Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Happinesss-Life
•
ติดตาม
30 ม.ค. 2022 เวลา 03:17 • ไลฟ์สไตล์
การก่อสร้างเมรุฯ หลังจากที่เทฐานรากแล้ว งานถัดไปก็คือ “การทำโครงสร้างเตา”
โครงสร้างเตาเผาศพปลอดมลพิษแบบสองห้องเผา (ภาพถ่ายจากด้านหลัง)
การทำโครงสร้างเตาสำหรับงานครั้งนี้ เริ่มต้นในวันที่ 24 มกราคม 2565 โดยมีช่างอ๊อด ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดนครปฐมตั้งแต่เวลาประมาณตีสี่ ถึงที่นี่ (โคราช) ประมาณเวลาสามโมงเช้า
เมื่อมาถึงแล้วทักทายทำความรู้จักกันสักระยะหนึ่ง ช่างอ๊อดก็ขอตัวพักผ่อนก่อน เพราะว่าเมื่อเช้าต้องตื่นตั้งแต่ตีสาม แล้วขับรถมาหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งนั่นก็เป็นธรรมชาติ ธรรมดาของมนุษย์ที่ร่างกายย่อมมีความเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา ตื่นแต่มืดแต่ดึกก็ต้องง่วงเป็นธรรมดา
สถานที่ก่อสร้างเมรุฯ
การให้ช่างมาทำงาน เราก็ต้องเข้าใจเรื่อง “ใจเขาใจเรา” บางครั้งเราก็อยากที่จะรีบทำงานของเรา มาถึงแล้วก็อยากที่จะให้ทำงานเลย แต่ทว่าคนนั้นมิใช่เครื่องจักร ที่จะทำงานได้โดยไม่ต้องพักผ่อน
หรือแม้กระทั่งเครื่องยนต์ ตัวอย่างเช่น รถยนต์เองก็ยังต้องมีเวลาพักเครื่อง พักยก ฉันใดก็ฉันนั้น
ร่างกายของคนเราก็เหมือนกัน เมื่อใช้งานมาก ๆ ก็ต้องพัก
แล้วยิ่งเป็นงานที่ต้องใช้พละกำลัง ซึ่งต้องทำกลางแจ้งด้วยแล้ว ต้องอาศัยการพักผ่อนให้เพียงพอ มิฉะนั้นอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งทางด้านงานที่ทำก็จะออกมาไม่ดี รวมถึงอาจจะเกิดอันตรายแก่ผู้ทำงานนั้น ๆ ด้วย เข้าตามสุภาษิตที่ว่า ยิ่งรีบก็ยิ่งช้า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เพราะถ้าร่างกายของช่างไม่พร้อม งานที่ทำก็ออกมาไม่มี วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ก็เสียหาย หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุอันเกิดจากการพักผ่อนไม่พอนั้น ก็ยิ่งจะทำให้งานที่วางแผนนั้นช้าเข้าไปใหญ่
บ่ายโมงของวันที่ 24 มกราคม 2565
เริ่มต้นทำโครงสร้างเหล็ก
ช่างอ๊อดกำลังบากเหล็กรางน้ำเพื่อประกบเข้าฉาก 45 องศา
ที่จริงแล้วก่อนนั้นตอนเช้า ข้าพเจ้าและกัลยาณมิตรที่อยู่ที่นี่ก็ได้มีการเตรียมทาสีเหล็กไว้ก่อนในขั้นตอนหนึ่งแล้ว เพื่อลดระยะเวลาการทำงานของช่างที่จะต้องมาทาสีกันสนิมภายหลัง
กัลยาณมิตรมาช่วยทาสีกันสนิม
หมายเหตุ : ช่างอ๊อดได้บอกไว้ว่า... การทำโครงสร้างเตานี้ผู้รับเหมาจะลักไก่ โดยไม่ทาสีกันสนิท ไม่ได้เลย เพราะตอนเผาศพที่มีความร้อนแผ่ออกมา ถ้าตรงไหนไม่ได้ทาสี สนิมจะไหลออกมาเลย
ทาสีเหล็กรองพื้นเพื่อกันสนิม
การทาสีเหล็กนั้นคือการป้องกันหรือการลดการเกิดปฏิกิริยา Oxidation คือ ไม่ให้ความชื้นในอากาศ มาสัมผัสกับเนื้อเหล็กซึ่งจะทำให้เกิดสนิม
ถ้าเป็นงานทั่วไป เช่น โครงสร้างหลังคา ที่มีฝ้าแบบต่าง ๆ คลุมอยู่อีกชั้นหนึ่งทั้งเพื่อกันความร้อน และตกแต่งให้สวยงาม
เจ้าของบ้าน เจ้าของงานมองไม่เห็น ช่างบางคนที่ไม่มีคุณธรรมก็อาจจะ “ลักไก่” ไม่ทาสีเหล็ก หรือทาไม่หมด หรือใช้สีคุณภาพต่ำทากันสนิมก็ได้
ทาสีรองพื้นกันสนิม
แต่ทว่า... การทำโครงสร้างเตานั้นแตกต่างกันไป เพราะโครงสร้างเตาเผาศพนั้นจะมีปัจจัยสำคัญเพิ่มขึ้นคือ “ความร้อน” ที่เป็นความร้อนที่สูงมาก ๆ จากกระบวนการเผาศพที่อยู่ด้านใด ซึ่งแตกต่างกับเหล็กโครงสร้างหรือโครงหลังคาทั่ว ๆ ไปที่ได้รับความร้อนจากแสงแดด ซึ่งมีอุณหภูมิไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
ดังนั้น ถ้าหากในเนื้อเหล็กมีความชื้น เนื่องจากไม่มีการทาสีเหล็ก ความชื้นในอากาศก็จะไปสัมผัสโดยตรงกับตัวเหล็ก แล้วอณูเล็ก ๆ จากความชื้นในอากาศนั้นก็จะซึมเข้าไปในเนื้อเหล็กนั้น
กระดูกโครงสร้างเตา
ครั้นเมื่อมีการเผาศพ ความร้อนจากหัวเผา (Burner) ที่อยู่ภายในเตา ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ถึงแม้นว่าจะมีอิฐทนไฟกั้นอยู่อีกสองชั้น พร้อมกับฉนวนอีกหนึ่งชั้นกว่าจะมาถึงเหล็ก แต่ความร้อนที่ค่อย ๆ คลายตัวออกมาจากทั้งอิฐทนไฟและฉนวนกันความร้อนนั้น ก็ยังมีอุณหภูมิที่สูงอยู่ จึงทำให้ความชื้นที่ฝังอยู่ในเนื้อเหล็กจะระเหยออกมา ถ้ามากก็จะไหลออกมาเป็นสายของสนิมเลยทีเดียว
ดังนั้น การทำโครงสร้างเผาเตาศพนั้น จึงไม่สามารถละเลยการทาสีกันสนิมได้เลย
โครงสร้างเตาด้านล่าง ต้องทาสีกันสนิมและเก็บงานทั้งหมด
ประเด็นต่อมา... ในปัจจุบันการใช้เหล็กทั่วไปที่ต้องทาสีกันสนิมรองก่อนนั้น เริ่มมีการถูกแทนที่ด้วยเหล็กชุลกัลวาไนซ์ ซึ่งสามารถซื้อมาแล้วใช้งานได้เลย ไม่ต้องใช้สีกันสนิม ซึ่งของดีกว่าก็ย่อมราคาแพงกว่า บางครั้งผู้รับเหมา ถ้าเราเหมาทั้งของคืออุปกรณ์พร้อมค่าแรง ผู้รับเหมาก็จะพยายามประหยัดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะไม่ใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ โดยเขาจะใช้เหล็กดำมาทาสีกันสนิม และมีโอกาสที่จะใช้สีกันสนิมที่คุณภาพไม่สูงนัก เพราะจะให้เหลือกำไรให้ได้มากที่สุด
โครงสร้างเตาเผาศพหลังจากงานเชื่อมก่อนลงสีรองพื้นกันสนิม
วิธีการแก้ไข ถ้าเรามีพอมีเวลาในการบริหารจัดการ เวลาสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน ก็ควรที่จะจ้างเฉพาะค่าแรง ส่วนเรื่องวัสดุอุปกรณ์นั้นเราควรจะสั่งซื้อเอง เพื่อที่จะให้ได้วัสดอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน
มาถึงเรื่องเหล็กกัลวาไนซ์กันต่อ ทำไมการสร้างเตาเผาศพครั้งนี้ ข้าพเจ้าถึงไม่สั่งเหล็กกัลวาไนซ์มาใช้ เพราะข้าพเจ้าเป็นคนสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์มาเอง
คำตอบก็คือ ที่ไม่สั่งเหล็กกัลวาไนซ์เพราะ “ไม่มี”
เหล็กรางน้ำขนาด 4 นิ้วใช้คำโครงสร้างเตาเผาศพ
งานโครงสร้างเตาครั้งนี้ส่วนใหญ่จะใช้เหล็กแบบหนา ๆ
เช่น เหล็กรางน้ำ 4 นิ้ว เหล็กฉาก 2 นิ้ว หนา 5 มิลลิเมตร และเหล็กแผ่นหนา 4.5 มิลลิเมตร ซึ่งเหล็กหนา ๆ แบบนี้จะไม่มีเหล็กชุบกัลวาไนซ์
เพราะเหล็กชุบกัลวาไนซ์ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเหล็กกล่องรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทำโครงสร้างหลังคา ซึ่งมีความหนาไม่มาก
1
เหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์
หมายเหตุ : บางครั้งช่างเชื่อมเหล็ก จะไม่ค่อยชอบให้เราทาสีกันสนิมไว้ก่อน เพราะเชื่อมยากมากขึ้น ช่างหรือผู้รับเหมาก็จะหาเหตุผลต่าง ๆ นานาที่จะให้เขาทำงานง่าย ทำงานเร็ว เพราะถ้าเขาทำเร็วเท่าไหร่ เขาก็ประหยัดค่าจ้างลูกน้องของเขาได้มากขึ้น เขาก็จะเหลือเงินหรือได้กำไรมากขึ้นนั่นเอง
ช่างเชื่อมเหล็ก
ถ้าเราเป็นผู้จ้างงานหรือจ้างช่าง จ้างเหมาใครมาทำงาน เวลาช่างพูดสิ่งใด ต้องฟังหูไว้หู หรือต้องคิดให้ถี่ถ้วน ควรจะต้องหาความรู้เรื่องงานช่างหรือสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการหาดู Youtube เกี่ยวกับงานที่เราจะจ้างช่างไว้ก่อน เพราะ Youtuber ที่นำเรื่องราวต่าง ๆ มาทำคลิปให้เราดูนั้น เขาไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรา เขาก็จะพูดออกมาเป็นกลาง ๆ อันไหนดีเขาก็ว่าดี อันไหนไม่ดีเขาก็ว่าไม่ดี ทำไมถึงพูดแบบนี้ ก็เพราะว่าการพูดออกสื่อสาธารณะอย่างเช่น Youtube นั้น คนดูเยอะ ถ้าพูดผิด พูดไม่จริง ก็จะเข้าตัวเอง หรือเป็นการฆ่าตัวตายในสายวิชาชีพนั้นเลยทีเดียว
ทาสีกันสนิมรองพื้นเหล็ก
คำพูดของคน โดยเฉพาะของผู้รับเหมานั้นต้องระมัดระวังและกลั่นกรองให้ดี เพราะคนที่เขามารับเหมาทำงานให้เรา เขามีส่วนได้ส่วนเสียเต็ม ๆ กับงานและเงินที่เราให้เขา คำพูดของคนที่ยังมีกิเลส ย่อมมีการแต่งเติม เสริมเพิ่มเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ดังเช่นที่คำพูดของครูบาอาจารย์เคยให้คำนิยามของผู้รับเหมาไว้ว่า
ผู้หญิงนี้มีมารยา 500 เล่มเกวียน แต่ผู้รับเหมานี้มีมารยามากกว่า 500 เล่มเกวียน...
ภายในเตาเผาศพปลอดมลพิษหลังจากการทำโครงสร้างเตาเผาพร้อมกับเก็บงานสีรองพื้นกันสนิม
สีรองพื้นกันสนิม
เตาเผาศพปลอดมลพิษ
เมรุ
บันทึก
8
8
1
8
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย