7 ก.พ. 2022 เวลา 05:11 • การศึกษา
หลักกฎหมายกับความเลวร้ายของสื่อไทย
1
แนวการวิเคราะหกรณีสื่อศึกษาที่มีการกระทำ ผิดหลักจริยธรรมการสื่อสารมวลชน และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปและฝึกฝนการคิดค้นหาแนวทางปฏิบัติการเชิงจริยธรรมที่ดีกว่าสภาพการณ์ของการสื่อสารมวลชนที่เป็นอยู่ มีแนวทางสำคัญดังต่อไปนี้
1
1.ในการทำการวิเคราะห์ต้องสรุปสาระสำคัญเสียก่อนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และนำเสนอทางช่องทางใด เพราะเป็นฐานส าคัญต่อการหยิบยกเอาหลักจรรยาบรรณและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมา
วิเคราะห์เช่น ในครั้งนี้หากโฆษณานั้น ส่วนหลักออกอากาศทางเครือข่ายอินเตอร์ ก็จะเกี่ยวข้องกับหลักจรรยาบรรณการใช้สื่อออนไลน์ PAPA และข้อกฎหมายเกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์เป็นฐาน หากเป็นส่ือสารผา่ นทีวีก็ตอ้งไปพิจารณาพรบ.กิจการวิทยุโทรทศัน์ หากเป็นหลักสื่อสิ่งพิอ้งไปดูพ รบ.จดแจ้งการ
พิมพ์ เป็นต้น
3
2.เมื่อพิจารณาเนื้อหาว่าเป็นส่วนที่แสดงถึงลักษณะของการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ หรือการสื่อข่าว ก็จะไปเกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณในสาขานั้นๆ อีกขึ้นหนึ่ง ซึ่งมีระบุในหลักจรรยาบรรณสื่อรายสาขาวิชาชีพนั้นๆ ว่าผิดตรงไหน อย่างไร โดยต้องมีการยกข้อความ หรือภาพส่วนยืนยันให้เห็นจริงว่าละเมิดหลัก
นนั้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจรรยาบรรณโฆษณาสำหรับในการวิเคราะห์ครั้งนี้
3
3. ขณะเดียวกันต้องพิจารณาเนื้อหาว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร มีกฎหมายด้านใดเป็นส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ หากเป็นยาและเวชภัณฑ์ก็ต้องดูทั้งพรบ.คุ้มครองผู้บริโภค และพรบ.อาหารและยา แต่ถ้าเป็นด้านการอ่ืนๆอาจเก่ียวข้องกับ พรบ.ลิขสิทธิ์หรืออื่นๆ แต่ทั้งนี้พบว่า มีการอ้างกฎหมายอาญา ม.328
และแพ่งม.420 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง การกระท าความผิดไม่ปรากฎเช่นนั้น เพราะเป็นเพียงเนื้อหาที่
สื่อสารออกไป
2
4.เมื่อวิเคราะห์ให้เห็นข้างต้นแล้ว จึงน าไปสู่การวิเคราะห์ส่วนส าคัญว่า มีการขัดต่อหลักจริยธรรมสื่อ ทั้งในด้านบทบาทหน้าที่ของสื่อ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หลักอุดมการณ์จริยธรรมการสื่อสารมวลชน 4 ด้านได้แก่ การยึดมั่นในหลักเหตุผล การยึดมั่นในหลักเสรีภาพ การเคารพศกัดศิ์ รีความเป็นมนษุ ย์การอดอดกลั้นต่อความไม่ถูกต้อง และ ควบคู่ไปกับการน าเอาหลักปฏิบัติการเชิงจริยธรรมของสื่อมวลชน 5ประการ
3
ได้แก่ หลักเสมือนหนึ่งพี่น้องกัน หลักถ้วนทั่ว หลักทางสายกลาง หลักความเป็นสากล และหลักอรรถประโยชน์สูงสุดของสังคม มาประกอบการวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงต่อเนื่อง โดยยกตัวอย่างมาประกอบ
ให้เห็นจริงว่า ว่ามันขัดอย่างไร
3
5.เมื่อทำการประมวลให้เห็นว่า น่าจะมีสาเหตุอย่างไร โดยไม่สรุปแต่เพียงง่ายๆ ว่า เพราะอยากได้เงิน หรือมุ่งหากำไร แต่ต้องพิจารณาว่า การผลิตเนื้อหาเช่นนั้น มุ่งหมายจูงใจโน้มน้าวใจผู้รับสารตรงไหนอย่างไร การทำเกินจริงที่หมิ่นเหม่การผิดกฎหมายและละเมิดจริยธรรมสื่อนี้ท าให้สามารถจูงใจ หรือล่อลวง
ได้อย่างไร อันจะน าไปสู่ข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมที่ดีกว่าแต่ไม่ผิดกฎหมายและจริยธรรม
ดังตัวอย่างการโฆษณาผ่านช่องทางสื่อแขนงวิทยุโทรทัศน์ช่องทางต่างๆ รวมถึงผ่านเครือข่ายเคเบิลทีวี และทางสื่อออนไลน์ อาทิมีข้อความในเนื้อหาโฆษณาบางช่วงดังนี้
5
"กินทุกวันช่วยแก้ข้อบกพร่องของเรื่องน้องชายแล้ว สามารถเพิ่มขนาดได้อย่างแน่นอน เพียงแค่รับประทานต่อเนื่องตั้งแต่ 1 เดือนแรกเท่านั้น และรูปลักษณ์ภายนอกก็ส าคัญ น ้าหอม สามารถเสริมบุคลิกภาพได้ "
" ใครยังไม่มีแฟน ให้ฉีดไว้ก่อนก็จะได้มีแฟน ตัวนี้คือน ้าหอมฟี โรโมน ไม่ใช่น ้าหอมธรรมดา เพราะฟีโรโมนที่ผสมลงไปเป็นสารสกัดที่ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศของฝ่ ายหญิง กระตุ้นต่อมใต้สมอง
เหมือนยาเสน่ห์ ท าให้ผู้หญิงหลงเสน่ห์ เป็นเอกสิทธิเฉพาะ "
" ใครที่ซื้อไปแล้วหนึ่งร้อยเปอร์เซ็น กลับมาซื้อซ ้า90% อีก10% ไม่มีตังกลับมาซื้อซ ้า "" แถมภาพลับของ..."
2
ข้อความที่ระบุในโฆษณาดังที่กล่าวมาข้างต้นผิดต่อหลักการพื้นฐาน จรรยาบรรณแห่งวิขาชีพโฆษณาของสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ดังนี้
ผิดข้อที่1..ประกอบวิชาชีพด้วยความสัตย์ สุจริตตามหลักปฏิบัติและวิชาการ ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย (แต่โฆษณานี้ผิดกฎหมาย )
ผิดข้อที่2..ไม่ทำการใดๆอันอาจนำ มาซ่งึความเสื่อมเสียเกียรติศกัดแิ์ หง่ วิชาชีพ (แตโ่ ฆษณานีห้ ลอกลวงให้
เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร)
ผิดข้อที่3.. มีความรับผิดชอบต่อสังคม และไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในจริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม (แต่โฆษณานี้แจกภาพโป๊ เปลือย ผิดวัฒนธรรมไทยและมีภาพตัวอย่างออกอากาศด้วยถึงแม้จะ
ใกล้เคียงชุดว่ายน ้าแต่การบรรยายก็ท าให้เข้าใจว่าเป็นภาพโป๊ เปลือย )
ผิดข้อที่5..ไม่ควรทำการโฆษณาอันท าให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และการแสดงอื่นๆที่โอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริง (โฆษณานี้โอ้อวดสรรพคุณทำให้เพิ่มขนาดได้เห็นผลตั้งแต่เดือน
แรก ซึ่งอาหารเสริมไม่มีสรรพคุณแบบยา)
ผิดข้อที่9..ไม่ควรกระท าการโฆษณาโดยกล่าวอ้างถึงตัวบุคคล หรือสถาบัน โดยที่ตัวบุคคลหรือสถาบันนั้นไม่มีอยู่จริง หรือไม่ได้ใช้สินค้าจริง ไม่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้าง (ผู้โฆษณากล่าวอ้างโดยใช้สถิติ90%กลับมาซื้อซ้ำๆ ซึ่งไม่สามารถยืนยันความเป็นจริงได้ อีก10% ไม่ได้ซื่อเพราะไม่มีเงินรอโปรส่วนลด ทำให้เข้าใจว่าใน 100% ที่เคยซื้อไปนั้นต้องการใช้อย่างต่อเนื่อง100%)
ผิดข้อที่10..ไม่ควรทำการโฆษณาอันอาจมีผล อันตรายต่อร่างกาย จิตใจ หรือทำให้ขาดความรู้สึกผิดชอบหรือโดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มาใช้เป็นเครื่องมือจูงใจโดยไม่สมควร ( การผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณในการเสริมสมรรถภาพทางเพศ มักลักลอบใส่ยาที่ใช้รักษาอาการหย่อน
สมรรถภาพทางเพศ “ซิลเดนาฟิ ล” ซึ่งจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ มึนงง หน้าแดง โดยเฉพาะผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่กินยากลุ่ม
ไนเตรต อาจส่งผลให้ความดันโลหิตตกจนถึงขั้นมีภาวะช็อกและเสียชีวิตได้/ (ข้อมูลของ อย.จากThaiPBS https://news.thaipbs.or.th/content/286154)
1
การโฆษณาดังกล่าวผิดหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพโฆษณา ที่เป็นแนวหลักปฏิบัติดังนี้ผิดข้อที่1..การสร้างสรรค์โฆษณา นักโฆษณาควรท าหน้าที่อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อสังคม (แต่โฆษณานี้เข้าข่ายมอมเมาประชาชน ใช้ผู้หญิงเซ็กซี่พูดเชิญชวนหลอกลวง)
1
ผิดข้อที่2..งานโฆษณาทุกชิ้นควรจะต้องถูกกฎหมาย มีเกียรติ ซื่อสัตย์ และน าเสนอความจริง ไม่ขัดกับ
ศีลธรรม และระเบียบสังคม ( ห้ามโฆษณาว่ามีผลในการรักษา หากพบเห็นมั่นใจได้เลยว่าโอ้อวดเกินจริง
อย. ไม่เคยอนุญาตให้โฆษณา)
ผิดข้อที่3..การสร้างสรรค์โฆษณา ควรกระท าด้วยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (ไม่คำนึงถึงการเข้าใจผิดในความส าคัญในสินค้า)
การโฆษณานี้โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงและเนื้อหาโฆษณาที่ขัดกับวัฒนธรรมไทย ในเนื้อหาการโฆษณาที่มีคำพูดลามก อนาจาร ลงโฆษณาที่ไม่เหมาะแก่คนทุกเพศทุกวัย ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเข้าถึงประชาชนหลากหลายกลุ่มด้วย ไม่มีการจำกัดเรทรายการ ไม่มีคำเตือน ในขณะที่ใช้พื้นที่การโฆษณา
ในการออกอากาศทางช่องทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อกระจายเสียงและภาพ (Broadcasting media )
ถึงแม้จะไม่ใช่ช่องฟรีทีวี แต่ก็ออกอากาศทางโทรทัศน์จึงเท่ากับเป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมของวิทยุโทรทัศน์ ผู้ที่เข้ามาใช้ช่องทางสื่อแขนงนี้. จะต้องเสนอความจริงและความงามด้วย เพราะสามารถนำเสนอ
ได้ทั้งภาพและเสียงที่สร้างสุนทรียะและความอุจจาดได้โดยไม่สามารถจำกัดผู้รับสารได้โดยเฉพาะเจาะจงไม่คำนึงถึง การธำรงไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้บริโภค
2
ขณะเดียวกันในแง่ของกฎหมายอาญา โฆษณาดังกล่าวมาข้างต้นหมิ่นเหม่ต่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 2 พ.ศ.2541 ตามมาตรา 22 การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อ
ผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ว่าข้อความที่เกี่ยวกับ แหล่งกำเนิดสภาพ คุณภาพ หรือการใช้สินค้า ข้อที่ผิดมีดังนี้
(1) ข้อความที่เป็นเท็จและเกินจริง ในข้อความที่ผู้โฆษณาแจ้งว่า "มีผลในการเพิ่มขนาดภายในหนึ่งเดือนแน่นอน " ซึ่งไม่สามารถเป็นความจริง
1
(2) อวดอ้างว่าใช้น้ำหอมที่ผสมฟี โรโมนแล้วจะได้แฟน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า การฉีดน้ำหอมไม่มีผลในการท าให้มีคู่ได้ อันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง
(3) ข้อนี้ผิดมาก ว่าด้วยข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือ
ศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมทางวัฒนธรรมของชาติ เพราะผู้โฆษณาใช้คำพูดที่ค่อนข้างสื่อในทางลามก อนาจาร เกี่ยวกับเพศ ยั่วยุมอมเมาให้เกิดการมีเพศสัมพันธุ์ แถมฟรีภาพลับ ทำให้เสื่อมทางวัฒนธรรมไทย
(5) ข้อความที่กำหนดตามกฎกระทรวง ข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงโดยแน่แท้ไม่เป็นข้อห้ามในการโฆษณาตามข้อ 1 ในโฆษณานี้มีข้อความที่ผิดดังนี้
- ทำให้ท่านชายขนาดใหญ่ขึ้น
- บำรุง-เสริมสร้างประสิทธิภาพทางเพศ
มาตรา47 ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น โฆษณาหรือใช้
ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นนั้นว่า
ต้องระวางโทษจ าคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
นอกจากนั้นยังผิดกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 ออกตามความในพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
และวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2537 ในข้อ16 ระบุไว้ว่า รายการที่ออกอากาศโดยส่งทางวิทยุโทรทัศน์จะต้อง
ปฏิบัติดังนี้
ผิดข้อที่2 ว่าด้วยการไม่หยาบคาย ดูหมิ่นเหยียดหยามหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น /ผู้โฆษณานี้ได้ใช้คำพูดดูหมิ่น ที่ว่า "ผู้บริโภค10% ไม่มีเงินซื้อ "
ผิดข้อที่3 ต้องไม่เป็นข้อความสองแง่ สองง่าม หยาบโลน หนืออนาจาร / ผู้ทำการโฆษณานี้ พูดเกี่ยวเน้นเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ได้เน้นที่อาหารเสริมคืออาหารมากกว่าท าให้ผู้บริโภคเข้าใจสาระส าคัญ
ไปในทางที่ผิดผิดข้อที่4 ไม่อวดอ้างสรรพคุณของสินค้าอันเป็นเท็จหรือเกินจริง
3
ผู้โฆษณาพูดว่า " น้ำหอมฟี โรโมน ฉีดแล้วจะได้แฟน " ซึ่งไม่เป็นความจริง น้ำหอมเป็นเพียงการให้กลิ่นที่เราชอบ ซึ่งบางคนเมื่อได้กลิ่นแล้วอ้วก
เวียนหัวก็มี และค าพูดที่ว่า "เพิ่มขนาดของอวัยวะเพศชายได้ภายในหนึ่งเดือน " นั้น อย. แจ้งว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดเป็นข้อความที่ไม่อนุญาติให้โฆษณา
ผิดข้อที่8. การโฆษณาสินค้าพิเศษ เช่น อาหารเสริมในโฆษณานี้ ในโฆษณานี้พูดว่า " น ้าหอมจะกระตุ้น
ต่อมใต้สมอง ให้เกิดการหลงไหล เพราะผสมฟี โรโมน "นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาและตรวจสอบจาก
องค์การอาหารและยาก่อน ( ถ้าผ่านแล้วจะต้องแสดงข้อความในโฆษณาด้วย อ.ย. เลขอนุญาติ " ) แต่ในการออกอากาศไม่แสดงข้อความการได้รับอนุญาติใดๆ
ผิดข้อที่9 การไม่แสดงออกถึงเรื่องเพ้อเจ้อ หลอกลวง ไร้สาระ ซึ่งอาจชักจูงใจให้เด็กและเยาวชนเชื่ออย่าง
งมงาย / การโฆษณาผ่านสื่อแขนงวิทยุโทรทัศน์ ผู้ที่ชมรับฟัง อาจจะไม่ได้ผู้ชายก็ได้ อาจจะเป็นเด็กก็ได้
กรือผู้ที่ขาดความรู้ไม่เท่าทันสื่อก็ได้ อาจจะถูกชักจูงและเข้าใจผิดก็ได้
1
ผู้ผลิตโฆษณาอาหารเสริมลักษณะนี้กระทำ ละเมิดจริยธรรมสื่อและผิดกฎหมาย สาเหตุเพราะทุกธุรกิจแต่ละธุรกิจส่วนมากก็จะมีการแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด และแสวงหาก าไร
สูงสุด และเร่งระบายสินค้า
1
ผู้ผลิตชิ้นงานโฆษณามักรู้ดีกับปัญหาของผู้บริโภคที่ต้องการจะดูดี มักหลงเชื่อ
ครีมทำให้ผิวขาว / มีสุขภาพดี ก็มักถูกชักจูงให้หลงเชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม /ต้องการความรำรวย ก็ตกเป็นเหยื่อหวย การพนันตามช่องทางต่างๆ. การไม่รู้เท่าทันสื่อต่างๆ การขาดความรู้ จึงมักจะถูกหลอกล่อให้หลงเชื่อได้ง่าย ใช้คำพูดเกินจริง สร้างจุดตื่นเต้นให้กับการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้จำหน่ายสินค้าได้
ปริมาณมากกว่าปกติ จึงเป็นการยากที่จะควบคุมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และการมีเสรีในการคิดสร้างสรรค์ บทลงโทษที่ไม่หนักพอสำหรับผู้โฆษณาที่ผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณ
แนวทางแก้ไขควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1...หลักจริยธรรมสื่อวิทยุโทรทัศน์
-การเป็นผู้นำความงามและความจริง ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ไม่น าเสนอเรื่องลามก อนาจาร
-ผู้ประกอบวิชาชีพกระจายเสียงและโทรทัศน์ ยึดถือแนวปฏิบัติและธ ารงไว้ซึ่งมาตราฐานจรรยาบรรณและ
จริยธรรม เสนอสาระประโยชน์ และสร้างสรรค์ความบันเทิง ควบคู่กับคุณธรรม
1
2....ปฏิบัติตามข้อกฏหมาย
-ถ้าไม่มั่นใจว่าโฆษณาของเราผิดต่อกฏหมายหรือไม่ ให้ส่งเรื่องเพื่อตรวจสอบตามมาตรา 29
-ไม่หลอกลวงประชาชน สารที่เป็นส่วนผสมต้องมีใบผ่านการทดสอบแล้วจากแพทย์ แล้วนำมาแสดงในโฆษณาด้วย
1
3....ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพโฆษณา
-ซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม มุ่งสื่อสารให้ประชาชนผู้รับสารได้ตระหนักรู้ถึงที่มาที่ไปตลอดจนจุดมุ่งหมายของเนื้อหาในการสื่อสาร ไม่แอบแฝงอ าพราง
1
4....ปฏิบัติตามจริยธรรมสื่อสารมวลชนประกอบด้วยหลักสำคัญๆ4 ประการ ที่พึงยึดถือเป็นสำคัญ-การมุ่งสร้างสังคมที่มีเหตุมีผล ไม่มอมเมาประชาชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงว่าโฆษณาของ
เราสร้างสรรค์อะไรให้กับสังคมบ้างที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราด้วย เนื้อหาไม่เกินความจริง ไม่โอ้อวดสรรพคุณ อาหารเสริมทานเสริมจากการทานอาหาร
1
-เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และพึงผลิตเนื้อหาที่สามารถฟังได้ชมได้ทุกเพศทุกวัย อย่างท้วนทั่ว-มีความศัทธรา ต่อเสรีภาพ ไม่มุ่งหวังความพึงพอใจโฆษณาจากนายทุนเจ้าของสินค้าโดยไม่ค านึงถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อผู้บริโภค ผลิตเนื้อหาที่มีความเป็นกลางพอใจทั้งนายจ้างและไม่ผิดศีลธรรม ไม่
ล่อลวง เอาเปรียบผู้บริโภค-อดทนอดกลั้นต่อความไม่ถูกต้อง และยึดมั่นในพื้นฐานกฎกติกาสังคม ถ้าสินค้ามีส่วนผสมของสารที่อาจมีอันตรายต่อผู้บริโภคถ้าใช้ต่อเนื่อง ต้องมีคำเตือนโฆษณาในหน้าจอ ไม่บิดเบือนความไม่ถูกต้อง
กรณี
1
หากผู้ผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือผู้ประกอบอาชีพทั่วไปแบบเราๆ ท่านๆ รู้จักข้อกฎหมาย และคำนึงถึงหลักจริยธรรมในการประกอบสัมมาชีพ สังคมก็จะดีโดยไม่ต้องพึงใครอีก แต่ทว่า ทุกฝ่ายมุ่งทำไปเพื่อประโยชน์สูงสุดส่วนตนเป็นสำคัญตามกลไกแห่งกำไรในระบบทุนนิยม กรรมการแห่งหน่วยงานภาครัฐอย่าง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานองค์การอาหารและยา หรืออ.ย. ต้องปรับทิศทำงานเชิงรุก ตรวจสอบสิ่งที่เห็นว่า ผิด ว่า ร้าย ว่าอันตรายต่อประชาชนอยู่ตรงหน้า ไม่ต้องรอเวลา ให้เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์ของประชาชนก่อนจึงค่อยเดินทาง การสร้างความร่วมมือเครือข่ายกับสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เป็นส่ิงสำคัญจำเป็นเร่่งด่วยที่จะยกระดับวิถีโฆษณาไทยให้ไปไกลกว่าความเน่าเฟะในปัจจุบัน
โฆษณา