7 ก.พ. 2022 เวลา 05:36 • การศึกษา
Media - Medium - Message สื่อสารอลเวงใต้เงาบงการ
1
ทั้งประเทศนี้คงมีไม่กี่คน ที่จำแนกแยกแยะความ เป็นสื่อ สื่อกลาง และสื่อสาร ออกได้นัก ซึ่งมักนำไปสู่ปัญหาในการใช้งาน และกำกับดูแล และนั้นเป็นส่วนสำคัญแห่งความอลเวง อลหม่าน กับสังคมมนุษย์เรื่อยมา แม้แต่ผู้ถามหาจริยธรรมสื่อ หมายถึงจริยธรรมที่ตัวสื่อ หรือตัวสื่อกลาง หรือตัวสารกันแน่ ลองแลหาส่วนหนึ่งของคำตอบได้จาก มุมมองของ ภัทรเศรษฐ์ เจริญทองนิธิโชติ
1
หากให้อธิบายถึงหลักการเบื้องต้นของการสื่อสารของมนุษย์การไม่กล่าวถึง สื่อ (Media) ช่องทางหรือตัวกลาง (Medium) และ สารหรือข้อความ (Message) ก็คงเป็นการยากที่จะสามารถอธิบายบทบาทหน้าที่และ
ความสัมพันธ์ต่อแนวคิดการสื่อสารต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ ผู้เขียนจึงขออธิบายความหมายของคำทั้งสามคำไว้ ดังนี้
การสื่อสารมีหลักการพื้นฐานคือ ผู้ส่ง (Sender) ต้องการจะส่งสาร (Message) ผ่านช่องทางในการสื่อสารต่าง ๆ (Channel) เพื่อให้สารนั้นไปให้ถึงผู้รับ (Receiver) เช่น นาย A พูดกับนาย B ว่า “ฉันหิวข้าว” นาย A ถือ
เป็นผู้ส่งสาร ซึ่งสารของนาย A คือตนหิวข้าว และช่องทางที่นาย A ใช้ในการส่งสาร คือการใช้ปากพูดเปล่งเสียงออกมา เสียงที่ออกมานั้นจึงเป็นตัวสื่อ (Media) ซึ่งเป็นตัวกลางที่น าพาไปสู่นาย B ซึ่งเป็นผู้รับสารของนาย A
1
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าตัวสื่อ (Media) นั้นเป็นที่อยู่ของสาร (Message) และช่องทาง (Medium) ก็เป็นสิ่งที่ขนส่งสาร (Message) ให้ไปถึงที่หมาย กล่าวคือตัวกลางหรือช่องทางมีหน้าที่แบกรับตัวสื่อที่
มีสารให้ไปถึงที่หมายหรือถึงมือผู้รับตามความต้องการของผู้ส่งเองหรืออาจเป็นความต้องการของตัวกลางเองก็ได้สิ่งสำคัญที่น่าสนใจคือ สารไม่เคยมีอยู่จริง สารที่ถูกส่งนั้นเป็นเพียงแค่การประกอบสร้างความจริงจาก
จินตนาการของผู้คนเท่านั้น (Construction of Reality) ซึ่งวัตถุดิบในการสร้างสารก็คือระบบภาษา (Language)ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัจนภาษา หรือ อวัจนภาษา ดังนั้น
หากจะกล่าวในเชิงเปรียบเทียบว่า ตัวสื่อนั้นเป็นเสมือน
โรงงานที่มีไว้ประกอบสร้างความจริง ก็ไม่เกินจริงเท่าไรนักทั้งสามองค์ประกอบนี้ไม่ว่าจะเป็น สื่อ สาร และ ตัวกลาง ถูกนำมาประกอบสร้างเป็นแนวคิดทฤษฎี
ทางการสื่อสารมากมาย โดยแนวคิดแรกที่พัฒนามาจากหลักการการสื่อสารของมนุษย์โดยทั่วไปที่กล่าวมาข้างต้น
(Human Communication) คือ แนวคิดกระสุนวิเศษ หรือ Magic Bullet ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเมื่อโลกมีเทคโนโลยีคลื่นวิทยุกระจายเสียง ทำให้ตัวกลางหรือช่องทางการสื่อสารหลักเปลี่ยนเป็นการสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุกระจายเสียงแทนที่จะเป็นหนังสือพิมพ์ชื่อ “กระสุนวิเศษ” หรือ “เข็มฉีดยา” ของแนวคิดนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้ในเชิงเปรียบเทียบกับสารที่ถูกส่งออกไปจากวิทยุกระจายเสียงนั้นเป็นเหมือนกระสุนวิเศษที่สามารถยิงให้คนตายได้ หรือเข็มฉีดยาที่สามารถรักษาทุกโรคได้ดั่งใจต้องการ กล่าวคือ การให้ผู้รับสารได้รับสารที่มีเนื้อหาซ้ า ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชินและอุดมการณ์
1
หรือแนวคิดบางอย่างที่แฝงอยู่ในสารนั้นก็จะค่อย ๆ กลืนกินผู้รับสารไปเรื่อย ๆ เช่น ในยุคการปกครองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เขาได้ใช้แนวคิดการสื่อสารนี้ในการทำให้ประชาชนยอมรับและนับถือในตัวเขา โดยการปล่อยเสียงที่เคร่ง
ขรึมของเขาไปยังวิทยุกระจายเสียงตามเมืองต่าง ๆ ซ้ าไปซ้ ามา จนประชาชนเกิดการยอมรับและนับถือเขา เป็นต้น
จากแนวคิดกระสุนวิเศษที่กล่าวมาข้างต้น อาจมองว่า ตัวการที่ท าให้เกิดการสื่อสารในลักษณะนี้ขึ้นมาคือช่องทางของคลื่นวิทยุกระจายเสียง แต่สิ่งที่ส าคัญที่สุดหรือสิ่งที่จะสามารถส่งผลกระทบต่อผู้รับสารได้จริง ๆ ของ
เส้นทางการสื่อสารนี้คือ ผู้ส่งสารและตัวสื่อที่ถือครองสารไว้เนื่องจากในมุมมองของผู้เขียนแนวคิดกระสุนวิเศษมีขอบเขตค่อนข้างจ ากัด คือ ผู้รับสารจะต้องไม่สามารถเลือกใช้และมีความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อได้ (Uses &
Gratifications)
1
กล่าวคือ ไม่สามารถเลือกช่องทางการสื่อสารที่ตนเองจะเปิดรับได้หรือช่องทางการสื่อสาร ณ เวลานั้นน้อยมาก ไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ได้รับข่าวสารเหมือน ๆ กันผู้ส่งสารและตัวสื่อที่มีสารจึงเป็นตัวก าหนดว่าผู้รับสารจะได้รับสารแบบไหน รวมถึงตัวสื่อที่เป็นเพียงแค่เสียงนั้นทำให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารสามารถเกิดจินตนาการได้อย่างไร้ขีดจำกัดบนแก่นจินตนาการของสารที่ผู้รับสารได้
กำหนดมาไว้แล้ว ซึ่งมันสามารถทำให้ผู้ส่งสารเปลี่ยนแปลงแนวคิดและทัศนคติของผู้คนได้อย่างเหลือเชื่อตามตัวอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
ในเวลาต่อมาเมื่อโลกพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปอย่างรวดเร็ว เกิดภาพยนตร์ เกิดดาวเทียมกระจายภาพจนเกิดโทรทัศน์และยังไม่นับการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ท าให้ช่องทางหรือตัวกลางในการสื่อสารนั้น
เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งในระหว่างการพัฒนาของช่องทางการสื่อสาร รูปแบบและเส้นทางโครงสร้างของการสื่อสารของมนุษย์เริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด อิทธิพลของผู้ส่งสารต่อผู้รับสารเริ่มน้อยลง
2
เกิดแนวคิดการสื่อสารการสื่อสารสองจังหวะ (Two-step Flow Communication) ทีประกอบด้วยผู้น าทางความคิด (Opinion Leader) และการเสริมแรง (Reinforcement) ซึ่งสารจะส่งผลกระทบต่อผู้รับสารก็ต่อเมื่อผ่านองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ผู้รับเริ่มมีการเลือกที่จะเปิดหรือปิดรับสื่อตามหลักการใช้และความพึงพอใจในการเปิดรับสื่อ (Uses & Gratifications) เมื่อเลือกเยอะ ๆ ผู้รับสารก็จะเลือกแต่สิ่งที่ตนสนใจจนเกิดเป็นภาวะของเสียงก้องในห้อง หรือ
Echo Chamber ซึ่งเปรียบเปรยสารที่ผู้รับเลือกรับนั้นจะซ้ า ๆ กันเหมือนเสียงที่มันก้องอยู่ในห้องโถง
1
เมื่อแนวคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมาย โครงสร้างในการสื่อสารก็ย่อมเปลี่ยนแปลง เมื่อนักวิชาการคิดค้นแนวคิดเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกำหนด (Communication Technology Determinism) โดยมีประโยคสำคัญว่า “Medium as Message” แปลเป็นไทยว่า ช่องทางเสมือนสาร กล่าวคือ แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับตัวกลางหรือช่องทาง (Medium / Channel) มากที่สุด เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อสื่อที่ถือสารอยู่ในมือไปอยู่ในช่องทางที่ต่างกัน สารที่ผู้รับได้รับมักต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น การให้อธิบายลักษณะทางกายภาพของตุ๊กตาหมีสีขาว ตัวอ้วน ใน 3 ช่องทางได้แก่ การเขียนอธิบาย การพูดผ่านวิทยุและภาพยนตร์ เป็นที่
แน่นอนว่าผู้รับที่ได้รับสารจากคนบะช่องทางกันจะเห็นหมีสีขาว ตัวอ้วนไม่เหมือนกัน ดังนั้น แนวคิดนี้จึงบอกว่าแท้จริงแล้วตัวสื่อและสารนั้นถูกสร้างมาเพื่อให้เข้ากับช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ และขึ้นอยู่กับว่าผู้รับสาร
นั้นจะเปิดรับสารในช่องทางและรูปแบบไหนเสียมากกว่า
1
ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าสารนั้นเป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างจากความจริง เช่นเดียวกันกับ การสร้างสารเพื่อให้เข้ากับช่องทางการสื่อสาร เพียงแต่การเพิ่มขึ้นของช่องทางการสื่อสารและการเลือกที่จะเปิดรับสื่อของผู้รับ
การสร้างสารในแนวคิดนี้ไม่ได้สร้างมาเพื่อให้เข้ากับช่องทางการสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่มันแฝงแนวคิดอุดมการณ์บางอย่างของผู้ส่งสาร เพื่อให้เกิดอ านาจน า (Hegemony) ด้วยกลไกปราบปราม (Hard Power) จาก
ทางกฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งที่แสดงให้เห็นหรือพูดโดยตรง หรือแสดงให้เห็นจริงผ่านสื่อในช่องทางต่าง ๆ และกลไกกล่อมเกลาหรือ Soft Power จากสื่อผ่านช่องทางทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ครอบครัว ภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์ เพลง และวิทยุ เป็นต้น
1
สิ่งที่น่ากลัวคือกลไกการกล่อมเกลา เนื่องจากมันทำให้เกิดอำนาจนำทาง
อุดมการณ์ (Ideology Hegemony) ซึ่งมันจะประกอบสร้างการเข้าและถอดรหัสของสัญญะต่าง ๆ ที่เราเห็นในชีวิตประจำวันของเรา จนเราเกิดการบริโภคสัญญะ (Consumption of Sign) ตามที่อ านาจน าทางอุดมการณ์
(Ideology Hegemony) ต้องการให้เราเป็นในทุก ๆ ครั้งที่เรามีการรับชมหรือบริโภคสื่อ เราบริโภคสัญญะต่าง ๆ ลงไปด้วยทั้งสิ้น ซึ่งการ
ถอดรหัสสัญญะแต่ละตัวนั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย เช่น ประสบการณ์ จินตนาการ การถูกหล่อหลอมโดยอำนาจนำและ ความจริงที่สังคมประกอบสร้างขึ้นมาให้เรา เป็นต้น
การบริโภคสัญญะของเราเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าจะรับสื่อผ่านช่องทางไหน สื่อรูปแบบใด และเนื้อหาของสารแบบไหนก็ตาม ดังนั้นไม่ว่าเราจะเปิดรับสื่อมากขนาดไหน หากอ านาจน าแข็งแกร่งมากพอ เราก็เกิดการถอดรหัสจนถูกอำนาจนำนั้นกลืนกินอยู่ดี เช่น หากการเมืองในประเทศแบ่งเป็น 2 ฝ่าย เราอยู่ฝ่าย A ในตอนแรกเราเปิดรับสารแค่ฝ่าย A เราก็โดนอำนาจนำของฝ่าย A ครอบงำ เมื่อเราเปิดรับสารชองฝ่าย B เพิ่ม อำนาจนำของทั้งสองฝ่ายก็ครอบงำเรา
หรือแม้กระทั่งเมื่อเราเปิดรับสารจากทั่วทั้งโลก อำนาจนำจากประเทศมหาอำนาจของโลกของจะครอบงำเรา ซึ่งทั้งหมดยี้ล้วนเกิดขึ้นเพราะ สื่อ สารและตัวกลางทางการสื่อสารทั้งสิ้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้งสามของการสื่อสารนั้นก่อให้เกิดและมีความสันพันธ์กับแนวคิดต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญ กอปรกับการทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย เกิดความน่ายินดี แต่ความน่ายินดีนั้นก็แฝงไปด้วยปีศาจร้ายอันแสนน่ากลัวที่พร้อมจะครอบงำเราอยู่ทุกเสี้ยววินาที
โฆษณา