4 ก.พ. 2022 เวลา 09:35 • ดนตรี เพลง
ไม่แน่ใจว่า การรวมวงเกี่ยวหรือไม่ แต่ทอด และถอนในการบรรเลงดนตรีไทย มีความหมายตามนี้
ทอดหมายถึง การผ่อนจังหวะให้ช้าลง เพื่อจะจบท่อนหรือจบเพลงได้อย่างไพเราะ หรือเพื่อให้สะดวกแก่การที่คนร้องจะร้องท่อนต่อไป ซึ่งในกรณีหลังนี้เรียกว่า “ทอดให้ร้อง” ส่วนในกรณีแรกนั้น เรียกว่า “ทอดลง” อีกกรณีหนึ่งหมายถึงการแทรกทำนองเอื้อนตามที่กำหนดเข้าไปกับเพลงร่าย เพื่อจะหยุดร้อง ให้ตัวละครเจรจากัน
ถอน การ “ถอน” เกิดขึ้นเมื่อต้องการจะลดจังหวะเท่าตัวจาก 3 ชั้นลงมาเป็น 2 ชั้น หรือจาก 2 ชั้น ลงมาเป็นชั้นเดียว (ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะใช้ลดจาก 2 ชั้นลงมาเป็นชั้นเดียวแทบทั้งสิ้น)
วิธีการคือเร่งจังหวะเพลงในชั้นที่กำลังบรรเลงให้เร็วขึ้น จนกระทั่งฉิ่งตีเร็วใกล้เข้าไปกับชั้นที่ต้องการลดจึงหักจังหวะลงเท่าตัวแล้วบรรเลงในชั้นที่ลดต่อไปด้วยจังหวะฉิ่งอันเดิม เช่น ถ้ากำลังบรรเลง “เพลงเชิด 2 ชั้น” อยู่และต้องการจะ “ถอน” ลงชั้นเดียว ผู้บรรเลงก็จะเร่งจังหวะ 2 ชั้น โดยเก็บให้ถี่ยิบขึ้น จนกระทั่งฉิ่งที่ตี 2 ชั้นอยู่นั้น เร่งจังหวะเร็วใกล้เข้าไปเกือบถึงชั้นเดียวจึงหักจังหวะลงเท่าตัว แล้วบรรเลงเพลง “เชิดชั้นเดียว” ต่อไปด้วยจังหวะฉิ่งที่กำลังเดินอยู่นั้น (จากศัพท์สังคีต)
หากเคยเล่นในวง ก็จะพอนึกออก แต่อธิบายไม่ถูก รู้แต่ว่าสนุกเลย ตอนนี้
โฆษณา