Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องสัตว์ๆ
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2022 เวลา 01:08 • การศึกษา
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 16 วันม้าลายสากล🦓
วันที่ 31 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น International Zebra Day หรือวันม้าลายสากล เพื่อสร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญในการคุ้มครองสัตว์ป่าชนิดนี้ค่ะ
youtube.com
Animanimals: Zebra
One day the zebra runs against a tree and learns something.Script, design, animation: Julia OckerSound design, music: Christian HeckVoice zebra: Ferdinand En...
ม้าลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นของทวีปแอฟริกาและเป็นหนึ่งในสัตว์สัญลักษณ์ของแอฟริกาที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีพอๆ กับสิงโตและยีราฟ
พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ม้าลายธรรมดา (Equus zebra) ม้าลายเบอร์เชลล์ (Equus quagga) และม้าลายเกรวี (Equus gravyi) มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาดังภาพ
https://en.wikipedia.org/wiki/Zebra
จากภาพจะเห็นว่าม้าลายเบอร์เชลล์ (Equus quagga) มีการแพร่กระจายมากที่สุดรองลงมาคือม้าลายธรรมดา (Equus zebra) และม้าลายเกรวี (Equus gravyi)
ลายนั้นท่านได้แต่ใดมา?
ม้าลายจัดเป็นม้าจำพวกหนึ่ง โดยมีขนาดตัวเล็กกว่าม้าและมีปลายหางคล้ายลา มีแผงคอสั้น ๆ เหมือนขนแปรง
แต่ลักษณะที่โดดเด่นกว่าม้าชนิดอื่น ๆ ก็คือลวดลายสีขาวสลับดำตลอดทั้งตัว โดยแท้จริงแล้วม้าลายเป็นสัตว์ที่มีพื้นลำตัวสีดำและมีลายแถบสีขาวพาดผ่านลำตัว
แถบสีขาวนั้นเกิดจากเซลล์ประสาทที่เรียงรายตามแนวกระดูกสันหลังส่วนหนึ่งเปลี่ยนสภาพไปเป็นเซลล์ผลิตเม็ดสีสีดำ เรียกว่า ‘เมลาโนไซท์’
หลังจากนั้น เมลาโนไซท์เหล่านี้เคลื่อนออกไปด้านข้างของกระดูกสันหลังในแนวตั้งฉาก แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นผิวหนังที่มีเม็ดสีสีดำ
รูปแบบของการกระจายเม็ดสีในม้าลายแต่ละชนิดนั้นขึ้นอยู่กับการกระตุ้นทางพันธุกรรม
ซึ่งทำให้ม้าลายแต่ละตัวมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของคน
โดยจากการศึกษาพบว่าตัวอ่อนของม้าลายที่อยู่ในท้องแม่ จะเป็นตัวสีดำก่อน จากนั้นลายแถบสีขาวจึงค่อย ๆ พัฒนาขึ้น
ลายนั้นสำคัญฉไน?
ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงสาเหตุของการเกิดลายของม้าชนิดนี้ โดยมีการศึกษา ทดลองและตั้งสมมติฐานต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น
เพื่อการพรางตัวจากศัตรูและทำให้ศัตรู เช่น สิงโตหรือไฮยีน่า ตาลายยามเมื่อเจอกับม้าลายที่อยู่รวมกันเป็นฝูงในทุ่งหญ้ากว้างและทำให้จับระยะทางที่จะโจมตีผิดพลาด
เพื่อจดจำกันได้และดึงดูดเพศตรงข้ามให้ตัวผู้ใช้เกี้ยวพาตัวเมีย
เพื่อบรรเทาความร้อนและควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากแถบสีดำตามลำตัวจะมีความร้อนกว่าบริเวณแถบสีขาวบนตัว ซึ่งจะทำให้เกิด microcurrent บนผิวหนังทำให้อากาศรอบๆ ผิวหนังถ่ายเท จึงช่วยให้ม้าลายสามารถขับเหงื่อเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายได้เร็วขึ้น หรือจะเรียกว่าลายของม้าลายเป็นเหมือนกับครีมกันแดดตามธรรมชาิ
เพื่อไล่แมลง เช่น แมลงดูดเลือด (Tsetse Flies) ซึ่งมีอยู่ในทวีปแอฟริกาและเป็นพาหะของโรคง่วงหลับ รวมทั้งแมลงวันที่ตอมม้าลายเป็นปกติวิสัยด้วย
โดยเชื่อว่าเพราะตาของแมลงเป็นระบบตารวมที่มีส่วนประกอบมากมาย และแมลงจะลงเกาะโดยการใช้แสงโพลาไรซ์ช่วย เป็นไปได้ว่าลายทางของม้าลายไปรบกวนแสงโพลาไรซ์ในการมองของแมลง ทำให้ยากในการลงเกาะบนตัวของม้าลายเมื่อเทียบกับการทดลองในม้าชนิดอื่น ๆ
ไทยเราไม่มีม้าลายแต่มี ‘ทางม้าลาย’ นะทุกคน
‘ทางม้าลาย’ ที่เราใช้ข้ามถนนในทุกวันนี้ มีที่มาจากอะไร ทำไมไม่ใช้ลายของสัตว์อื่น ๆ ทำไมไม่เป็นทางชีตาร์หรือทางเสือโคร่งล่ะ?
ทางม้าลายถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 แต่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากประเทศในทวีปแอฟริกาถิ่นกำเนิดของม้าลาย แต่เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ
โดยทางม้าลายในตอนนั้นมีรูปลักษณ์ที่ไม่ค่อยแตกต่างจากปัจจุบันนี้เท่าไหร่ คือ เป็นเส้นตรงสลับช่องในแนวขวาง เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนใช้เป็นจุดข้ามถนน
แต่ในอดีตได้มีการทดลองใช้สีของทางม้าลายมาหลายสี ไม่ว่าจะเป็น เหลือง – น้ำเงิน , ขาว-แดง , สีขาว-ดำ
ก่อนที่ทางม้าลายจะถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1949 โดยแรกเริ่มได้ใช้เป็นสีเหลือง – น้ำเงิน กระจายไป 1,000 แห่งทั่วประเทศ
2 ปีให้หลัง ในปี ค.ศ. 1951 ได้มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่า ควรใช้สี ‘ขาว – ดำ’ เป็นสัญลักษณ์สากลและได้ถูกเรียกว่า “ทางม้าลาย” หรือ ‘zebra crossing’ ในที่สุด
โดยทางม้าลายจะอยู่คู่กับเสาไฟสัญญาณ ‘Belisha beacon’ เพื่อใช้เป็นจุดรอสัญญาณข้ามถนน ซึ่งเป็นไอเดียของ Leslie Hore-Belisha รัฐมนตรีคมนาคมหญิงของประเทศอังกฤษ ณ ขณะนั้น โดยถ้ามีคนกดให้โคมไฟสีส้มบนเสาสว่างขึ้นรถบนถนนก็จะหยุดให้คนข้ามเหมือนในปัจจุบัน
1
การที่ทางม้าลายได้ถูกแพร่กระจายออกไปทั่วโลกนั่นก็เนื่องมาจากการที่ประเทศอังกฤษนำเอาวัฒนธรรมไปเผยแพร่ในช่วงล่าอาณานิคม ทำให้ทางม้าลายถูกแพร่กระจายไปทั่วโลกกลายเป็นสัญลักษณ์สากลมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ “ทางม้าลาย” จะเป็นสัญลักษณ์สากลไว้ให้คนข้ามถนน แต่หากผู้ที่ขับรถทุกประเภทละเลยและขาดความตระหนักถึงกฏวินัยข้อนี้
การข้ามถนนธรรมดา ๆ ก็อาจกลายเป็นการเสี่ยงชีวิตโดยไม่จำเป็นได้....
อ้างอิง
●
https://adaymagazine.com/zebra-stripe
●
https://en.wikipedia.org/wiki/Zebra
●
https://nationalzoo.si.edu/animals/news/7-facts-celebrate-international-zebra-day
●
https://sites.google.com/site/jintanakhcritna/rupphaph/malay
●
https://th.wikipedia.org/wiki/ม้าลาย
●
https://wilderness-safaris.com/blog/posts/international-zebra-day-celebrating-africa-s-dazzling-equids
●
https://www.22september.org/ประวัติและความเป็นมาขอ/
●
https://www.latestly.com/social-viral/international-zebra-day-2020-fun-and-interesting-facts-about-the-black-and-white-striped-animal-1502003.html
●
https://www.voathai.com/a/zebra-stripes-nm/1886072.html
●
https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=322&c_id=
สิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์
การศึกษา
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เบาสมองส่องสัตว์
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย