1 ก.พ. 2022 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Body Glove กำลังเจอกับความท้าทาย
2
เชื่อว่าหลายคนคงน่าจะรู้จักแบรนด์ “Body Glove”
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแบรนด์แฟชั่นยอดฮิต สำหรับใครหลายคนในสมัยก่อน
1
แต่หลายคนน่าจะยังไม่รู้ว่าเจ้าของ Body Glove ในประเทศไทยนั้น
มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ชื่อบริษัทว่า บีจีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือใช้ชื่อย่อว่า “BGT”
1
วันนี้เรามาดูกันว่า Body Glove ในประเทศไทยมีความเป็นมาอย่างไร
แล้วทำไมในวันนี้ ถึงกำลังเจอกับความท้าทาย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น เรามารู้จักแบรนด์ Body Glove กันก่อน
1
จริง ๆ แล้ว Body Glove เป็นแบรนด์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1953
1
โดยสองพี่น้อง Bill และ Bob Meistrell ซึ่งมีอาชีพเป็น Lifeguard ได้ร่วมกันคิดค้นเครื่องแต่งกายสำหรับกีฬาทางน้ำขึ้นมา
และที่ใช้ชื่อแบรนด์ Body Glove ก็เพราะอยากให้ชื่อแบรนด์สื่อความหมายตรงตัวว่าเป็น “สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกาย”
1
นอกจาก Body Glove จะพัฒนาเสื้อผ้าสำหรับกีฬาทางน้ำแล้ว
ก็ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายอื่น ๆ สำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน
ทีนี้ เรามาดูจุดเริ่มต้นของ Body Glove ในประเทศไทย
แบรนด์นี้ได้เข้ามาในประเทศไทยก็เพราะว่า ดร.นพดล ธรรมวัฒนะ และ Mark J. Walden
เจ้าของบริษัท ไทย เซกเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเดิมทีทำธุรกิจจัดหาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป
ส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาให้กับเจ้าของแบรนด์ Walt Disney และ Body Glove อยู่แล้ว
ได้ไอเดียในการนำ Body Glove เข้ามาทำธุรกิจในบ้านเรา
1
ทำให้ในเวลาต่อมา ดร.นพดล ธรรมวัฒนะ ได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าแบรนด์ Body Glove และก็ได้จัดตั้ง บริษัท บอดี้ โกลฟ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ Body Glove
1
ปี 2007 บริษัทได้รับอนุญาตจาก IP Global Investments America ให้สามารถใช้สิทธิเครื่องหมายการค้าแต่เพียงผู้เดียวเป็นระยะเวลา 99 ปีใน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย, เวียดนาม, พม่า, ลาว, กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ในปีเดียวกันนี้เอง บริษัทยังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ปี 2008 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บีจีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และได้ใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจค้าปลีกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้แบรนด์ Body Glove ผ่านช่องทางร้านค้าของบริษัท 69 สาขา และเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า 62 สาขา
รวมถึงบริษัทมีช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์บริษัท และอีคอมเมิร์ซ
2
สำหรับผลประกอบการของบริษัทที่ผ่านมา
ปี 2018 รายได้ 716 ล้านบาท ขาดทุน 8 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 586 ล้านบาท ขาดทุน 42 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 420 ล้านบาท ขาดทุน 36 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2021 รายได้ 212 ล้านบาท ขาดทุน 31 ล้านบาท
2
โดยบริษัทขายสินค้าผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย
- ร้านค้าของบริษัท 71%
- เคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า 29%
1
ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้มาจากการขายในประเทศเกือบทั้งหมด ขายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 25% ที่เหลืออีก 75% มาจากต่างจังหวัด สรุปได้ว่ากลุ่มลูกค้าของบริษัทในปัจจุบัน จะเน้นไปที่ต่างจังหวัดมากกว่า
หากเรามาดูที่ผลประกอบการรายได้ที่ลดลง และผลการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
ก็พอจะบอกได้ว่าบริษัทกำลังเผชิญกับความท้าทายพอสมควร
หากไม่นับปี 2020 และ 2021 ที่เราเผชิญกับโรคระบาดโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟชั่นแล้ว
เรามาดูกันว่าความท้าทายของ Body Glove มีอะไรอีกบ้าง ?
- การแข่งขันในอุตสาหกรรมแฟชั่น ที่รุนแรงมากขึ้น
อุตสาหกรรมแฟชั่นเสื้อผ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ผู้เล่นรายใหม่เข้ามาได้ง่าย
เราคงเห็นแล้วว่ามีแบรนด์ระดับโลกในอุตสาหกรรมแฟชั่นที่เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทยมากมาย เช่น Uniqlo, H&M และ ZARA
รวมถึงเรื่องการเข้าถึงช่องทางการขายออนไลน์ของผู้ประกอบการรายเล็กได้ง่ายขึ้น
จากเดิมที่เรามีตัวเลือกไม่มาก มีเพียงแบรนด์ตามห้าง
กลายมาเป็นแบรนด์เล็ก ๆ ก็สามารถเห็นได้ตามเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม
การแข่งขันในอุตสาหกรรมจึงรุนแรงขึ้นอีก
 
- รสนิยมแฟชั่นของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไป
ขึ้นชื่อว่า “แฟชั่น” แน่นอนว่า เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย และขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคได้รับในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น อิทธิพลจากต่างประเทศ อิทธิพลจากบุคคลมีชื่อเสียง
ซึ่งครั้งหนึ่งแบรนด์ Body Glove เองก็เคยได้รับความนิยมจากเสื้อยืดมีเอกลักษณ์ลวดลายเยอะ
สีสันฉูดฉาด แต่ในปัจจุบันเทรนด์แฟชั่นก็ได้เปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
อย่างไรก็ตาม เราก็พอจะเห็นได้ว่า Body Glove มีการปรับการออกแบบเสื้อผ้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้อยู่ในเทรนด์มากขึ้น รวมถึงการคิดค้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น กลุ่มคนเล่นกีฬา ที่กำลังเป็นเทรนด์
1
เราก็ต้องมารอดูกันว่าสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ Body Glove กลับมาเป็นแบรนด์ยอดฮิต ได้เหมือนสมัยก่อนหรือไม่..
1
References
โฆษณา