2 ก.พ. 2022 เวลา 06:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป ออมเร็วรวยเร็วฉบับมนุษย์เงินเดือน
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณบลูเบอรี่บาร์นนี่ ผมซื้อมาในราคาลดที่ 10 บาท แต่เนื้อหาข้างในนั้นผมประเมินว่ามีมูลค่าหลักแสน จึงนำมาสรุปให้คุณผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหากัน ตัวเนื้อหาบางส่วนอาจจะเก่าไปตามกาลเวลา แต่ใจความหลักของการ “ออม” นั้นไม่มีวันเก่าเลย…
เริ่มกันเลยนะครับ!!!
เก็บเงินไปทำไม???
ก็เพื่อความมั่นคงในยามที่ต้องเปลี่ยนงาน ยามตกงาน หรือวิกฤตอื่น
รายได้หลักของมนุษย์เงินเดือนก็คือ “เงินเดือน” ซึ่งจะต้องนำมาใช้จ่าย โดยที่ค่าใช้จ่ายแบ่งได้หลักๆ 4 ประเภท
1. ค่าใช้จ่ายคงที่ เช่นค่ารถ ค่าที่พัก
2. ค่าอาหาร
3. เงินออม
4. ค่าจิปาถะ
ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะมุ่งไปที่ประเด็นหลักที่เงินออม สำหรับคนที่ไม่ค่อยมี หรือเงินเดือนไม่พอใช้ ก็ต้องใช้ความพยายาม และความตั้งใจมากสักหน่อย แต่ก็เป็นไปได้ ประเด็นอยู่ที่ว่าควรมีความพอดี ไม่ลำบาก หรือ สบายจนเกินไป เพราะถ้าลำบากไปเราจะทำไม่ได้นาน และถ้าสบายเกินไป เราก็จะลำบากในอนาคต เช่น การประหยัดการใช้ไฟฟ้า การใช้รถสาธารณะแทนรถส่วนตัว ค่าใช้จ่ายบางอย่างอย่าคิดว่าไม่กี่ร้อย เพราะถ้าต้องจ่ายทุกเดือน ปีหนึ่งก็เป็นหลักพัน ซึ่งเงินหลักพันนั้นก็ถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ใช้จ่ายอย่างมีสติ การซื้อหรือใช้จ่ายไม่ใช่สิ่งผิด แต่”การซื้อโดยไม่คิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ”
🔘อย่าหลงไปกับของแบรนด์เนม ยังมีสินค้าอื่นที่ใช้ได้เหมือนกันแต่ราคาถูกกว่ามาก
🍱รับประทานของมีประโยชน์ซึ่งไม่จำเป็นต้องแพงก็ได้
🚀การประหยัดอดออม”ไม่ได้แปลว่า ต้องอด”
เราสามารถกินมื้อหรูได้
สามารถไปเที่ยวได้
แต่ ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าจะกินหรือเที่ยวเดือนละกี่ครั้ง และจะดีมากกว่าถ้าเราหาจนเจอโปรโมชั่นเด็ด 😍
🧐อย่าไปอิจฉาคนบนโลกโซเชี่ยล ชีวิตดี้ดีที่เราเห็นอาจจะเป็นความจอมปลอมก็ได้
😍ชีวิตดี้ดีของเราที่แท้จริง คือใช้ชีวิตของเราให้ดีที่สุดก็พอ
เทคนิคการออม
1. ตั้งเป้าหมายการออมให้ชัดเจน ว่าทำเพื่ออะไร และจำนวนเท่าไหร่ เพราะการทำอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่มีเป้าหมายย่อมไม่มีทางสำเร็จ
2. กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนด้วย เช่น เก็บเงิน 20,000 ให้ได้ภายใน 3 เดือน เป็นต้น
3. ชวนเพื่อนมาร่วมออม จะทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้นและไม่ออกนอกลู่นอกทาง และยังมีส่วนช่วยในด้านอื่นอีกเช่น ซื้อของ หรือขนมในช่วงโปรโมชั่นแล้วนำมาแบ่งกัน การเดินทาง หรือไปเที่ยวด้วยกัน
4. ตัดสิ่งที่ไม่สำคัญ 1 สิ่งออกจากชีวิต และไม่ใช้เหรียญ (รวบรวมฝากธนาคารตอนสิ้นปี)
5. จ่ายเงินเท่าไหร่ เก็บเท่านั้น (อันนี้ถ้าทำได้เด็ดมากๆ)
6. โบกมือให้กับรายจ่ายไร้สาระ รายจ่ายไร้สาระของแต่ละคนไม่เหมือนกันดังนั้นเราจึงต้องประเมินเอง แต่ตัวอย่างที่พอจะเข้าใจง่ายๆ เช่น เคสมือถือแฟชั่น ของประดับเล็กๆน้อยที่แม้มันหายไปเราก็ไม่รู้
7. วางกระป๋องค่าผ่านทางในบ้าน เช่น เปิดทีวีหรือแอร์ครั้งละ 5 บาท เป็นต้น
8. ยกเลิก ATM เพราะจะได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ
การจัดการภาษีสังคม เช่น กินเลี้ยง หรือซื้อของขวัญ
พยายามทำที่จำเป็น และใช้ความจริงใจเข้าสู้ ปฏิเสธอย่างมีเหตุผล เช่น ไม่มีเพราะเก็บเงินเพื่ออนาคตอยู่ เป็นต้น
😎ออม ไม่ใช่ อด😎
ทำอย่างมีสติและความเหมาะสม
🥳วิธีรับมือกับรายจ่ายที่มากกว่ารายรับ🥳
มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ขายของที่ไม่ใช้ เอาจำนวนเงินที่มีหารด้วยจำนวนวันที่เหลือในเดือนนั้น, การใช้รถสาธารณะ, การลดกาแฟที่แพงกว่าข้าวที่เรากินเป็นกาแฟที่รสชาติดีแต่ราคาย่อมเยาหรือแม้แต่ชมดื่มเอง (ลองนึกว่าเราดื่มกาแฟเพื่ออะไร เพื่อความหรูหรา หรือเพราะต้องการตื่น เสมือน เครื่องนุ่งห่มแท้จริงแล้วเพื่อปกปิดและปกป้องร่างกาย ส่วนความสวยงามและความหรูหรานั้นเป็นประเด็นรอง เราต้องพิจารณาว่าเรามีของสิ่งนั้นเพื่ออะไร)
😎การรับมือข้าวกลางวันด้วยการซื้อสำเร็จหรือทำกินเอง แทนที่การไปกินร้านข้างนอกก็ช่วยได้มาก
🥸ลดการใช้อินเตอร์เนตจากโลกโซเชียล เพราะสิ่งโลกโซเชียลให้ไม่ได้คือเพื่อนใหม่ในชีวิตจริง
😳ลดเวลาการเปิดแอร์ปิดเปิดเป็นเวลา ตั้งเวลาเปิดปิด เช่นปิดก่อนตื่น ครึ่งชั่วโมงเป็นต้น
ลดใช้บัตรเอทีเอ็มหรือเครดิต
ลดความต้องการ หักห้ามใจ เช่น เสื้อผ้าหรือมือถือ แทนที่จะซื้อรุ่นใหม่ล่าสุด ก็รอเวลาสักนิด เพราะยังใช้ได้เหมือนกัน แต่ราคาถูกว่ามาก
😍ซื้อเมื่อจำเป็น อย่าคิดว่ายังไงก็ต้องใช้อยู่ดี อย่าซื้อขยะเข้าบ้าน ใช้แล้วค่อยซื้อ
🤩การเลิกซื้อไม่ได้เท่ากับประหยัด การทบทวนก่อนซื้อต่างหากที่เท่ากับประหยัด
😚เลือกใช้ของรีฟิล
😚ซื้อของที่คุ้มค่ามากกว่าความฉาบฉวย
😌จดรายรับรายจ่าย ช่วยได้มากจริงๆ เพราะเราจะรู้และสามารถตัดสิ่งของไม่จำเป็นออกไปได้
🤩สามารถมีแบรนด์เนม หรือไปเที่ยวได้ เพียงเราต้องคิดและหาหาทางให้ได้มาด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด เช่น โปรโมชั่น เป็นต้น
🏦ต่อยอดเงิน
หลังจากได้เก็บสะสมเงินออมแล้วเราสามารถแบ่งออกเป็น 30:70 โดยเก็บ 30 ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน และ 70 นำไปลงทุน
👨‍💻ไม่เลือกงานไม่ยากจน
ลองค้นหาตัวเองดูว่าเรามีความสามารถอะไรบ้างที่สามารถรับจ้างทำฟรีแลนซ์ได้ เช่น ถ่ายรูป ติวเตอร์ ไอที ศิลปะ กราฟฟิก ภาษา งานฝีมือ ดนตรี บลาๆ
⭕️นำของที่มีมาขายมือสองผ่านออนไลน์ เช่น tarad.com หรือ lnwshop.com เป็นต้น
🧸หาของกระจุกกระจิกมาขายทางอินเตอร์เนต
🧩ลงทุนซื้อประสบการณ์ให้ตัวเอง พัฒนาทักษะด้านต่างๆ
ส่งท้าย
ทำทุกอย่างให้พอดี ไม่แน่น ไม่หลวม เงินไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต แต่มีก็ดีกว่าไม่มีอยู่ดี ใช้ชีวิตให้มีคุณค่า ถ้าถามว่าต้องออมไปถึงเมื่อไหร่ก็คงเป็นคำถามที่ตอบยากพอๆกับว่าจะตายเมื่อไหร่ เอาเป็นว่าง่ายๆก็ควรออมตลอดชีวิตถ้าเรายังมีไม่เท่าที่เราวางแผนไว้
🐸ออมเงินอย่างมีความสุขนะครับ🐸
โฆษณา