Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยกับนักเศรษฐศาสตร์
•
ติดตาม
5 ก.พ. 2022 เวลา 05:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ข้อเสนอแนะต่อบทบาทนโยบายภาครัฐเพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดงานเสวนา “Industry Transformation”* แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ประกอบการ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางช่วยเหลือและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เป็นจานวนถึง 8 ครั้ง อันได้แก่ อุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน โรงแรมและที่พัก แปรรูปและส่งออกผลไม้ อุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา โลจิสติกส์ สปาและนวดแผนไทย อาหารแปรรูป และบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ซึ่งนอกจากต้องเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว ยังมีความท้าทายเชิงโครงสร้างอื่น ๆ ที่ต้องเผชิญอยู่อีกมาก
ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวและรับมือ ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็มีบทบาทสาคัญในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเหล่านี้เติบโตและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย วันนี้จึงขอตกผลึกข้อเสนอแนะสาคัญที่ได้จากการเสวนาทั้ง 8 ครั้งต่อบทบาทนโยบายภาครัฐในการยกระดับและสนับสนุนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาถ่ายทอดและชวนคิดกัน ดังต่อไปนี้ครับ
1. การทบทวนและปฏิรูปกฎหมาย เพื่อลด ละ เลิกกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็น ล้าสมัย ไม่สะดวก สร้างภาระต่อการบังคับใช้และการปฏิบัติ (regulatory guillotine): เป็นข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่วนมากต่างเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน โดยเฉพาะการปรับปรุงและพัฒนาระเบียบ กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ส่วนใหญ่มีลักษณะไม่ยืดหยุ่น ก่อให้เกิดภาระต่อภาครัฐในการบังคับใช้ และสร้างภาระต่อผู้ประกอบการในการปฏิบัติตาม ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการออกใบอนุญาต GAP (Good Agricultural Practices หรือแนวทางในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด) ในอุตสาหกรรมแปรรูปและส่งออกผลไม้
4
โดยในปัจจุบันมีอุปสรรคที่เกิดขึ้น อาทิ การออกใบอนุญาตที่ต้องอาศัยทั้งสานักงานเกษตรอำเภอและสานักงานเกษตรจังหวัด ซึ่งจำนวนบุคลากรของสานักงานมีไม่เพียงพอ ต้องว่าจ้างเจ้าหน้าที่จากองค์กรนอกจังหวัดมาตรวจและทาให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงขึ้นต่อผู้ประกอบการและเกษตรกร
2. การสร้างเวทีการแข่งขันที่เป็นธรรม (fair competition): จะช่วยให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและทาให้ผู้เล่นไม่สามารถกดดันคู่แข่งโดยใช้อานาจเหนือตลาดได้ โดยภาครัฐสามารถออกและบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองการแข่งขันและมีมาตรการจูงใจให้ธุรกิจนอกระบบหรือผิดกฎหมายเข้ามาแข่งขันในระบบอย่างเป็นธรรมได้ ทั้งนี้ เวทีการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ 1) การแข่งขันกับผู้เล่นต่างชาติ อาทิ ธุรกิจต่างชาติขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจไทย โดยส่วนหนึ่งยอมขาดทุนเพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด ทาให้ผู้ประกอบการไทยที่มีเงินทุนจากัดแข่งขันด้วยได้ยาก 2) การแข่งขันกันระหว่างผู้เล่นในไทย อาทิ การเปิดโรงแรมและที่พักโดยไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งทาให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกิน (oversupply) ในอุตสาหกรรมโรงแรมและที่พัก และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19 แล้ว
1
3. การสร้างความตระหนักรู้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไทย (brand awareness): ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าของบริษัทต่างชาติได้ แต่ยังคงไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากนัก โดยเฉพาะอุปกรณ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา ซึ่งหากภาครัฐช่วยสร้างความเชื่อมั่นและคุ้นเคยให้กับสินค้าไทยโดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น กำหนดให้มีการนาอุปกรณ์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทยไปใช้ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาแพทย์คุ้นเคยและเชื่อมั่นในอุปกรณ์เหล่านี้ จะช่วยลดการพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศได้ในที่สุด
1
4. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนา (research collaboration): เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากภาครัฐได้ หรืออาจร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในการร่วมกันคิดค้นทดลองเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ ๆ พร้อมให้ผู้ประกอบการนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) นั้นไปผลิตออกสู่ตลาดได้จริง ขณะที่การวิจัยไม่จำเป็นต้องจากัดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูงเพียงอย่างเดียว แต่สามารถวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นฐานอื่น ๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการผลิตสินค้า (process) ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
1
5. การบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไว้ที่ระบบเดียว (single window data platform): ภาครัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่แล้วระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นระบบ เพื่อลดทอนความซ้ำซ้อนของการทำงานและเกิดข้อมูลในเชิงกว้างและลึก พร้อมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้ อาทิ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเกษตรอย่างครบวงจร ข้อมูลพฤติกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
2
6. การยกระดับฐานะทางสังคมของแรงงานประเภท 3D ให้สูงขึ้น พร้อมกับการเร่งพัฒนาทักษะแรงงาน: แรงงานไทยยังคงเลือกงานและไม่ต้องการทำงานหนักประเภท 3D คือ งานสกปรก (dirty) งานอันตราย (dangerous) และงานยาก (demanding หรือ difficult) ทาให้ผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพึ่งพาและนาเข้าแรงงานต่างชาติ ดังนั้น ภาครัฐสามารถอุดหนุนหรือหาแนวทางที่เป็นรูปธรรมเพื่อยกฐานะทางสังคม และยกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นแก่แรงงาน เพื่อให้แรงงานไทยเต็มใจทำงานเหล่านี้
2
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็มีชื่อเสียงในผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยความประณีตจากแรงงานฝีมือ เช่น การส่งออกไก่แช่แข็งที่ต้องอาศัยความประณีตในการตัดแต่ง จึงควรเร่งการพัฒนาทักษะแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการปรับทักษะแรงงานให้มีความยืดหยุ่น (reskill) และสร้างทักษะใหม่ (upskill) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ทักษะการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (care giver)
ข้อเสนอแนะที่ตกผลึกข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์มากมายในแต่ละอุตสาหกรรม การเสวนา “Industry Transformation” จะยังคงดาเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไปในปี 2565 เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่าง ๆ และให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุด… ไว้ในโอกาสต่อไป ผู้เขียนจะมาเล่าให้ฟังและชวนคิดกันอีกครับ
*ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.pier.or.th/?research_workshop=policy-forum-industry-transformation
** บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จาเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด **
ผู้เขียน :
สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
1
upskill
reskill
bigdata
6 บันทึก
7
2
6
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย