3 ก.พ. 2022 เวลา 07:02 • ข่าว
เปิดภาพโรงงานผลิตไส้กรอกพิษ สุดเขรอะ ใส่ส่วนผสมแบบกะเอาเอง
1
เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย บุกโรงงานผลิตไส้กรอกพิษที่ชลบุรี พบสุดเขรอะ ไม่ผ่านเกณฑ์ GMP เจ้าของรับใส่ส่วนผสมแบบกะเอาเอง อ้างหลังมีข่าวเด็กป่วย หยุดการผลิตทันที
1
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับการประสานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
กรณีพบผู้บริโภค ซึ่งเป็นเด็กหลายราย เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากการรับประทานไส้กรอกและเกิดภาวะ methemoglobinemia (เมธฮีโมโกลบินนีเมีย) จึงประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ สระบุรี เพชรบุรี และตรัง สืบทราบแหล่งจำหน่ายและขยายผลทำการสืบสวนจนทราบแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
1
ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ร่วมกับ อย.และ สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.ชลบุรี จากการตรวจค้นพบ นางสาวเอ (นามสมมติ) แสดงตนเป็นเจ้าของกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ
โดยรับว่าทำการผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่อย่างใด และฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหลายรายการ ตรงกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้ข้อมูลจากผู้ป่วยว่าบริโภคแล้วเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว
3
โดยฉลากดังกล่าวไม่แสดงเลขสารบบอาหาร และเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จากการตรวจสอบสถานที่ผลิตแห่งนี้ตามหลักเกณฑ์ GMP ที่กฎหมายกำหนด พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์
และพบข้อบกพร่อง ได้แก่ ไม่มีการควบคุมการผลิต ในกรณีที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อย่างเหมาะสม อีกทั้งขั้นตอนการผลิตไม่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ทั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หากพบสารต้องห้ามในอาหาร จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 ฐาน "ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์" ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นอาหารปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
1
จึงตรวจยึดของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฝ่าฝืนมาตรา 6(7) สถานที่ผลิตอาหารไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP) โทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และฝ่าฝืนมาตรา 6(10) ผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
1
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น ทางโรงงานอ้างว่า หลังเกิดเป็นข่าวว่า มีเด็กป่วยเข้าโรงพยาบาล หลังได้กินไส้กรอก ก็ได้หยุดการผลิตแล้ว และไม่ได้มีการซัดทอดว่ามีแหล่งผลิตอื่นๆ อีกหรือไม่
ส่วนกรณีมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เนื่องจากพบปริมาณไนไตรท์เกินมาตรฐานนั้น ทางเจ้าของโรงงานยอมรับว่า ในการผลิตพนักงานจะตักไนไตรท์ โดยการกะเกณฑ์คร่าวๆ ไม่ได้มีการชั่ง ตวง หรือวัดตามมาตรฐาน ซึ่งอาจทำให้ปริมาณไนไตรท์เกินค่าความปลอดภัย.
โฆษณา