31 ม.ค. 2022 เวลา 13:03 • ไลฟ์สไตล์
10 เงื่อนไขที่ทำให้ชีวิตเครียด คุณกำลังติดกับดักเหล่านี้หรือเปล่า?
4
ใครกำลังรู้สึกว่า ชีวิตตอนนี้เครียดมาก มองไปทางไหนก็มีแต่ความกดดัน เราแทบหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ไม่เจอเลย แล้วคนอื่นๆ กำลังรู้สึกเหมือนเราไหมนะ? ลองมาดูสถิติที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในประเทศไทยกันสักหน่อย
3
ข้อมูลจากเว็บไซต์วัดใจ ปี 2022 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่า 2.5 ล้านคนในประเทศไทย ประมาณ 2 แสนคนหรือ 8.38% ของผู้ทำแบบสอบถาม “รู้สึกเครียด” และกว่า 2 หมื่นหรือ 4.16% จากสองล้านคนกำลังรู้สึก “หมดไฟ” กับการใช้ชีวิต ซึ่งสะท้อนว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังเหนื่อยล้าเกินกว่าจะก้าวต่อ
9
แน่นอนว่าสถานการณ์ในตอนนี้ทำให้ชีวิตเราต้องเผชิญกับความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่รู้ไหมว่า นอกจากวิกฤตภายนอกที่เราควบคุมได้ยากแล้ว ยังมีสิ่งที่เราตั้งเป็น “เงื่อนไข” ในการใช้ชีวิต ที่ทำให้เราเกิดความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว
37
มาดูกันว่าคุณกำลังนำเงื่อนไขทั้ง 10 ข้อต่อไปนี้มาผูกชีวิตให้ยากขึ้น และเครียดมากขึ้นหรือเปล่า ลองคลายเงื่อนไขเหล่านี้ลง และใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้นกันดีกว่า
8
1. นำความสุขไปผูกกับความสำเร็จ
ในยุคที่สังคมลุ่มหลงกับผลลัพธ์ จนการตั้งเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นสิ่งหลักที่ทุกคนต้องทำ แต่บ่อยครั้งที่เป้าหมายนั้นๆ มักกลายเป็นอุปสรรคขึ้นมา เช่น ต้องรวย ต้องเรียนจบด้วยเกียรตินิยม ต้องแต่งงาน หรือคาดหวังให้มีคนติดตามแอกเคานต์เราเยอะๆ ก่อนถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ และเมื่อไรที่ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย ก็จะเครียดและไม่มีความสุขไปโดยปริยาย ลองแยกความสุขกับความสำเร็จออกจากกัน เป้าหมายนั้นมีไว้เพื่อให้มีหลักในการเดิน มีเส้นชัยในรู้ว่าเราจะวิ่งไปในเลนไหน ไม่ใช่ใบอนุญาตให้ตัวเองมีสุข เพราะจริงๆ แล้วเรามีความสุขได้ทันที แม้จะยังไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม
23
2. พยายามเปลี่ยนตัวเองอยู่เสมอ
แน่นอนว่าตัวเราในอดีตก็มีทั้งดีและแย่ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องวิ่งหนีเงาอดีตทุกวัน เพราะเมื่อไรที่เราตั้งเงื่อนไขว่าตัวเราในวันนี้ต้องพยายามดีขึ้น หรือเก่งขึ้น เราก็จะยิ่งรู้สึกเหนื่อยและพ่ายแพ้ จริงๆ แล้วเราเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นอยู่เสมอ ตัวเราในเดือนที่แล้วอาจแตกต่างจากตัวเราในตอนนี้ด้วยซ้ำไป ดังนั้น ค่อยๆ เรียนรู้สิ่งที่ไม่ดี จดจำ และแก้ไขไปทีละนิดก็ได้ และที่สำคัญที่สุดคืออย่าลืมให้อภัยตัวเองในเมื่อวานด้วย
9
3. ทำงานไปก่อน ค่อยเที่ยวตอนแก่ก็ได้
เรามักถือคติ “ลำบากตอนนี้ สบายตอนหน้า” ทำให้เรายอมสละช่วงอายุ 20 ต้นๆ ที่ควรจะได้เที่ยว ใช้ชีวิตแบบสุดเหวี่ยง ไปกับการอดทน อดนอน และทำงานเพื่อหาเงินให้ได้มากที่สุด เพราะคิดว่าเป็นช่วงที่ร่างกาย สมอง และโอกาสพร้อมพรั่งมากที่สุด ส่วนการพักผ่อนหรือการไปเที่ยวค่อยเก็บไว้ทำในตอนแก่ก็ได้ แต่อย่าลืมว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายเราก็ไม่ได้แข็งแรงแบบนี้ เราจะเป็นคนแก่ที่มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรงทำอะไรที่อยากทำอีกต่อไป ดังนั้น ให้คุณค่ากับความฝันและการเดินทางในตอนที่ยังทำมันได้ด้วย อย่ามัวทำแต่งานจนลืมมันไปหมด
15
4. ต้องเป็นฝ่ายถูกเสมอ
เคยไหม ยอมเสียเวลาเถียงกับคนอื่นเป็นชั่วโมง เพียงเพราะยอมให้คนอื่นบอกว่า เราเป็นฝ่ายผิดไม่ได้ ลองวางทิฐิของเราลง แม้เราจะไม่เห็นด้วยในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องบีบบังคับให้เขาคิดแบบเรา ปล่อยให้มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เพราะเราไม่มีทางเปลี่ยนทัศนคติของใครได้ใน 5 นาทีแน่นอน แล้วเอาเวลาที่เหลือนี้ไปปฏิบัติให้พวกเขาเห็น หรือเอาเวลาไปใช้พักผ่อนคลายเครียดเสียเองจะดีกว่า โดยเฉพาะการคอมเมนต์เถียงกับคนในอินเทอร์เน็ตที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาเป็นใคร ลองพูดว่า “ช่างมัน” บ่อยๆ อย่าเก็บทุกอย่างมาเป็นอารมณ์เลย
8
5. กลัวตกเทรนด์
หลายคนต้องคอยเฝ้าติดตามเทรนด์ใหม่มาแรง ทั้งรอซื้อเสื้อผ้าคอลเลกชันใหม่ หรือถอยมือถือรุ่นใหม่ หรือแม้แต่คาเฟ่ใหม่ที่ต้องไปเยือน สิ่งเหล่านี้กำลังสร้างความเครียดให้ชีวิตเราแบบไม่รู้ตัว ดังนั้น หากสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตเรามากนัก ปล่อยให้ตัวเองตกเทรนด์บ้าง อย่าตีคุณค่าให้ชีวิตเพียงแค่คำว่า “ต้องมี” และอย่าให้ความกลัวว่า ถ้าเราไม่ตามเทรนด์ จะไม่มีใครยอมรับเรา ไม่คุยกับเรา จนทำให้เรารู้สึกหมดไฟในการเข้าสังคม
4
6. มองว่าตัวเองไร้ค่า
ไม่มีอะไรทำร้ายเราไปมากกว่าเราทำตัวเอง ต่อให้คนอื่นว่าร้ายเรา แม้คำพูดนั้นจะทำให้เราเจ็บ แต่ถ้าเราเลือกจะไม่ใส่ใจ ความเจ็บนั้นก็เป็นเพียงภายนอก แต่การกล่าวโทษตัวเอง หรือคิดว่าตัวเองไม่มีความหมายต่างหาก ที่จะทำร้ายตัวเราเองมากที่สุด ลองหันมาสร้างพลังบวกให้ตัวเอง คิดอยู่เสมอว่า ไม่มีใครสมบูรณ์ไปทุกอย่าง ความผิดพลาดที่เราพบเจอคือ บทเรียนที่จะทำให้เราก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งขึ้นในอนาคต
6
7. ยึดติดกับความคิดเดิมๆ
การมี Growth Mindset ไม่ได้ถือคติแค่ว่าต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่ข้อนี้หมายถึง การปักใจเชื่อในข้อมูลชุดเดียว ข้อมูลเดิมๆ ที่เราเคยได้รับรู้ โดยไม่เปิดใจฟังแง่มุมอื่นๆ เลย ทุกวันนี้โลกออนไลน์นำพาข้อมูลข่าวสารมากมายเข้ามาหาเรา แต่ในทางกลับกัน Algorithm ของแอปฯ เหล่านี้กลับเสนอแค่เนื้อหาที่เราชื่นชอบหรือค้นหาบ่อยๆ อยู่ซ้ำๆ จึงเป็นไปได้ที่เราจะไม่ได้รับข้อมูลทุกด้าน เมื่อเราต้องเผชิญสิ่งที่ขัดกับความเชื่อหนักเข้า เราก็อาจรู้สึกเครียดขึ้นได้ ลองหาโอกาสที่ตรงข้ามกับแนวคิดที่เรามีเพื่อเติมข้อมูลให้ครบถ้วน การตัดสินใจเราจะได้แม่นยำและถูกต้องมากขึ้น
11
8. คาดหวังให้คนอื่นชื่นชมเรา
ลองเช็กตัวเองดูว่า ตอนนี้เรากำลังทำบางสิ่งเพียงเพื่อให้คนอื่นมาชื่นชมเราอยู่หรือเปล่า? ถ้าใช่ ได้เวลาปรับมายด์เซตนี้แล้วล่ะ เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนบนโลกจะมาชื่นชมทุกการกระทำของเรา และหากวันไหนขาดเสียงชื่นชม เราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดและหมดกำลังใจในการทำสิ่งที่ควรจะทำไปเสียดื้อๆ จนถึงขั้นยอมเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้คนอื่นชอบ ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่เราพอใจก็ได้ ให้คิดอยู่เสมอว่า มีคนชื่นชมสิ่งที่เราทำก็ดี แต่อย่าไปยึดติดคำชมเหล่านั้นมากเกินไป
11
9. ไม่มีความฝันเป็นของตัวเอง
ตั้งแต่เด็ก เราอาจเลือกโรงเรียน มหาวิทยาลัยเพียงเพราะคนอื่นไปเรียนที่นั่นกัน แม้แต่การเลือกอาชีพ บางทีเราก็เลือกเพราะคนอื่นก็ทำอาชีพนี้ หรือเพราะพ่อแม่ตั้งความหวังให้เราทำ เพราะคิดว่าเป็นงานที่ดี แต่เมื่อเราเจออุปสรรค หากสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้มาจากใจรัก เราก็มักจะไปต่อไม่ไหวและต้องล้มเลิกไปในที่สุด ดังนั้น หาเวลาเปิดใจเพื่อพูดคุยกับผู้ที่คาดหวังให้เราทำตามที่เขาต้องการ แล้วบอกสิ่งที่เราต้องการจะทำจริงๆ ให้พวกเขารู้ อย่ากลัวว่า เขาจะรับไม่ได้กับสิ่งที่เราตั้งใจจะทำ
13
10. ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
เคยไหม ดูสตอรี่ไอจีของเพื่อนก็มักเจอรูปไปเที่ยวที่ต่างๆ ได้เงินเดือนเยอะๆ ประสบความสำเร็จในชีวิต และดูมีความสุขมากกว่าเราอีก แต่ทั้งหมดนี้อาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป รูปเพียงรูปเดียวเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งวันของเขา จำไว้เสมอว่า ทุกคนล้วนมีจังหวะชีวิตของตัวเอง มีขึ้นก็ย่อมมีลง ขอให้เราได้ทำสิ่งที่เรามีความสุขเล็กๆ น้อยๆ ทุกวันก็พอแล้ว
5
หลายๆ พฤติกรรมที่เราเคยทำอาจแฝงความ Toxic และบั่นทอนความสุขในตัวเราไปโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ลองเลิกตั้งเงื่อนไขเหล่านี้ดู แล้วหันมาเติมความสุขให้ชีวิตให้ทั้งความสำคัญและความรักแก่ตัวเองมากขึ้น แล้วเราจะรู้ว่า เราอาจไม่จำเป็นต้องเติมเต็มความสุขจากภายนอก แต่มาจากเลิกทำบางสิ่งต่างหาก
7
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เมื่อ Work-Life ไม่ Balance คุณกำลัง “ทำงานเพื่อใช้ชีวิต” หรือ “มีชีวิตเพื่อทำงาน” กันแน่? https://bit.ly/3rRDRqz
1
แปลและเรียบเรียงจาก:
อ้างอิงเพิ่มเติมจาก:
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
โฆษณา