5 ก.พ. 2022 เวลา 02:19 • ปรัชญา
ภาวะจิต 10 ขั้น (Ten States of Mind, Jujushinron) ในมุมมองของพระคูไค โคโบไดชิ ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายมนตรยานญี่ปุ่น(ชินงอน/Shingon)
ในภาวะจิตทั้งสิบขั้นนี้เป็นเหมือนการสรุปรวมจัดลำดับแนวคิดของปรัชญาศาสนาฝั่งตะวันออก(คือ ขงจื๊อ เต๋า พุทธ) ผ่านมุมมองของพระภิกษุในพุทธศาสนามหายาน ซึ่งในแต่ละขั้นก็คือการบ่งบอกถึงความเข้าใจในสัจธรรมที่ละเอียดๆขึ้นไปเรื่อยๆของจิต มีดังต่อไปนี้ :
1. ภาพลวงตา: ภาวะจิตเหมือนหน่วยความจำ (The Deluded, Ramlike State of Mind) ภาวะนี้ไม่ใช่ภาวะของศาสนา เป็นภาวะเกือบจะเป็นมนุษย์ เพราะบุคคลขาดอุดมการณ์ที่จะกระทำหรือขาดความสามารถที่จะควบคุมตัณหาของตนเอง (ความปรารถนา)
2. ความไม่รู้: ภาวะจิตเหมือนเด็กทำตามอารมณ์ (The Ignorant, Childlike, but Tempered State of Mind) ภาวะนี้ อุดมการณ์ของบุคคลจะอยู่ในรูปแบบของจักรกล ทำตามกฎเกณฑ์เหนือกว่าข้อ 1 ตรงที่บุคคลตระหนักถึงผู้อื่น และเริ่มรู้จักความรับผิดชอบทางสังคม มันเป็นระดับการรับรู้ทางศีลธรรมที่ดั้งเดิมและต่ำที่สุด (คือพวกขงจื้อ : Confucianist)
3. ภาวะจิตใจได้รับการจัดวางเหมือนทารก (The Infantlike, Composed State of Mind) มนุษย์ในภาวะนี้มองเห็นข้อจำกัดของโลกนี้และสละทิ้ง เพื่อปรารถนาสิ่งอื่นที่ยกระดับจิตใจให้อยู่ในภาวะเงียบสงบและอมตะ มนุษย์ในภาวะนี้คล้ายกับทารกแรกเกิดเริ่มดูดนมจากมารดา ไม่สนใจความยุ่งเหยิงของโลกและค้นหาสันติในบางสิ่งที่เหนือกว่า (คือพวกลัทธิเต๋า : Taoist)
4. ภาวะจิตที่ตระหนักเพียงเรื่องขันธ์ 5 ความจริงซึ่งไม่ใช่อัตตา (The State of Mind Recognizing Only Skandhas) มนุษย์ภาวะนี้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องความไม่เที่ยง ตระหนักในความจริงในองค์ประกอบของจิตและผลที่ตามมาคือความว่างเปล่าของตัวตน ดังนั้น จึงเอาชนะระดับระดับที่ 1-3 ได้ เพราะภาวะจิตของบุคคลระดับนี้ คือ การกำจัดอวิชชาและตัณหา (คือพวกสาวก-สาวกยาน : Sravaka)
5. ภาวะจิตที่เป็นอิสระจากผลของกรรม (The State of Mind Free of Karmic Seeds) ระดับของมนุษย์ที่ไม่ได้ฟังธรรมะจากอาจารย์ใด ๆ แต่สามารถค้นพบภายในตนเองว่ารากเหง้าของความทุกข์คือมายา เมื่อเป็นอิสระจากอวิชชาแล้ว มนุษย์จะเป็นอิสระจากวงจรการเวียนว่ายตายเกิดประสบความประจักษ์แจ้งในตนเอง (คือพวกปัจเจกพุทธเจ้า-ปัจเจกพุทธยาน : Pratyeka-buddhas)
6. ภาวะจิตระดับมหายานที่คำนึงถึงผู้อื่น (The State of Mind Awakened to the Unborn Nature of Mind) โดยการตระหนักว่าธรรมทั้งหลายคือพฤติภาพของจิต บุคคลเหล่านี้มองเห็นทั้งบุคคลสุญญตา และธรรมสุญญตา โดยวิถีทางนี้ พวกเขาสามารถเข้าถึงความเมตตาที่ล้ำลึกของโพธิสัตว์ (คือพวกโยคาจาร : Hosso, Yogacara)
7. ภาวะจิตที่ตื่นสู่สภาพเดิมแท้ที่ไม่มีการเกิด (The State of Mind Awakened to the unborn Nature of Mind) โดยผ่านการปฏิเสธหลักการ 8 ประการ บุคคลจะเกิดญาณทัศนะ เห็นความจริง 2 ระดับ ยอมรับตรรกะทางสายกลาง บุคคลเหล่านี้ จะหยั่งรู้ว่า จิตโดยสภาพเดิมไม่มีการเกิด ดังนั้น ความต่างระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้จึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ ไม่ใช่เป็นที่สุด (คือพวกมาธยมิก: Madhyamika)
8. ภาวะจิตที่ติดตามเอกยาน หรือระดับของการหยั่งรู้จิตเดิมแท้ (The State of Mind Following the One Path Without Artifice) หรือภาวะจิตว่างและไร้วัตถุวิสัย (Objectless) ในภาวะนี้ บุคคลจะทิ้งตรรกะแห่งทางสายกลางมองเห็นเอกภาพในทุกยาน (วิถีทาง) สัจจะคืออุบายธรรมที่ขึ้นกับกลุ่มผู้ฟัง สิ่งทั้งหลายล้วนอยู่ในจิตหนึ่ง (พวกเทนได หรือเทียนไท : Tendai, T’ient’ai/)
9. ภาวะจิตที่สมบูรณ์ปราศจากสาระเฉพาะตน (The State of Mind Completely without Individuated Essence) ในภาวะนี้บุคคลจะตระหนักในการแทรกซึมกันอย่างสมบูรณ์ของสิ่งและหลักการทั้งหมด สิ่งที่ผู้อื่นเห็นว่าเป็นพื้นฐานก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้น ปัญญาญาณ (ความหลุดพ้นจึงแฝงอยู่ทุกแห่งอย่างสมบูรณ์ (พวกอวตังสกะ/เคงอน/ฮัวเหยิน : Kegon, Hua-yen)
10. ภาวะจิตรุ่งโรจน์และเป็นรหัสนัย (The State of Mind Esoteric and Glorious) ภาวะนี้รองรับคำสอนแบบเปิดเผยทั้งหมด และนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติรหัสยะกับปัญญาญาณบุคคลไม่เพียงรู้ภาวะการหยั่งรู้ระหว่างสรรพสิ่ง แต่พวกเขายังเข้าร่วมอยู่ในการหยั่งรู้นั้นผ่านพิธีกรรมอันลึกลับ ธรรมกายจะถูกรับรู้โดยตรงและไม่ใช่เรื่องของการคาดเดาจากความคิดอีกต่อไป (พวกชินงอน : Shingon)
ขอขอบพระคุณ แหล่งอ้างอิงข้อมูล จากบทความนี้ครับ ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข
โฆษณา