5 ก.พ. 2022 เวลา 01:32 • กีฬา
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน (Newton’s laws of motion) กับวิทยาศาสตร์การกีฬา
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เป็นกฎที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้น และการเคลื่อนที่อันเนื่องจากแรงเหล่านั้น โดยมีทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
กฎข้อที่1 กฎของความเฉื่อย (ΣF = 0)
เมื่อแรงลัพธ์ที่มากระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับศูนย์
- ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็จะยังคงอยู่นิ่งเหมือนเดิม
- ถ้าวัตถุเกิดการเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ความเร็วคงที่ หรือความเร่งจะเป็นศูนย์
ตัวอย่างกฎข้อที่ 1 กับวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น
- ลูกฟุตบอลจะยังคงอยู่นิ่งจนกว่ารองเท้าของนักฟุตบอล (แรงภายนอก) จะมากระทำต่อลูกฟุตบอล
- ร่างกายของนักฟุตบอลที่กำลังวิ่งอยู่จะต้องคงการวิ่งนั้นไว้จนกว่าแรงของกล้ามเนื้อจะเอาชนะความเฉื่อยของร่างกายได้
กฎข้อที่ 2 กฎของความเร่ง (ΣF = ma)
เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ จะทำให้วัตถุมีความเร่งในทิศทางเดียวกันกับแรงลัพธ์นั้น โดยความเร่งจะแปรผันตามแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ กล่าวคือ ถ้ามีแรงลัพธ์มากๆ มากระทำกับวัตถุ จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งมาก แต่ถ้าวัตถุมีน้ำหนักมาก จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งน้อย
ตัวอย่างกฎข้อที่ 2 กับวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น
- เมื่อรองเท้าของนักฟุตบอล (แรงภายนอก) จะมากระทำต่อลูกฟุตบอล จะทำให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่ด้วยความเร่งไปในทิศทางเดียวกับแรงที่ใช้ เพื่อไปยังประตูฟุตบอล
- ถ้าหากนักฟุตบอลฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยน้ำหนักตัวยังเท่าเดิม จะทำให้นักฟุตบอลสามารถเร่งความเร็วในการวิ่งได้มากขึ้น
กฎข้อที่ 3 กฎของแรงปฏิกิริยา (Action = Reaction)
ทุกแรงกิริยา (action) ย่อมมีแรงปฏิกิริยา (reaction) ซึ่งมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศตรงข้ามกันเสมอ โดยจะกระทำกับวัตถุคนละชนิดกัน
ตัวอย่างกฎข้อที่ 3 กับวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น
- เมื่อมีแรงกระทำไปด้านหน้าและขึ้นบนต่อลูกฟุตบอลจากเท้าของนักฟุตบอล ก็จะมีแรงปฏิกิริยาถอยหลังและลงด้านล่างจากลูกฟุตบอลไปยังเท้าของนักฟุตบอล
แฟนเพจท่านใดที่มีอาการปวดส้นเท้า หลังตื่นนอน / นั่ง / เดินนาน #แผ่นรองเท้าสู้รองช้ำ ที่แอดมินกำลังเปิดสั่งจองอยู่ช่วยคุณได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้นะครับ
กายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การกีฬาโดย Sahavate
Line OpenChat: Sahavate (https://bit.ly/3jQG5Eb)
โฆษณา