมีการใช้งานระบบร่างกายเหมือนกันกับความเจ็บปวดของร่างกาย เมื่อความเจ็บปวดทางใจกระทบความรู้สึก อะมิกดาลาส่วนหนึ่งของสมองที่เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยจะทำงานด้วยการสั่งงานไปที่
1. ทาลามัส จะไปกระตุ้นก้านสมองให้ปล่อยฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟรีน (สร้างความตื่นตัว ระมัดระวัง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เพิ่มการสูบฉีดโลหิต และขยายม่านตา ขยายหลอดลมในปอด
2. ระบบซิมพาเทติก ส่งสัญญาณไปที่อวัยวะและกล้ามเนื้อให้เตรียมความพร้อม
3. ไฮโปทาลามัส ส่งสัญญาณให้ต่อมหมวกไตสร้างสารความเครียด เพื่อกดภูมิต้านทาน หยุดการย่อยอาหาร และไปกระตุ้นอะมิกดาลาซ้ำมากขึ้น เป็นวงจรซ้ำๆ นอกจากนี้ยังกดการทำงานของฮิปโปแคมปัสที่เป็นตัวกดการทำงานของอะมิกดาลา เหมือนรถขาดเบรก ทำให้ประเมินสถานการณ์ผิดเพี้ยนไป
กลไกนี้ถูกสร้างไว้รับมือกับภัยอันตรายเพื่อความอยู่รอด แต่ชีวิตในปัจจุบันมีเหตุทำให้ระบบเตือนภัยของร่างกายนี้ทำงานแบบไม่ได้เข้มข้นเวลาสั้นๆ เหมือนอดีต แต่เกิดแบบต่อเนื่องระยะยาว เลยส่งผลให้เกิดโรคในระบบย่อยอาหาร ภูมิต้านทานอ่อนแอติดเชื้อง่าย และเบาหวาน
เมื่อระบบเตือนภัยอย่างอะมิกดาลาทำงานเรื่อยๆ จากความเครียดเรื้อรัง ก็จะมีการฝังความรู้สึกของไปที่ความจำในจิตใต้สำนึก และทำงานไวขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละรอบการถูกกระตุ้น ความรู้สึกก็จะรุนแรงและบิดเบี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ และการยับยั้งอารมณ์ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ จนทำให้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้ผู้อื่นรุนแรงได้ในที่สุด
ไม่เพียงแค่นี้ หากเรื้อรังยาวนานหลายปีวงจรการทำงานนี้จะทำให้ชีวเคมีพื้นฐานที่ปกติและดี อย่างอารมณ์ร่าเริง ความตื่นตัวลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดนำไปสู่ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าได้ในที่สุด
ในขณะที่ระบบซิมพาเทติกถูกกระตุ้น ระบบพาราซิมพาเทติกก็จะถูกกดการทำงานไป (ระบบพาราซิมพาเทติก ทำให้ใจสงบ ผ่อนคลาย การพัฒนาจิตวิญญาณ)
🌞🌞🌞ดังนั้นเมื่อเราอยากหยุดหรือลดการทำงานวงจรความทุกข์ข้างต้น เราก็ต้องกระตุ้นและส่งเสริมการทำงานของระบบพาราซิมพาเทติกด้วยการตั้งใจหายใจเข้าออกสักห้าครั้ง ก็จะทำให้รู้สึกสบายและสงบขึ้น ถ้าทำสมาธิเป็นประจำก็จะทำให้ระบบเหล่านี้สมดุล
สิ่งนี้ที่หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายแบบวิทยาศาสตร์และเชื่อมโยงว่าการเจริญสติกับการทำสมาธิแบบพุทธช่วยในเรื่องการจัดการร่างกายกับความทุกข์อย่างไร ไปจนถึงการพัฒนาจิตวิญญาณ
จากหนังสือ สมองแห่งพุทธะ
ดร.ริค แฮนสันและนพ.ริชาร์ด เมนดิอัส เขียน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย