7 ก.พ. 2022 เวลา 13:10 • หนังสือ
จังหวะเวลาตามหลักวิทยาศาสตร์ คืออะไร?
มีจริงหรือไม่ ทำตามจังหวะเวลาอย่างไร
พบได้ในหนังสือเล่มนี้ครับ
หนังสือ When : The Scientific Secrets of Perfect Timing
หรือชื่อไทยคือ วิทยาศาตร์บนเข็มนาฬิกา
1
หนังสือที่จะพาเราไปสำรวจ ‘จังหวะเวลา’
มันส่งผลต่อคนเรามากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะนำมันมาปรับใช้ในชีวิตเราอย่างไร
พบได้ในเล่มนี้ครับ
เนื่องจากเล่มนี้มีรายละเอียดมากพอสมควรที่น่าสนใจ
ผมจึงเลือกโพสนี้เป็นข้อคิด ข้อสรุปสั้นๆ
บางส่วนของหนังสือเล่มนี้มาฝากกันก่อน
และสรุป เล่าเรื่องที่น่าสนใจในโพสต่อๆไป ครับ
1 แต่ละคนมีประสบการณ์หนึ่งวันโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
คือ ระยะสูงสุด ระยะดิ่งลง ระยะฟื้นตัว
นั่นคือเหตุผลว่าทำไมในแต่ละวันเราถึงช่วงที่เราสดชื่น
และรู้สึกไม่อยากทำอะไรในแต่ละวันครับ
2 แต่ละคนมีจังหวะเวลาของตนเอง
เลือกทำแต่ละอย่างให้สอดคล้องกับตนเองครับ
3 ใช้เวลาให้คุ้มค่า ในตอนที่เหมาะสม
เช่น หากเราเป็นประเภทที่กระปรี้กระเปร่าตอนเช้า
ช่วงเช้าก็ควรทำงานที่ใช้ความคิดมากๆ
ไม่ควรนำเวลาไปทำอย่างอื่นที่ทำตอนอื่นได้ อย่างการเช็กอีเมลหรือเล่นโทรศัพท์
หากเวลานั้นไม่ใช่เวลาของเรา ก็ควรปรับตาม อาจจะทำงานเบาๆ
หรือระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น หากเลี่ยงเวลานั้นไม่ได้จริงๆครับ
1
4 เมื่อมีการหยุดพักบ้าง จะสร้างประโยชน์ได้อย่างดีครับ
แม้เวลาพักอาจจะไม่มีแต่ถ้าเราได้ขยับตัวบ้าง
ก็ดีกว่านั่งอยู่เฉยๆเป็นเวลานานครับ
1
5 มื้อเที่ยงก็ถือเป็นมื้อที่สำคัญอีกมื้อ
เพราะจะทำให้เราได้พักกจากตอนช่วงเช้า และพร้อมทำงานต่อช่วงบ่าย
มีงานวิจัยที่บอกว่า คนที่ใช้เวลาพักเที่ยง รับประทานอาหารในที่ ที่ไม่ใช่โต๊ะทำงาน
จะทำให้รับมือกับความเครียดในการทำงานได้มากกว่าคนที่กินข้าวบนโต๊ะไปด้วย ทำงานไปด้วยครับ
1
6 เจ็ดชั่วโมงหลังตื่นนอน คือเวลางีบหลับที่ดีที่สุด
งีบประมาณ 10-20 นาที จะช่วยเพิ่มความตื่นตัว
และความคล่องตัวด้านการคิดอย่างเห็นได้ชัด
1
7 การเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆจะสูงขึ้นในช่วงวันสำคัญต่างๆ เช่นวันปีใหม่ วันเกิด
เราจะมีพลังและกำลังใจในการทำสิ่งใหม่ๆมากครับ
ลองตั้งว่าจะทำอะไรในวันสำคัญต่างๆดูครับ
8 เมื่อเวลาผ่านไป จนถึงประมาณกึ่งกลาง
คนเราจะทำสิ่งต่างๆน้อยลง เช่น เวลามีงานที่มีกำหนด เราจะยังไม่ทำจนกว่าจะใกล้ๆถึงเวลา
แต่สามารถแก้ไขได้โดยการเตือนตัวเราว่า นี่ผ่านมาครึ่งหนึ่งแล้ว เหลือเวลาอีกเท่านี้เอง
เราเสียเวลามามากแล้ว และเริ่มทำได้ครับ
9 ข้อนี้ผมชอบส่วนตัวครับ
คือการหยุดเขียนกลางประโยค ยกตัวอย่างในการทำคอนเทนต์ของผม
นั่นคือเขียนไปได้ครึ่งหนึ่งหรือทำไปเรื่อย ๆ ก็ให้หยุดก่อนครับ
เพราะคนเราจะมีการจดจำภารกิจที่ยังไม่เสร็จได้ดีครับ
มันจะกระตุ้นให้เราอยากทำสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นครับ
10 จากการศึกษาหลายครั้งพบว่า
เมื่อมีเรื่องดีและเรื่องร้าย อยากฟังเรื่องไหนก่อน
พบว่ากว่า 4 ใน 5 คนชอบฟังเริ่มต้นที่การขาดทุนหรือผลลัพธ์ด้านลบก่อน
จึงเลือกฟังเรื่องที่เป็นข่าวร้ายก่อนครับ
1
11 จุดสิ้นสุดเป็นทั้งเรื่องดีและร้าย
มันอาจบิดเบือนความจริง บิดเบือนความทรงจำเรา
แต่บาทีมันอาจจะให้กำลังใจเราในการทำสิ่งๆนั้นต่อไปได้ครับ
1
12 การสัมผัส การทำสิ่งต่างๆพร้อมเพรียงกัน
คือ สิ่งที่จะทำให้เรามีความพร้อมเพรียงและมีความรู้สึกเป็นกลุ่มมากขึ้นได้
1
13 ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีจังหวะเวลาของมัน และแต่ละอย่างพบได้ในเล่มนี้ครับ
เขียนโดยคุณ Daniel H. Pink
แปลโดยคุณวิโรจน์ ภัทรทีปกร
นี่เป็นเพียงสรุปสั้นๆของเล่มนี้ครับ
ผมจะสรุปเรื่องที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้
เพิ่มเติมในโพสต่อๆไปครับ
ใครสนใจพิมพ์ ‘สนใจ’ ไว้ได้เลยครับ
คิดเห็นอย่างไรบอกกันได้ครับ
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา