29 ม.ค. 2022 เวลา 08:51 • ธุรกิจ
ในวันที่ Food Delivery ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ธุรกิจและผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารจะไปในทิศทางไหนกันดี
1
ตอนที่ 1
จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจที่มีผลกระทบกลุ่มแรก ๆ คือกลุ่มร้านอาหารโดยเฉพาะร้านอาหารที่อยู่ในห้างสรรสินค้าหรือ Shopping Mall ต่างๆ
1
ยิ่งเป็นธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่มีลูกค้าจำนวนมาก ยิ่งต้องเจ็บตัวมากตาม เพราะในช่วงแรกที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดอย่างหนัก รัฐบาลประกาศสั่งปิดแบบกะทันหัน ในแบบที่ใครก็เตรียมตัวไม่ทัน วัตถุดิบและพนักงานที่มีอยู่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร หลายรายต้องทิ้งหลายรายต้องเอาไปบริจาคหลายรายก็ต้องขายขาดทุน
ช่วงที่มีการประกาศ Lockdown ในช่วงแรกๆระหว่างเมษายนขพฤษภาคม 2563 หลาย ๆ ธุรกิจก็ยังสามารถที่จะประครองกันไปได้แม้ว่าจะต้องขาดทุนเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่พอระยะเวลาเริ่มนานขึ้น มีการแพร่ระยาดในช่วงที่ 2 ช่วงธันวาคม 2563 ถึงมกราคม 2654 และต่อด้วยช่วงที่ 3-4 ระหว่าง เมษายน-สิงหาคม 2564 ทำเอาหลายรายต้องประกาศปิดกิจการไปเลย อย่างเราเห็นข่าวที่ดาราหลายคนประกาศปิดร้านอาหารของตนเอง เพราะแบกค่าใช้จ่ายไม่ไหวแล้ว
ที่มา  www.krungsri.com
ธุรกิจการส่งอาหารถึงบ้านหรือ Food Delivery มีมาก่อนหน้านี้แล้วกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยม หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดธุรกิจนี้กลับเติบโตแบบก้าวกระโดด มีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากจากเดิมที่มีเพียง Foodpanda ที่เพิ่มมาก็อย่างเช่น Line Man Grab Food GET (Go-Jek) ตามมาด้วย Robinhood True Food และอีกหลายรายที่อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เช่น Bee WESERVE Happy Fresh Fooddee ฯลฯ
แต่ทว่าร้านอาหารที่ได้รับความนิยมในการสั่งผ่านผู้ให้บริการ Food Delivery เป็นร้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่แล้วในวงกว้าง ร้านเล็กร้านน้อยหรือร้านที่ไม่มีสาขาเปิดอยู่ในชุมชุนเล็ก ๆ กลับไม่มีคนสนใจสั่งซื้อ
1
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
หลังจากมีการ Lockdown ยาวนานขึ้น กลายเป็นว่าจากความนิยมในร้านชื่อดัง เปลี่ยนมาเป็นร้านประจำที่ลูกค้าสั่งซื้อและร้านค้าใกล้บ้านแทน ไม่ใช่ร้านชื่อดังแบบเดิมแล้ว
1
เท่านี้ผู้ประกอบการร้านอาหารก็คงต้องปรับกลยุทธฺกันเป็นการใหญ่แล้ว เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป นอกจากนี้แล้วผู้ที่ใช้ App ส่วนใหญ่เกือบ ¾ เป็นผู้หญิง ที่มีลักษณะจำเพาะคือถ้าหากต้องการรับประทานแล้วต้องเอาให้ได้ แม้คิวจะยาวราคาจะแพงก็ยังคงทำตามสัญญา ขอเวลาส่งไม่นาน และรสชาติที่สวยงามจะคืนกลับมา ทำให้ร้านอาหารและผู้ให้บริการก็ต้องปรับตัวอีกครั้ง
1
แต่เมื่อมีการประกาศให้สามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ ก็พบว่าร้านหมูกระทะ ชาบู ปิ้งย่าง มีลูกค้าเต็มร้าน บางรายอย่างสุกี้ตี๋น้อยมีคนมารอคิวล้นออกมานอกร้านเลย แต่ส่วนมากหรือเกือบทั้งหมด เป็นร้านที่อยู่ห้องห้างสรรพสินค้า สิ่งที่ส่งผลกระทบคือยอดสั่งซื้อผ่าน Food Delivery ลดลงไปมาก เพราะเสน่ห์ของอาหารที่อร่อยๆ ส่วนมากก็จะต้องรับประทานทันทีหลังจากปรุงเสร็จ
ที่มา Wongnai
อย่างไรก็แล้วแต่เราไม่สามารถไว้ใจสถานการณ์ได้เลย ไม่รู้ว่าจะปิดวันไหน และจากเสียงร่ำเสียงลือจากหลายคน บอกว่าบรรดาหมอใหญ่ต่างๆที่อยู่รายล้อมลุงตู่ ต่างก็ยังคงแนวคิดปลอดภัยไว้ก่อน ชีวิตคนต้องมาก่อนเศรษฐกิจ โอกาสที่จะถูกสั่งปิดอีกครั้งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ร้านค้าอาจจะต้องกลับมาใช้บริการ Food Delivery อีกครั้ง
1
แต่ช้าก่อนครับ.......อยากจะกลับก็จริง แล้วแรงงานที่ต้องการจะจัดหามาจากไหน หลังจากที่ถูกให้ออกชุดใหญ่ไปแล้ว จะหาที่ไหนได้ทัน แม้ว่าจะลดพนักงานลงไปจากการนำระบบต่างๆมาใช้แล้วก็ตาม แต่แรงงานก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี
ที่สำคัญก็คือ Platform ต่างๆ ก็ไม่ได้ยินดีที่อยากจะให้ตนเองขายดีขึ้นเลย ทั้งที่ก็เรียกเก็บ GP จากร้านค้ามากกว่า 30% แล้วก็ตาม เพราะเขาขาดทุนโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐ/คน/เที่ยว ยิ่งส่งมากยิ่งขาดทุน แม้ว่าจะได้ฐานข้อมูลจำนวนมากกลับมาก็จริง
ที่มา Positioning Magazine
มองดูแล้วทางออกผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหาร ช่างเต็มไปด้วยอุปสรรคนานานัปการให้ฝ่าพัน ต้องเหนื่อยแสนสาหัสต่อไปในแบบที่มองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่างปลายอุโมงค์
แต่ทุกปัญหามีทางออกอยู่แล้ว เพราะเรื่องนี้มีทางออกจากกลุ่มผู้ประกอบการ Start Up หลายรายที่มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและได้หาทางออกไว้รองรับให้แล้ว
ขออนุญาตทำต่อเป็นตอนที่ 2 นะครับ เพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา