5 ก.พ. 2022 เวลา 13:57
EP. 3 "สูดหายใจลึกๆ .. ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน?"
"เค้าเครียด นอนไม่หลับ ปวดไหล่ บ่าตึงไปหมด. มือขวาเริ่มชาแล้ว... จะเป็นไรไม๊อ่ะ"
ทะเล..มีกลิ่นโอโซน..ชื่นใจ
นางเป็นเพื่อน เป็นคนสนิทที่สุดคนหนึ่ง
..มีพื้นฐานร่างกายแข็งแรงปานกลาง ทำงานบริษัทเอกชน วิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก ตั้งแต่ต้อง Work From Home มาสองปี นับตั้งแต่โควิดระบาดจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เข้าออฟฟิส   นางเคยเล่นกีฬาแต่ตอนนี้ห่างไปเลยแทบไม่ได้มีเวลาออกกำลังอะไรเลย หลายปีก่อนเคยผ่าตัดที่มีกระทบกับแขนข้างซ้ายขยับไม่ได้อยู่หลายเดือน ระยะหลังเริ่มเป็นออฟฟิสซินโดรม
ทั้งฉันและเพื่อนเคย ไปทำกายภาพที่โรงพยาบาลมาบ้าง ก่อนช่วงโรคระบาด การโยคะอย่างต่อเนื่องทำให้ฉันไม่เดือดร้อนมากนักแม้ว่าจะเลิกไปกายภาพแล้ว... ส่วนเพื่อนสายแบกของฉันก็ได้แต่อดทนแบกหามความเจ็บปวดไป  แต่ก่อน ฉันเคยแนะนำให้มาฝึกโยคะด้วยกัน....
"ไม่มีวันซะล่ะ" ในความรู้สึกของนาง โยคะเป็นการออกกำลังแบบประดิษฐ์ประดอยท่า เคลื่อนไหวช้าเกินไปไม่สนุกเหมือนออกกำลังแบบที่เป็นเกมกีฬา ไอ้เราถึงตื้อก็แล้ว ซื้อ mat ให้ก็แล้ว นางก็ยังตีมึน นิ่งต่อไป
จนมาถึงวันนี้ วันที่... นาง ปวด ตึง จนทนไม่ไหว
ในที่นี้ ฉันขอเรียกนางว่า "คุณ ป." มนุษย์ตึงหมายเลข 1
พวกเรา สูดหายใจ ลึกๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กัน? "
ตั้งแต่ปี 2563 คนทั่วโลกอยู่อย่างหวาดระแวงอากาศที่หายใจเข้าไป นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่สามารถหายใจเต็มปอดนอกบ้านโดยไม่ผ่านหน้ากากกรอง
คุณ ป. ก็เหมือนพวกเราทุกๆคนที่กลัวเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศ ยิ่งเป็นบ้านที่มีผู้อาวุโสสุขภาพไม่ดีหลายคน  ลูกๆ ยิ่งกังวลการเป็นพาหะนำโรคที่สุด คุณ ป.และครอบครัวระวังตัวแจทั้งนอกบ้านในบ้าน. ถึงขนาดที่ว่าช่วงที่โควิดระบาดหนักๆ นางใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เจอหน้าคนในครอบครัว
1
เวลาพวกเรา ใส่หน้ากากกัน... หายใจลำบาก หายใจสั้น  ช่วงแคบลงใช่ไม๊?
คุณ ป. ใส่หน้ากาก.. แทบตลอดเวลา  ต่อเนื่อง ยาวนาน
คนเราถ้าทำอะไรต่อเนื่องเกิน 21 วัน เค้าว่ามันจะกลายเป็นนิสัย  หลังจากที่ คุณ ป. มาบ่นให้ฟัง แล้วได้พากันยืดคอบ่าไหล่ ตามท่ามาตรฐานกายภาพบำบัด  สังเกตได้ชัดลมหายใจหด สั้น. ช่วงแคบ อึดอัด ... ยิ่งช่วงเครียด วันนอนไม่พอ ยิ่งหายใจสั้น ลมค้างอยู่เพียงแค่หน้าอก เห็นได้ชัดเลยว่าการบังคับใส่หน้ากากด้วยความจำเป็น ส่งกระทบกับพฤติกรรมการหายใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"มาฝึกโยคะ กันไม๊...?"
"ไม่อ่ะ.... ยังไม่พร้อม"
กล้ามเนื้อ ของพวกเรา ปวด หดเกร็ง ตึง เพราะอะไรกัน?
😔ใช้งานหนัก ออกกำลังหนักเกินกำลัง
🤕 อุบัติเหตุ จนกล้ามเนื้อ ยอกฉีกขาด
😔 กล้ามเนื้ออ่อนแอ ฝ่อลง จากไลฟสไตล์ที่ไม่ค่อยขยับไปไหน ขาดการออกกำลัง. (sedentary life style)
🥵 ขาดน้ำ (dehydration)
🤒ป่วย ติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่... ปลายประสาทอักเสบ โรคหลายโรคก็ทำให้กล้ามเนื้อปวด
🥱หายใจน้อย ขาดอากาศ  พอขาดออกซิเจน สมองคนเราก็จะเบลอ วิงเวียน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อตึงขึ้นอีก ออฟฟิสซินโดรม หนักขึ้น ปวดขึ้น  ถ้าพอได้ออกกำลังบ้าง กายภาพบ้าง ก็ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย   แต่ถ้ายังพักได้ไม่เต็มที่ไม่นานที่ตึงมันก็จะกลับมา
อย่างที่เรารู้ๆ กัน  เมื่อเปรียบเทียบแล้ว "อาหาร น้ำ และ อากาศ" อากาศสำคัญที่สุด  มนุษย์อย่างเราๆ ทนขาดอาหารได้ 3 สัปดาห์ - 1 เดือน.  ทนขาดน้ำได้ 3-4 วัน ทนขาดอากาศ ได้ 4 นาที มากกว่านั้นก็เด๊ดสะมอเร่ 💀
เราต่างรู้ว่าอากาศสำคัญ แต่เราดูเบาปริมาณและคุณภาพอากาศที่หายใจเข้าไปแต่ละครั้ง
นอกจากร่างกายมนุษย์ต้องใช้ออกซิเจน ในอากาศเพื่อลำเลียงสารอาหารแล้ว. การหายใจสัมพันธ์กับระบบประสาท อัตโนมัติ ทั้งประสาทแบบ sympatheticและ para sympathetic ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่นหัวใจ ระบบทางเดินอาหารอาหาร ระบบเผาผลาญ และต่อมไร้ท่อต่อต่างๆ
ลมหายใจของเราใกล้ชิด กับระบบประสาทอย่างยิ่ง. สังเกตได้ง่ายๆ เลยว่าเวลาเรารู้สึกเครียด ลมหายใจจะหดสั้น เมื่อเรารู้สึกสบายใจลมหายใจจะลึกและยาว
แต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ ร่างกายเราทุกคนมีความสามารถในการหายใจทั้งแบบไม่รู้ตัว และตั้งใจหายใจแบบรู้ตัว และควบคุมลมหายใจได้.. เราสามารถท้าทายให้ร่างกายเครียดขึ้นด้วยการบังคับหายใจเร็วและแรงขึ้น. ร่างกายจะตึงขึ้น ตื่นตัวขึ้น. และเราสามารถผ่อนให้ร่างกายเบาและคลายตัวได้ ด้วยการตั้งใจหายใจลึกและยาว.
พูดกันง่ายๆ คือ ร่างกายมนุษย์มีเครื่องควบคุมความเครียดแบบ Built-in มาทุกคนอยู่แล้ว.... เราเพียงแต่ไม่เคยใช้มันอย่างตั้งใจ
และเวลาแทบส่วนใหญ่ของเรา วุ่นไปกับเรื่องอื่น จนปล่อยไหลให้ลมหายใจถูกควบคุมด้วยความรู้สึก. แทนที่เราจะควบคุมความรู้สึก ด้วยลมหายใจ
หลายพันปีก่อน มีคนกลุ่มนึงค้นพบวิชาว่าด้วยการควบคุมลมหายใจ..ใช่แล้วค่ะ โยคะ นั่นเอง
เย็นวันหนึ่ง ฉัน กับคุณ ป. พวกเราvideo call และชวนยืดเหยียด กายภาพบำบัดกัน ฉันแอบใส่ท่าโยคะคอบ่าไหล่ เข้าไป เสริมการหายใจพร้อมการเคลื่อนไหว..ให้เพื่อนตัวตึงของฉันให้หายใจเข้าลึก ออกยาวเมื่อขยับในท่า..
ท่ากายภาพ พื้นฐานที่ใครๆ ก็รู้ เพิ่มหลักการง่ายๆ
Credit: Pinterest
1. ก่อนจะเหยียด. ยืดตัวหายใจเข้าลึก...
2.  หายใจออกพร้อมกับการพับหรือเอียง เพื่อยืด
3.  ค้างท่า ในจุดที่ตึงสุด หายใจเข้าลึกกกก หายใจออก ย้าวววววว ยาวววว นับไป 5 ลมหายใจเข้าออก
(( เข้า 1 ออก 1 - เข้า 2 ออก 2 - เข้า 3 ออก 3 -เข้า 4 ออก 4 -เข้า 5 ออก 5 ))
4. คลายท่า... หายใจอย่างผ่อนคลาย
หายใจ .. หายใจ... หายใจ.
(( ใช้อากาศไล่ความตึงเครียดออกไปจากกาย ไล่ความทุกข์ ความวุ่นวายออกไปจากใจ ))
*** วนท่าถัด ไป โดยหายใจตามลำดับเดิม ใช้การนับรอบลมหายใจแทนเวลาที่กำหนด ***
Credit : mthai.com
คุณ ป. "มือ เค้าที่ตึงชา..มันชาน้อยลง ตอนหายใจเข้าล่ะ รู้สึกดีนะ"
เดี๋ยวนี้ มักจะมี request "พรุ่งนี้มาพายืดอีกนะ"
หลังจากนั้น คุณ ป. มนุษย์ตึง ก็ฝึกโยคะแบบไม่รู้ตัวกับฉันบ่อยขึ้นๆ.. จนต้องเริ่มวางแผนการสอน
หายใจ .. หายใจ... หายใจ.
ใช้อากาศไล่ความตึงเครียดออกไปจากกาย ...
ไล่ความทุกข์ ความวุ่นวายออกไปจากใจ ...
การทำให้คุณ ป. หายตึงนิดหน่อยมันไม่ได้แปลกพิเศษอะไร ครูโยคะเก่งๆ ที่ฉันเคยเรียนด้วยหลายคน เคยสอนให้นักเรียนหายเจ็บ หายป่วย หายทุกข์ สบายใจ สบายตัวหลังฝึกกันมากมาย. แต่ที่ฉันดีใจยิ่งกว่าอะไร  คือทำให้คนที่เคยอคติต่อโยคะจากภายนอก เริ่มเปิดใจฝึก และได้ประโยชน์จากโยคะแบบ inside out
ไม่ต้องรู้ว่า ฝึกท่าชื่ออะไรก็ได้ แต่ได้ประโยชน์จริง ก็ดีใจแล้ว
นอกจากยืดเหยียดคอบ่าไหล่ และfullbody แล้ว
ไว้อาทิตย์ถัดไป ฉันตั้งใจจะพาพวกเราฝึกปราณยามะพื้นฐานกันต่อด้วย
1. ลมหายใจสลับรูจมูก
2. ลมหายใจ เข้า ×1 / หายใจออก × 2
3. ลมหายใจเสียงผึ้ง
ฯลฯ
ในยามที่พวกเราขาดการหายใจเต็มปอดแบบนี้ ฝึกหายใจในพื้นที่ปลอดภัยยิ่งจำเป็น
** การฝึก ปราณยามะ (Pranayama) เป็นศาสตร์โยคะเพื่อควบคุมการหายใจ เพื่อควบคุมร่างกายของผู้ฝึก มีความลึกซึ้ง และมีหลายระดับ... โดยทั่วไป การผสานท่าโยคะ และการหายใจที่ใช้กระบังลมแบบพื้นฐาน (คล้ายที่ว่าหายใจออกท้องยุบ หายใจเข้าท้องพอง) ผู้ฝึกก็สามารถได้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพ และลดความเครียดได้เป็นอย่างดี
อีกนาน แค่ไหน นะ ที่พวกเราต้องฝึกกันแบบนี้ ?
ไม่รู้สินะ.... คงจนกว่าโควิดจะหายไป และมนุษย์ตึงของฉันไม่ต้องกลัวการไปทำกายภาพบำบัดนอกบ้านล่ะมั๊ง
แต่สำหรับฉัน.. คงฝึกตลอดไป
อ้างอิง:
ขอบคุณภาพจาก
โฆษณา