5 ก.พ. 2022 เวลา 01:30 • หนังสือ
เรียกว่าเป็นแม่บทของ Principles เลยสำคัญเหนืออื่นใด คือ ชื่นชมภรรยาก่อนเข้าเนื้อหา
“To Barbara, the half of me who has made me whole for more than 40 years”
กระชับ กินใจ
Ray Dalio วางเนื้อหาได้เข้าใจง่าย แบ่งเป็น 3 ตอนหลัก
1. Where I am coming from ตั้งแต่เด็กที่เกลียดโรงเรียน เกรดต่ำ จนจบ Harvard Business School และเปิดบริษัทจนสำเร็จถึงทุกวันนี้
2. Life Principles
3. Work Principles
Ray บอกว่าเค้าอยู่ในขั้นที่สำเร็จมากจนไม่ต้องการความสำเร็จอะไรมากกว่านี้แล้ว แต่อยากช่วยให้คนอื่นๆสำเร็จบ้าง (ไพเราะมากประโยคนี้ จำไว้ใช้บ้าง)
Ray ตั้งใจอยากแบ่งปัน หลักการ (ที่เค้าได้ลองผิดลองถูกมาเยอะแล้ว) เค้าเชื่อว่ามัน work สำหรับเค้า และก็เชื่อว่ามันจะสร้างพลังให้คนอ่านได้ไปลองใช้ดูอาจไม่ work ทุกข้อกับแต่ละคนแต่ในที่สุด แต่ละคนเมื่อลองแล้วก็จะมีหลักการของตัวเอง
Ray เขียนถึงหลักการมากมายหลายข้อ ซึ่งส่วนใหญ่ คนทำงาน หรือ นักพัฒนาตัวเอง ก็จะคุ้นเคยทุกข้อ
ลองเล่าหลักการที่ Ray สอนบ้าง
(บางข้อที่ชอบ)
- จากคนหยิ่งยโส เก่งที่สุดในจักรวาล เมื่อเจอเหตุการณ์บางอย่างทำให้ Ray เปลี่ยน mindset จาก “I am right” มาเป็น “How do I know I am right” คนยิ่งตำแหน่งสูงยิ่งเสพติดความสำเร็จแบบเดิมๆ
- Ray เชื่อว่า No pain no gain ไม่มีพรมแดงโรยกลีบกุหลาบสำหรับความสำเร็จใดๆ
- Ray เลยบอกว่า Pain + (Quality) Reflection = Progress (Ray เป็นคนนั่งสมาธิทุกวัน)
- แต่ละคนมีจุดอ่อน คนส่วนใหญ่มักไม่ยอมรับจุดอ่อนตัวเองเลยคิดว่าไม่มีจุดอ่อน ก็ไม่ทำอะไร ดีขึ้นมาหน่อยคือ ยอมรับว่ามีจุดอ่อน แต่จะเปลี่ยนมันให้เป็นจุดแข็งเลย (ทำมากได้น้อย) ดีขึ้นมาอีกคือ เรียนรู้ที่จะอยู่กับจุดอ่อนได้ ดีที่สุดคือเลือกเส้นทางชีวิตที่มันไกลจากจุดอ่อนนั้น เส้นทางที่มันอยู่กับจุดแข็งของเรา
- น่ากลัวที่สุด คือ ego barrier เพราะมันปิดตาเราให้ไม่เห็น mistake, weakness และที่น่ากลัวอีกอย่างคือ blind spot กระบวนทัศน์ของเราเองที่ทำให้ไม่เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง เรียก 2 อย่างรวมๆกันตามภาษาพระคือ มีโมหะ หรือความหลง นั้นเอง ต้องแก้โดยการภาวนา แก้ยากกว่า โลภะ โทสะ ต้องการความปราณีตทางจิตมากกว่า
- อย่าไป worry about appearing good แต่ให้ worry about achieving goal คนส่วนใหญ่ห่วงแต่กระพี้ ให้ดูดีไว้ก่อน แต่ Ray สอนให้เน้นที่แก่น
- ฝึกให้มี “thoughtful disagreement” เป็นคำที่เพราะดี แต่คนส่วนใหญ่ในสังคมดราม่าคือถ้ามี disagreement ต้องเลือกข้าง เม้าส์เอามัน ด่ากันไปมา politic ในบริษัท ทำให้สูญเสียโอกาสแห่งการเรียนรู้ Ray เชื่อว่า opportunity for learning ที่ดีมาจาก thoughtful disagreement
- ชอบมาก Ray พูดถึง คนที่ใจแคบ closed-mind people ว่าเลวร้ายหายนะยังไง เขียนยาวเลย แล้วก็สรรเสริญคนที่ใจกว้าง open-minded people ว่าชีวิตจะรุ่งโรจน์ชัชวาลอย่างไร ชอบๆ 🙂
- Ray ชื่นชมคนที่เรียกว่า Shaper = Visionary + Practical thinker + Determined รู้ว่าหายาก แต่ถ้าเจอแล้วต้องรักษาให้ดี Ray บอกว่ามี พวก shaper น้อยแล้วใส่ advanced technology (อาวุธ) ให้เค้า ดีกว่ามี ordinary people เยอะๆแล้วใช้อาวุธไม่เป็น
- Ray พูดถึงคนแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนชอบมองภาพใหญ่บางคนชอบลงรายละเอียด บางคน introvert บางคน extrovert บางคนชอบ plan บางคนชอบลุยเอาข้างหน้าเลย บางคนชอบวิเคราะห์เปรียนเทียบ บางคนติ๊สก็ชอบแบบนี้ไม่คิดมาก แต่ละตนแตกต่างกัน ก็เหมาะกับงานที่แตกต่างกัน
- Ray สอนว่า know WHO ว่าคนไหนต้องรับผิดชอบอะไร สำคัญกว่า WHAT คือรู้ว่าต้องทำอะไร แต่หาคนรับผิดชอบไม่มี
- ให้ตามหาคนที่ตั้งคำถามเก่งๆ good leaders ask great questions
- Don’t build orfanization to fit people อย่าสร้างองค์กรที่ประนีประนอมให้คนมีที่ลงตัวได้ แต่ให้เอาเป้าหมาย, execution เป็นหลัก แล้วค่อยไปหาคนที่เหมาะสมมาทำ คนข้างในไม่เหมาะก็หาคนนอกมาทำ
โดยสรุปคือ อ่านเล่มนี้แล้วเหมือนได้ทบทวน ตกผลึกทางความคิดมากมาย โดยไม่ต้องเจ็บปวด no pain but gain 😀
ขอบคุณพี่ Ray ที่สรุป Work & Life Principles ดีๆให้เราได้เรียนรู้กัน👍👍

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา