Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Simple Blog
•
ติดตาม
2 ก.พ. 2022 เวลา 13:56 • ไลฟ์สไตล์
ทฤษฎีความรัก 7 รูปแบบ
ความสัมพันธ์ของคุณเป็นแบบไหน ?
1
เข้าสู่เดือนแห่งความรัก เพจขอลงบทความให้เข้ากับบรรยากาศสักหน่อย ใครเคยบอกผู้เขียนนะว่าความรักไม่มีทฤษฎี
เพราะความสัมพันธ์ของคู่รักแต่ละคู่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยาจึงสนใจศึกษาในความต่างนั้น เกิดเป็น "ทฤษฎีแห่งความรัก" โดยแบ่งลักษณะความรักออกเป็น 7 รูปแบบ
4
2
(pic: Piqsels)
ทฤษฎีแห่งความรัก
3
แบ่งความรักเป็น 7 รูปแบบ
1. ความชอบ (Liking)
คู่ที่เริ่มต้นจากความชอบ เป็นความรู้สึกที่เป็นตัวของตัวเอง ทั้งคู่จะมีความสนใจและมีมุมมองของชีวิตคล้ายๆกัน และมักจะมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี
นักจิตวิทยามีความเห็นว่า คู่รักที่มีเพียงความชอบแต่ไม่มีความหลงใหล สุดท้ายมักจบความสัมพันธ์ลงกลายเป็นเพื่อนมากกว่า
4
2
2. ความเสน่หา (Infatuation)
คู่ที่ไม่ได้รู้จักซึ่งกันและกันมาก่อน แต่ถูกดึงดูดเข้าหากันด้วยแรงปรารถนา แม้จะเจอกันเพียงชั่วครู่ ก็สามารถตกลงคบหากันโดยไม่ต้องมีเหตุผลใดๆ
นักจิตวิทยาให้ความเห็นว่าเกิดจากความหลงใหล เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วและหายไปได้รวดเร็วเช่นกัน
4
2
3. รักที่ว่างเปล่า (Empty Love)
คู่ที่อยู่ด้วยกันด้วยความจำเป็นในเรื่องของอนาคต เช่น เกิดจากการจับคู่เพราะความเหมาะสมทางฐานะ ไม่มีความใกล้ชิดกันมาก่อน ก็อาจจะชอบพอกันได้ด้วยเหตุผลต่างๆ
แต่หากอยู่ด้วยกันโดยไม่มีความหลงใหล เพิ่มความหวานชื่น ความรักก็จะจืดชืดลง
4
2
4. รักร้อนแรง (Fatuous Love)
4
1
คู่รักที่เกิดจาก ส่วนผสมระหว่างความเสน่หา และ การผูกมัดกันด้วยพันธะ ประเพณี หรือกฎหมาย คู่ที่ดึงดูดกันด้วยแรงปรารถนามากมายจนอยากผูกมัดกันไว้ให้เร็วที่สุด หรือที่เรียกว่า แต่งงานแบบสายฟ้าแลบ นั่นเอง
ความรักรูปแบบนี้จะไม่ค่อยได้เรียนรู้นิสัยของกันและกันมาก่อน ซึ่งอาจต้องปรับตัวกันค่อนข้างมากเมื่อต้องอยู่ด้วยกันจริงๆ
1
5. รักสุดหวาน (Romantic Love)
4
เป็นคู่รักที่มี ความหลงใหล และ ความผูกพันใกล้ชิด เกิดได้ทั้งหลงใหลแล้วมาใกล้ชิด หรือ ใกล้ชิดแล้วเปลี่ยนเป็นความหลงใหล
แต่รักที่เกิดจากความใกล้ชิดผูกพัน มักข้ามมาเป็นความรักที่อยู่ด้วยกันไม่ได้
6. รักแบบเห็นอกเห็นใจ (Companionate)
5
6
คู่รักที่มีความผูกพันใกล้ชิด และ พันธะสัญญาที่จะอยู่ด้วยกัน เป็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนมากกว่ามิตรภาพ
รักรูปแบบนี้ไม่ได้มีความหลงใหลผสมอยู่ แต่จะค่อยๆคบหาเพื่ออยากจะสร้างครอบครัวด้วยกัน
2
7. รักสมบูรณ์แบบ (Consummate Love)
4
คู่รักที่ผสมผสานกันทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ความผูกพันใกล้ชิด ความปรารถนาหลงใหล และพันธะสัญญาที่อยากจะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในอนาคต
โดยองค์ประกอบทั้งสามไม่จำเป็นต้องมีสัดส่วนเท่ากัน อาจมีบางสิ่งมากน้อยต่างกันแต่ต้องมีครบทุกอย่าง
นักจิตวิทยาระบุว่า รักสมบูรณ์แบบเป็นความรักที่หายากที่สุด มีน้อยกว่า 6 ข้อที่กล่าวมา
2
2
Sternberg's Triangular Theory and the 7 Types of Love
ความรักจากองค์ประกอบ 3 อย่าง
- ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy)
- ความปรารถนาหลงใหล (Passion)
- พันธะสัญญาทางใจ (Commitment)
(pic: en.wikipedia)
อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ความรักที่สมบูรณ์แบบไม่ใช่สิ่งที่ตัดสินว่าเป็นความรักที่ดีที่สุด หรือเป็นความรักที่เหมาะกับคู่รักทุกคู่
4
ข้อมูลอ้างอิง
-
https://goodlifeupdate.com/lifestyle/123356.html
-
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Triangular_theory_of_love
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
02.02.22
บทความ
จิตวิทยา
ความรัก
6 บันทึก
38
63
37
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
• วิจัยบอกมา •
6
38
63
37
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย