2 ก.พ. 2022 เวลา 00:11 • การตลาด
สาเหตุที่ทำให้ Grab ทำไมจึงโตขึ้นมาได้ทั้งที่ในขณะนั้นมีคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงกว่าอย่าง Gojek
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คงคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับผู้ให้บริการที่มีโลโก้สีเขียว ที่ชื่อ Grab โดยในช่วงแรกๆ เราจะพบว่า Grab ให้บริการในการรับส่งผู้โดยสารโดยใช้รถบ้าน ซึ่งรับสมัครผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัวที่จอดว่างๆอยู่มาหารายได้เสริม
ในช่วงแรกเองที่มีการก่อตั้ง Grab ในปี พ.ศ. 2555 โดยนาย แอนโทนี่ ตัน และ นายโฮย หลิง ตัน ซึ่งทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมชั้นกันที่ Harvard Business School และเป็นชาวมาเลย์เซีย สาเหตุมาจากการเรียกแท็กซี่ที่ลำบาก ทั้งคู่จึงได้หาทางที่จะแก้ปัญหาในเรื่องนี้ แล้วได้เริ่มธุรกิจนี้ที่ประเทศมาเลย์เซียประเทศบ้านเกิด
1
ซึ่งทั้งสาเหตุและวิธีการดำเนินการทุกท่านสามารถหาอ่านประวัติผู้ก่อตั้งได้จากสื่อต่างๆได้ แต่ประเด็นที่จะนำเสนอครั้งนี้คือสาเหตุว่าทำไม Grab จึงโตขึ้นมาได้ขนาดนี้ ทั้งยังสามารถระดมทุนมาขยายกิจการให้เติบโตได้เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินเป็นอันดับต้นๆของเอเชีย
Source: The Asian Banker
เพื่อนของทั้งคู่ที่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียชื่อว่า Nadiem Makarim หนุ่มชาวอินโดนีเซียวัย 35 ปี พบว่าการจราจรของประเทศอินโดนีเซียติดขัดมาก ไม่รู้ว่ามากกว่าไทยหรือปล่าว แต่ก็ทำให้ผู้คนต้องใช้เวลาอยู่บนท้องถนนถึง 47 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว จึงได้ก่อตั้งระบบคนกลางโดยเน้นไปที่การให้บริการผ่านจักรยานยนต์เป็นหลักชื่อว่า Gojek
จำนวนประขากรที่อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก Gojek สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องขยายไปประเทศไหนเลย จนทำให้กลายมาเป็นบริษัทที่ถือว่าเป็นยูนิคอร์นอันดับแรกๆ ของภูมิภาคนี้ แม้วjาจะไม่ได้ขยายธุรกิจออกนอกประเทศก็ตามที
ด้วยการเติบโตของ Gojek จึงทำให้ Grab เล็งเห็นว่าการขยายตัวโดยเป็นคนกลางจากที่มีแต่รถยนต์ ไม่เพียงพอที่จะทำธุรกิจเติบโต จึงได้ขยายธุรกิจไปสู่รถจักรยานยนต์
ที่มา Positioning Magazine
แต่ด้วยขนาดธุรกิจยังไง Grab ก็ยังเป็นรอง Gojek อยู่มาก หากจะขยายไปยังประเทศอินโดนีเซีย ที่ดูว่ามีจำนวนผู้บริโภคจำนวนมากก็จริง แต่ Gojek ได้วาง Ecosystem ไว้อย่างเหนียวแน่นยากที่เจาะได้ ดีไม่ดีอาจจะถูกตีกระจุยกระจายจนขาดทุนย่อยยับได้
แต่สิ่งที่ Grab เห็นก็คือ Gojek ไม่ได้สนใจที่จะขยายกิจการออกไปต่างประเทศ เพราะเขาดูว่าแค่เพียงในประเทศเขาก็สามารถเป็นยูนิคอร์นได้สบายๆ Grab จึงได้เร่งในการขยายกิจการไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างมาก มากกว่าในประเทศมาเลเซียด้วยซ้ำ
แต่ประเทศไทยก็ยังมีคู่แข่งที่มีธุรกิจกระจายอยู่ทั่วโลกอย่างอูเบอร์ (Uber) เป็นผู้เล่นที่ทำธุรกิจการเป็นคนกลางในการจัดหารถให้ลูกค้ารายแรกๆของโลก การให้บริการของอูเบอร์ต้องประสบปัญหามากมาย ซึ่ง Grab เองก็รู้ดีว่า จึงได้เข้าไปซื้อกิจการมาเพื่อมาดำเนินการต่อ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็คือซื้อมาเพื่อไม่ให้มีผู้ให้บริการรายนี้อยู่ในประเทศไทยนั่นเอง
Source: Tecnogus
ด้วยเพราะ Gojek เองยังหลงใหลได้ปลื้มกับผลประกอบการที่มั่นคง เป็นสัญลักษณ์ของชาวอินโดนีเซีย นอกจากจะไม่ได้สนใจต่อการขยายกิจการกระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Grab ก็ยังไม่คิดจะออกไปทำตลาดนอกบ้านอยู่ดี ส่งผลให้ Grab เติบโตได้โดยไม่มีคู่แข่งโดยเฉพาะตลาดในประเทศไทย
จนพอรู้ตัวก็คิดจะขยายออกไปนอกประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการบริโภคสูงมาก และประเทศเวียดนามที่มีประชากรเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค แต่ก็ไม่ก็ไม่สามารถที่จะห้ามการเติบโตของ Grab ได้แล้ว และเมื่อเข้ามาเครือข่ายผู้ขับขี่รถยนต์รถจักรยานยนต์ต่างเข้าร่วมกับ Grab เป็นจำนวนมาก
การแบ่งส่วนแบ่งการตลาดออกมาต้องใช้ทั้งพลังและงบประมาณที่สูงมาก แต่หากปล่อยให้ Grab โตต่อไปก็อาจจะถูกขยายมาในอินโดนีเซียในไม่ช้า เพราะ Grab วันนี้ไม่ใช่อย่างเมื่อวันก่อนแล้ว
การขยายธุรกิจออกนอกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ Grab ขยายกิจการเข้าไปแล้ว จึงเป็นการวางหมากที่ผิดของ Gojek ที่ไม่ได้สนใจในการเติบโตของ Grab แต่ทีแรก จนปัจจุบันขนาดของธุรกิจของทั้งคู่แทบไม่ต่างกันเลย
นี่จึงเป็นเหตุผลให้ Grab เติบโตขึ้นมาได้
แต่ทั้งคู่อาจจะต้องพบกับปัญหาใหญ่ที่จะเดินต่อไปก็ต้องแบกภาระหนัก จะหยุดก็จะเสียฐานลูกค้าให้คู่แข่ง นั่นคือธุรกิจการส่งอาหารถึงที่พักหรือ Food Delivery ที่ไม่ว่าใครเข้ามาทำต่างก็ต้องกลืนเลือดกันทั้งนั้น เคยได้ยินมาว่าทุกการส่งอาหาร 1 เที่ยว ผู้ให้บริการขาดทุนประมาณ 1 เหรียญสหรัฐ
ที่มา Tonkit360 .com
ช่วงเวลานี้เราจึงไม่เห็นการออกมาห้ำหั่นแข่งขันในเรื่องการส่งอาหารมากนัก และในอนาคตหากยังต้องมีต่อยังไงก็ต้องมีการขึ้นค่าบริการอย่างแน่นอน กับค่า GP ที่สูงอยู่แล้วในปัจจุบัน ในอนาคตจะสูงขึ้นอีก ผนวกกับราคาวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ราคาอาหารต่อไปคงไม่ใช่เท่าปัจจุบันแล้วมีโอกาสราคาสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 2 เท่า แล้วเมื่อวันนั้นมาถึงเราคงจะเห็นการลดลงของธุรกิจการส่งอาหาร และจะมีธุรกิจใหม่มาแทน เรื่องนี้ขอยืนยันว่ากำลังมีผู้ทำเรื่องนี้อยู่ซึ่งเขารอจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วจะมีการนำระบบใหม่เข้ามาใช้
 
อ้างอิง
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา