4 ก.พ. 2022 เวลา 13:10 • ธุรกิจ
ทางออกคนที่โดนพวกโอนผิดมาวุ่นวาย
สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี
เห็นถามมากันเยอะเลยจะมาเล่าให้ฟัง
.
เนื่องจากกฎหมายหลายครั้งได้มีการกำหนดให้มีการใช้หนี้
ซึ่งการใช้หนี้โดยทั่วไปก็คือการเอาทรัพย์สินไปให้แก่
"เจ้าหนี้"
.
แต่ก็มีหลายครั้งที่เจ้าหนี้"กวนตีน" ไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยเหตุผลต่างๆ แต่กฎหมายกำหนดไว้ 6 แบบ
1.เจ้าหนี้ปัดไม่รับชำระ
2.เจ้าหนี้ไม่สามารถรับชำระ
3.ไม่รู้สิทธิ หรือตัวเจ้าหนี้
4.ตามกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บางมาตรา
5.ตามวิแพ่ง 264
6.ตามกฎหมายอื่น
.
พอวางเสร็จ ก็จะถือว่าเราได้รับชำระหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และทางสำนักวางทรัพย์ก็จะส่งหนังสือไปหาเจ้าหนี้เพื่อให้มารับเงิน
.
ในกรณีที่เพื่อนๆ สนใจคือการโอนเงินผิดบัญชี
มันมีปัญหาเรื่องนึงคือ เป็นเรื่องที่ปวดหัวมากในการตรวจสอบว่าไอ้บัญชีที่โอนผิดมานั้นเป็นใคร
.
ไอ้ที่โทรมาบอกว่าเป็น เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือตำรวจแม่งก็ไม่รู้จริงๆหรือเปล่า
ถ้าไม่โอนเงินคือนเขาก็จะโดนข้อหายักยอกทรัพย์เปล่าๆ เวรกรรม
.
ดังนั้นเมื่อมองในมุมมองของกฎหมาย
ไม่ว่าเงินฝากนั้นจะอยู่ในบัญชีของใคร เงินที่อยู่ในบัญชีคือ "เงินของธนาคาร"
.
ดังนั้นการที่เราเบิกเงินที่ไม่ใช่ของเราออกมาจากบัญชีย่อมถือได้ว่าเราเอาเงินของ"ธนาคาร"
ไม่ใช่ของบัญชีที่โอนผิด(แนวฎีกา2135/2539)
.
ดังนั้นการคืนเงินต้องคืนให้ธนาคาร
แต่จะคืนยังไงละ เดินไปคืนให้ที่เคาเตอร์ธนาคาร เจ้าหน้าที่ก็คงงงออกเอกสารให้ไม่ถูก
.
ความบ้าบอเลยมาตกที่สำนักงานวางทรัพย์ ที่เราสามารถนำทรัพย์ดังกล่าวมาวางเพื่อคืนแก่ธนาคารได้
โดยที่เราต้องเป็นผู้ค่านำหมาย(ถือว่าฟาดเคราะห์ไป)
.
ส่วนธนาคารเมื่อได้รับเอกสารก็จะส่งคนมารับเงินที่สำกนังงานวางทรัพย์ใกล้ๆ
ซึ่งกระบวนการแม้ไม่วุ่นวาย แต่การมอบอำนาจระดับ มหาชนก็คงไม่ง่ายเท่าไหร่
(ไอ้คนทำเรื่องโดนด่าแน่นอน)
.
มันก็จะทำให้เราหลุดจากปัญหาเรื่องยักยอกทรัพย์ และโยนปัญหาให้ไอ้คนโอนผิดไปตามจากธนาคารเอาเอง
.
-จบ-
โฆษณา