Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THOUGHTFUL Thailand
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2022 เวลา 05:53 • ธุรกิจ
Creator และ Influencer ต้องเสียภาษียังไง? ใครที่ยังมึนงง สงสัย ตามมาดูบทความนี้กันได้เลยค่ะ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า 'YouTube Creator และ Influencer' กลายมาเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ และเกิดความนิยมมากขึ้น จนกลายมาเป็นงานที่เกิดรายได้เลี้ยงชีพได้จริงๆ
เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้จะมาจากอะไร ถ้ารายได้นั้นไม่ได้รับการยกเว้นภาษี "ทุกคนก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีค่ะ" ไม่ว่าจะเป็น Creator หรือ Influencer เต็มตัว แบบ Full Time หรือทำเป็นงานอดิเรก ก็ต้องนำรายได้ทั้งหมดที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้เช่นกัน
หลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้ามีรายได้รวมทั้งปีจำนวนไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี บอกเลยว่า "เข้าใจผิดอย่างแรง" เลยค่ะ
.
เพราะว่าในกรณีที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีประจำปีอยู่นะคะ แต่จะได้รับ "การยกเว้นภาษี" พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง
ดังนั้นเราจะพามาดูว่าเหล่า Creator และ Influencer จะมีวิธีคำนวณภาษียังไง? และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอะไรบ้าง? ใครที่ยังไม่เข้าใจ ตามมาดูกันเลยค่า
รายได้ของ Creator และ Influencer มาจากที่ไหน?
งานของ Creator และ Influencer ถือเป็นรายได้ตามมาตรา 40 มาดูกันว่ารายได้ที่ได้รับมาจากช่องทางไหนบ้าง
เงินได้ประเภท 40 (2)
- รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า
- การรับจ้างโปรโมตสินค้า หรือโปรโมตแบรนด์ให้กับผู้อื่น
- การรับจ้างทำคอนเทนต์ให้กับแบรนด์หรือบริษัทต่าง ๆ
- รายได้จากการทำ Affiliate Marketing
- ค่าคอมมิชชั่นจากการแนะนำสินค้า โดยการโปรโมตสินค้าผ่านลิงก์
- รายได้จากการออกอีเวนต์/โชว์ตัว/พรีเซ็นเตอร์
เงินได้ประเภท 40 (8)
- รายได้จากการขายสินค้าแบรนด์ของตัวเอง
- รายได้จากการรับสินค้าราคาส่งจากร้านอื่นมาขายปลีกในร้านตัวเอง
- รายได้จากของขวัญที่ได้รับจากการไลฟ์สด
- รายได้จากการรับโดเนตในแพลตฟอร์มต่าง ๆ
- รายได้จากการับค่าสมาชิก YouTube Subscription รายได้จากการเปิดรับบริจาค
- เงินค่าสนับสนุนการทำคอนเทนต์จากผู้ติดตาม
- รายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณา :
รายได้จาก Google AdSense, YouTube AdSense
- รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้าที่มีการลงทุนทางด้านเครื่องมือเครื่องใช้/มีลูกจ้าง/มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายมาก
- รายได้จากการออกอีเวนต์/โชว์ตัว/พรีเซ็นเตอร์ ที่มีการลงทุนทางด้านเครื่องมือเครื่องใช้/มีลูกจ้าง/มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายมาก
ในการคำนวณภาษีนั้น จะให้หักค่าใช้จ่ายได้ โดยที่เงินได้แต่ละประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน ดังนั้น จึงต้องพิจารณาให้ดีว่ามีรายได้มาจากอะไรบ้าง เพื่อให้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง
สำหรับวิธีการคำนวณภาษี สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 วิธีใช้คู่กัน เพื่อใช้เปรียบเทียบแล้วเสียภาษีตามวิธีที่ "คำนวณได้มากกว่า"
วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจาก ‘เงินได้สุทธิ’
สูตรคือ จำนวนภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ คือ เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน จะเท่ากับ เงินได้สุทธิ
ส่วนอัตราเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษี สามารถดูตามตารางในภาพด้านล่างได้เลยค่ะ แอดมินได้สรุปแบ่งตามช่วงแบบคร่าว ๆ มาให้แล้ว
วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจาก ‘เงินได้พึงประเมิน’*
สูตรคือ จำนวนภาษี* = เงินได้พึงประเมิน** x 0.5%
*จำนวนภาษี คือ กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1 อยู่นะคะ
**เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้ประเภทที่ 2 - 8 ตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป
โดยหลัก ๆ แล้วรายได้แต่ละประเภทจะมีด้วยกันอยู่ 4 ช่องทาง ดังนี้
1. รายได้จากการโฆษณา Google AdSense และส่วนแบ่งรายได้โฆษณา ซึ่งรายได้ตรงนี้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 40( 8 ) ที่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง
2. รายได้จากการจ้างเขียน รีวิวสินและบริการ , Advertorial, Sponsored Post รวมถึงจ้างผลิตวิดีโอ ซึ่งรายได้ตรงนี้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 8 ก็ได้ โดยคิดจากการลงทุนลงแรง เช่น ทำงานโดยใช้แรงงานตัวเอง รับค่าจ้างปกติปกติจะคิดเป็นเงินได้ 40( 2 ) ที่ต้องหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ถ้าทำแบบมีโปรดักชั่น ต้องจ้างคน มีการซื้อเครื่องมือ เครื่องใช้ต้นทุนสูงก็จะคิดแบบเงินได้ 40( 8 ) ที่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง
3. รายได้จากการออก Event โชว์ตัว รายได้ตรงนี้จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 40( 2 ) ที่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่ถ้า Creator หรือ Influencer กลายเป็นนักแสดงสาธารณะ หรือเป็นนักแสดงละคร แสดงหนัง เป็นนักร้อง นักดนตรี ก็จะกลายเป็นเงินได้ 40( 8 ) ที่ต้องหักแบบเหมา 40-60% ไม่เกิน 600,000 บาท หรือหักตามจริง
4. รายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ ทั้งในแบบที่ผลิตเอง และแบบซื้อมาขายไป จะคิดเป็นเงินได้ประเภทที่ 40( 8 ) ที่ต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง แยกเป็น หากสินค้าผลิตเองต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริง ส่วนแบบซื้อมา-ขายไป ต้องหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ค่ะ
โดย Creator หรือ Influencer ที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง แบบที่ต้องใช้ยื่น คือ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด. 90 ของปีถัดไปค่ะ
1. ภ.ง.ด.94 คือ แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ที่มีรายได้จาก Google AdSense หรือส่วนแบ่งโฆษณา และการขายสินค้าออนไลน์ ถือเป็นเงินได้ประเภท 40( 8 ) ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้ประเภทดังกล่าว มีหน้าที่ยื่นภาษีกลางปีด้วย โดยนำรายได้ค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน ของปีภาษี มาคำนวณในการยื่นแบบดังกล่าว โดยยื่นเสียภาษีผ่านทางเว็บไซต์
www.rd.go.th
โดยมีกำหนดระยะเวลาในการยื่นออนไลน์ได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม ของปีที่มีเงินได้
2. ภ.ง.ด.90 คือ คือ แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี โดยนำเงินได้ที่รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีภาษี ไปยื่นแบบภาษีในปีถัดไป โดยมีกำหนดระยะเวลาในการยื่นแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์
www.rd.go.th
ได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2568
📑 สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นแบบภาษี ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ก็คือ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก นั่นเองค่ะ
2. จัดทำรายงานเงินสดรับจ่าย และเก็บเอกสาร หลักฐาน
เกี่ยวกับรายได้ รายจ่ายไว้ด้วยนะคะ
ทั้งนี้ สามารถนำภาษีที่ได้เสียไว้จากการเสียภาษีครึ่งปี มาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียประจำปีได้
ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยื่นภาษีอะไรบ้าง?
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบละ 2 ครั้ง
ได้แก่ ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภาษีแบบครึ่งปี และ ภ.ง.ด. 50 ภาษีแบบประจำปี
📑 สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นแบบภาษี ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก (ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้)
2. จัดทำบัญชี ตามมาตรฐานบัญชี
ในกรณีที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือให้บริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการจด VAT เรียบร้อยแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง? ถ้ายังไม่รู้ สามารถดูตามแผนผังในภาพด้านล่างที่เราได้ทำไว้ให้ได้เลยค่ะ
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้ทั้ง Creator และ Influencer ทุกๆ ท่านวางแผนการจ่ายภาษีได้ง่ายขึ้นนะคะ
ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร, TaxBugnoms
contentcreator
marketing
ภาษี
บันทึก
1
18
1
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย