28 ม.ค. 2022 เวลา 18:15 • ประวัติศาสตร์
สงครามกลางเมืองอังกฤษ (ep1)
ความขัดแย้งของสถาบัน
นับแต่กษัตริย์จอห์นผู้เป็นพระอนุชาของกษัตริย์นักรบผู้กล้าแห่งสงครามครูเสด ริชาร์ดใจสิงห์ พ่ายแพ้ในสง ครามกับกองทัพพันธมิตรของเหล่าบารอนแห่งแดนเหนือและทรงถูกบังคับให้ลงนามในกฎบัตรแมกนาคาร์ตา ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมพระราชอำนาจของกษัตริย์ โดยในการออกกฎหมายต่างๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาขุนนางก่อน ก็ทำให้สภาขุนนางซึ่งในเวลาต่อมา ได้กลายเป็นรัฐสภา มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถคัดค้านนโยบายขององค์กษัตริย์ได้
หลังสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ผู้มีสมญาว่า ราชินีพรหมจรรย์ แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ ได้เสด็จสวรรคต โดยปราศจากรัชทายาท เหล่าขุนนางจึงไปกราบทูลเชิญ กษัตริย์แห่งแดนเหนือ เจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ ให้มาครองราชบัลลังก์อังกฤษ เนื่องด้วยกษัตริย์เจมส์ทรงเป็นพระนัดดาของพระขนิษฐาของพระเจ้าเฮนรีที่ 8
พระราชบิดาของพระราชินีนาถอลิซาเบธ จึงมีศักดิ์และสิทธิ์ในราชบัลลังก์
พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็น พระเจ้าเจมส์ที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สจ๊วต ปกครองแผ่นดินอังกฤษและสก๊อตแลนด์ รวมถึงไอร์แลนด์ โดยเป็นกษัตริย์องค์แรก ที่ได้ปกครองทั้งแดนเหนือและใต้ ซึ่งทำให้พระเจ้าเจมส์ทรงเชื่อมั่นในพระราชอำนาจของพระองค์เป็นอย่างมากและก็เพราะความเชิ่อมั่นนี้เอง ที่ทำให้พระองค์ทรงเห็นว่า รัฐสภาควรปฎิบัติตามความต้องการของกษัตริย์ทุกประการ
1
พระเจ้าเจมส์ที่ 1 กษัตริย์แห่งอังกฤษ สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์
แต่ทางฝ่ายรัฐสภาไม่ได้คิดเช่นนั้น ทำให้ความขัดแย้งเริ่มก่อตัวขึ้น โดยในปี ค.ศ.1611 พระเจ้าเจมส์ทรงต้อง การให้เก็บภาษีเพิ่ม แต่รัฐสภาไม่เห็นด้วยและไม่ยอมให้ผ่านกฎหมายดังกล่าว ทำให้พระองค์พิโรธมากและทรงห้ามมิให้สมาชิกรัฐสภาจัดประชุม เป็นเวลาถึง10 ปี พร้อมกันนั้น ก็ทรงให้บรรดาพระสหายของพระองค์มาเป็นที่ปรึกษาราชการแทน ทำให้ฝ่ายขุนนางรัฐสภาไม่พอใจมาก
ในช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ ซึ่งมี เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นแกนนำ กับ ฝ่ายรัฐสภา ซึ่งมี เซอร์ เอ็ดเวิร์ด โค้ก (Edward Coke) เป็นแกนนำ ได้ต่อสู้ในทางการเมืองอย่างรุนแรง โดยฝ่ายเบคอน ต้องการให้แก้ไขกฏหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับกษัตริย์มากยิ่งขึ้น แต่ฝ่ายโค้กก็พยายามปกป้อง กฏหมายเดิมอย่างเต็มที่ พระเจ้าเจมส์ทรงเล่นงานฝ่ายรัฐสภา ด้วยการปลด เซอร์โค้ก ออกจากตำแหน่ง ส่วนรัฐสภาก็ตอบโต้ด้วยการถอดถอน เบคอน
เซอร์ ฟรานซิส เบคอน
จนมาถึงปี ค.ศ.1621 พระเจ้าเจมส์ทรงเรียกประชุมสภาอีกครั้ง เพื่อปรึกษาเรื่องการอภิเษกของพระราชโอรสของพระองค์กับเจ้าหญิงแห่งสเปน ทางรัฐสภาได้คัด ค้านอย่างเต็มที่ เนื่องจากสเปน เป็นคริสตศาสนานิกายโรมันแคธอลิค ในขณะที่ฝ่ายอังกฤษ นับถือนิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ก็เป็นพวกโปรเตสเตนท์ที่เคร่งศาสนา หรือที่เรียกว่า พวกพิวริตัน (Puritan) นอกจากนี้ สเปนยังเป็นศัตรูเก่าของอังกฤษ ที่เคยส่งกองทัพเรืออามาดา เข้ามาโจมตีอังกฤษในปี ค.ศ.1588 ด้วย
เซอร์ เอ็ดเวิร์ด โค้ก
ในที่สุดการอภิเษกจึงถูกยกเลิก ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภาและกษัตริย์ก็เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งพระเจ้าเจมส์ที่ 1เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ.1625
เจ้าชายชาร์ล พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์ชาร์ลที่ 1 ในปี ค.ศ.1625 ซึ่งพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่หยิ่งผยองและเชื่อมั่นในพระราชอำนาจยิ่งกว่าพระราชบิดา โดยทรงเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น มาจากความผิดของฝ่ายรัฐสภา ซึ่งนับแต่ปี ค.ศ.1625 จนถึง ค.ศ.1629 พระองค์ทรงขัดแย้งกับรัฐสภาเกือบทุกเรื่อง แต่โดยมาก มักจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเงินและศาสนา
1
ต่อมา ในปี ค.ศ.1629 พระเจ้าชาร์ลทรงสั่งห้ามรัฐสภาจัดประชุมเป็นเวลา 11 ปี และได้จัดตั้ง สตาร์ แชมเบอร์ (Star Chamber)ขึ้น พร้อมกับออกกฎหมายเก็บภาษีเพิ่ม ต่อมา ยังทรงออกกฏหมายเก็บภาษี บำรุงกองทัพเรือโดยให้บังคับเก็บทั่วประเทศ ซึ่งแต่เดิมภาษีนี้จะเก็บเฉพาะจากเมืองท่าชายฝั่งทะเลเท่านั้น
การกระทำของพระเจ้าชาร์ลสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน ขณะเดียวกันรัฐสภาก็ต่อต้านภาษีเหล่านี้ ทำให้กษัตริย์ทรงมีรับสั่งให้จับกุมผู้ที่ขัดขืน สร้างความไม่พอใจและความรู้สึกต่อต้านให้สูงขึ้น โดยประชาชนจำนวนมาก ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีให้กษัตริย์
2
ปี ค.ศ.1639 พระเจ้าชาร์ลทรงมีกรณีพิพาททางศาสนากับพวกขุนนางสก๊อตแลนด์ จนเกิดเป็นสงคราม จึงทรงขอให้ทางรัฐสภาออกภาษีเพื่อหาเงินมาใช้ในสงคราม ฝ่ายรัฐสภาจึงยื่นข้อเสนอให้ทำการสอบสวน เอิร์ลแห่งสแตรฟฟอร์ด หัวหน้าที่ปรึกษาของกษัตริย์ โดยหลังการไต่สวน เอิร์ลแห่งสแตรฟฟอร์ดได้ถูกประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1641
2
ความขัดแย้งเข้าขั้นรุนแรง ในปี ค.ศ.1642 เมื่อกษัตริย์ชาร์ลต้องการให้รัฐสภาเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก แต่รัฐสภายืนกรานไม่ยินยอม พระองค์จึงส่งทหาร 300 นาย มาปิดล้อมที่ทำการรัฐสภา เพื่อจับกุมตัวสมาชิกคนสำคัญที่ต่อต้านพระองค์ เหล่าสมาชิกรัฐสภาต่างหลบหนีเอาตัวรอด และเห็นพ้องต้องกันว่า กษัตริย์ทรงประกาศตัวเป็นศัตรูโดยตรงกับรัฐสภาแล้ว ทำให้ฝ่ายรัฐสภาระดมกำลังของฝ่ายตนเพื่อเตรียมต่อสู้กับฝ่ายกษัตริย์
1
โฆษณา