31 ม.ค. 2022 เวลา 12:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔥BREAKING !! 🔥 : จับตาการเงินโลก ! แม้ตอนนี้สหรัฐฯ จะอยู่ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจจริง แต่ JPMorgan กล่าวว่าแนวโน้มของเงินดอลลาร์ยังสามารถแข็งค่าได้อีกจนกว่า FED จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว ! ขณะที่ Bond Yield 2 ปีดีดทะลุ 1.2% !! มีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง ? มาดูกัน
📌 ล่าสุดธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง JPMorgan ได้ออกมาให้มุมมองว่าแนวโน้มของเงินดอลลาร์(เมื่อเทียบกับสกุลเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ)ยังสามารถแข็งค่าได้อีกในระยะสั้น ๆ นี้ โดยมองว่าจะแข็งค่าไปจนกว่าที่ FED จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเป็นอย่างน้อย
จะพูดไปมันก็น่าแปลกใช่ไหมล่ะครับ ! ที่สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อจากดัชนี CPI ออกมาสูงถึง 7% (สูงสุดในรอบ 40 ปี) ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อนี้ทำให้หลายคนคิดว่าเงินดอลลาร์คงต้องอ่อนค่าลงแน่ ๆ แต่เมื่อไปดูจริง ๆ กลับพบว่าดัชนีค่าเงินดอลลาร์กลับแข็งค่าขึ้นซะอย่างนั้น ?
เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นได้ ก็เพราะว่าในขณะที่เงินดอลลาร์เสื่อมค่าลงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์จำเป็น อย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ อาหาร และสินค้าอื่น ๆ แต่พร้อมกันนี้ สกุลเงินของประเทศที่นำมาถ่วงน้ำหนักในดัชนีค่าเงินดอลลาร์ก็เสื่อมค่าลงไปด้วยอัตราที่มากกว่าเงินดอลลาร์เสียอีก นั่นจึงทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ยังคงสามารถแข็งค่าได้ แม้ตัวเงินดอลลาร์ใน Real Sectors จะสูญเสียมูลค่าไปแล้วก็ตาม
1
ทั้งนี้ มันจึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภาวะเงินเฟ้อนั้นเกิดขึ้นในทั่วโลก และการเสื่อมค่าของสกุลเงินก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ใน US Dollar เท่านั้น ที่สำคัญคือมีเงินหลายสกุลที่กำลังเสื่อมค่าด้วยอัตราที่เร็วกว่า US Dollar
📌 ขณะเดียวกัน การที่ FED กำลังลดปริมาณการอัดฉีดเงินดอลลาร์เข้าระบบ (QE Tapering) รวมถึงกำลังจะปรับขึ้นดอกเบี้ย (Hawkish Tone Policy) และกำลังจะลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ทำให้นักลงทุนเทขายพันธบัตร, หุ้น, ทองคำ, Crypto และสินทรัพย์อื่น ๆ เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีดแนวโน้มจะนำเงินสดนี้มาพักไว้รอซื้อพันธบัตรรุ่นใหม่ที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าเดิม และนั่นถือเป็นปัจจัยที่ผลักดัน Dollar Demand ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในระยะสั้นได้
2
ตอนนี้ หลายแบงก์ใน Wall Street กำลังถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวโน้มของเงินดอลลาร์ในอนาคต ขณะที่ FED เตรียมกระชับนโยบายทางการเงินแบบเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่วนทางฝั่ง US Dollar Index ที่อ้างอิงจาก Bloomberg นั้นแข็งค่าขึ้นราว 5% ในปีที่ผ่านมา (ตีความหมายในอีกแง่หนึ่งได้ว่าดอลลาร์นั้นอ่อนค่าลง แต่โดยรวมแล้วสกุลเงินอื่นอ่อนค่าลงเร็วกว่าดอลลาร์ 5%)
ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่เป็น Store Of Value อย่างทองคำกลับเสื่อมลง โดยจากภาพนี้ เราจะเห็นได้ว่าที่ระดับ Dollar Index เดียวกัน ทองคำในอดีตมีราคาเพียง 1200 $/Oz แต่ปัจจุบันกลับเพิ่มมาเป็น 1800 $/Oz ซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าตอนนี้ดอลลาร์สูญเสียอำนาจซื้อทองคำไปราว 33% เมื่อเทียบจากประมาณ 5-7 ปีที่แล้ว !
นั่นทำให้นักวิเคราะห์เริ่มเกิดคำถามว่าการแข็งค่าของดัชนีเงินดอลลาร์ได้มาถึงจุด Peak หรือยัง ? และถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่เงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ?
📌 อย่างไรก็ตาม ทาง JPMorgan นั้นยืนยันว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าได้อีกในระยะสั้นนี้ โดย Daniel Hui หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ Forex ทั่วโลกของบริษัท ให้ความเห็นเอาไว้ว่า
2
“เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นนั้น ยังมีช่องว่างให้วิ่งไปต่อได้อีก ตลาดจะยังคงอยู่ในสถานการณ์ของการประเมินราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว จุดสูงสุดของเงินดอลลาร์จะเกิดขึ้นประมาณ 1-2 เดือนหลังจากที่ FED ประกาศขึ้นดอกเบี้ย”
(The dollar’s gains have more room to run, The market is still going to be in some sort of price discovery mode, and typically the peak of the dollar comes about one to two months after Fed liftoff.)
คำพูดของเขาแสดงให้เห็นว่าการ Price in ของนักลงทุนอาจเกิดขึ้นไปจนถึงกว่า FED จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1-2 เดือนนั่นเอง และนั่นหมายถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการโยกย้ายกระแสเงิน (เทขายอย่างหนึ่งไปซื้ออีกอย่างหนึ่ง) ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
เราต้องเข้าใจว่าตอนนี้ตลาดเริ่ม Price in ล่วงหน้าไปแล้วว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ แต่การ Price in นั้นยังไม่จบลง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักลงทุนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อขายช่วงนี้เป็นพิเศษครับ
ตอนนี้ ตลาดกำลังคาดการณ์ว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5-6 ครั้งภายในปีนี้ และปัจจุบันมองว่ามีโอกาสราว 20% ที่ FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5% แทนที่จะเป็น 0.25%
ขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้ Raphael Bostic ประธาน FED สาขา Atlanta ได้ออกมากล่าวกับสำนักข่าว Financial Times ว่าคณะกรรมการ FOMC มีโอกาสตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ได้ในเดือนมีนาคมนี้
📌 ตอนนี้ผลตอบแทนพันธบัตร 2 ปีของสหรัฐฯ ดีดทะลุ 1.2% มาแล้ว ! ขณะผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 1.785% ซึ่งหมายความว่า Yield Spreads เหลืออยู่ประมาณ 0.585% ก่อนจะเกิดภาวะ Inverted Yield Curve*
1
* Inverted Yield Curve คือภาวะที่ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว ซึ่งถือเป็นจุดที่อันตรายต่อทั้งตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น และตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ เพราะหมายความว่าการถือครองพันธบัตรระยะสั้นจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มจะยิ่งเทขายสินทรัพย์อื่นมาถือพันธบัตรรุ่นใหม่ ๆ
ดังนั้นเราคงต้องมาดูกันว่าสหรัฐฯ จะรักษาตลาดหุ้นโดยป้องกันไม่ให้ Bond Yield ระยะสั้นพุ่งสูงขึ้นไปจนเกิด Inverted Yield Curve ได้อย่างไร ? เพราะถ้าหากปล่อยให้ Bond Yield ระยะสั้นพุ่งสูงขึ้นไปกว่า Bond Yield ระยะยาวเมื่อไหร่ เป็นเรื่องแน่ !
ทั้งนี้ ถ้า Bond Yield ของพันธบัตรระยะยาวสูงขึ้นตามไปด้วย ก็จะไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่การที่ Bond Yield สูงขึ้น ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือยาว ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นได้อยู่ดี ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อไป
📌 Hui กล่าวเริมว่า
“ตลาดกำลังพยายามไล่ตาม Fed เพราะเห็นได้ชัดว่านี่เป็นวัฏจักรที่ไม่ปกติมาก โดยในตอนแรก FED คาดการณ์ว่าแรงผลักดันด้านเงินเฟ้อจะคลี่คลายลง เนื่องจากปัญหาทางด้าน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่กำลังได้รับการแก้ไขแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ FED ก็ได้ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวอาจใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้”
(The market is trying to chase the Fed, because clearly this is a very unusual cycle, The Fed initially expected price pressures to ease as pandemic-related supply chain issues were resolved, but has more recently conceded that it’s taking longer than anticipated.)
📌 ตอนนี้ มุมมองของ JPMorgan ต่อเงินดอลลาร์ยังคงเป็น Bullish อยู่ ขณะที่สถาบันแห่งอื่น ๆ เริ่มปรับมุมมองเป็นการเทขายเงินดอลลาร์และนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่นหุ้นในตลาดเกิดใหม่ สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ
ในเดือนมกราคมนี้ ดัชนีสินทรัพย์อื่น ๆ เริ่มแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
โดยทาง Jack McIntyre ผู้จัดการด้านการเงินของ Brandywine Global Investment Management กล่าวว่าพวกเขากำลังเข้าซื้อสกุลเงินของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงทองคำและ Silver
นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนที่แล้วเขาเริ่มวาง Short Position ในสกุลเงินดอลลาร์ ขณะที่เดิมพันเชิงกระทิงต่อสกุลเงินของออสเตรเลียและชิลี เนื่องจากเขามองว่าเงินดอลลาร์ใกล้ถึงหรือได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว และต่อจากนี้การเติบโตของประเทศอื่น ๆ จะส่งผลให้มีกระแสเงินไหลออกจากดอลลาร์ไปยังสกุลเงินอื่น ๆ มากขึ้น
สกุลเงินของประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มแข็งค่าขึ้นในเดือนนี้
ในระยะยาว นักวิเคราะห์ต่างก็มองว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลง เนื่องจากสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าระบบมามากมาย และรัฐบาลก็มีการดำเนินกลยุทธ์แบบขาดดุลมาตลอดหลายปี นั่นทำให้เงินดอลลาร์ไหลออกไปยังประเทศอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ
📌 โดยสรุปก็คือ ในระยะสั้นนี้ แนวโน้มของเงินดอลลาร์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เพราะสัดส่วนของมุมมองตลาดกระทิงต่อมุมมองตลาดหมีนั้นเท่า ๆ กัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าดอลลาร์มีโอกาสแข็งตัวได้อีกในระยะสั้น แต่สำหรับระยะยาวนั้น นักวิเคราะห์เกือบทั้งหมดเห็นตรงกันว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงไปอีก และมันจะเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ ที่มีปริมาณหนี้มหาศาลด้วย
1
และไม่ว่าแนวโน้มของเงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหวในทิศทางอย่างไร หรือจะส่งผลต่อสินทรัพย์ทั่วโลกอย่างไร นักลงทุนก็ไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดข่าวสารสำคัญไปครับ เพราะ World Maker จะนำข้อมูลเหล่านี้มาอัปเดตในทราบตลอดปีนี้อย่างแน่นอน
1
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารอย่างแท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
References :
โฆษณา