Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Agnos แอป AI ตรวจโรคด้วยตัวเอง
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2022 เวลา 07:35 • สุขภาพ
อาการคัน มองข้ามไม่ได้นะ !
3 โรค ที่เริ่มต้นจากอาการเล็กๆน้อยๆ อย่างอาการคัน
เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)
เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง
ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย(Bacterial Vaginosis)
เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียภายในช่องคลอด
พยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)
พยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อ Trichomonas vaginalis เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย
หากเริ่มมีอาการระคายเคือง หรือ คันเป็นระยะเวลานาน ลองมาปรึกษา Agnos ดูก่อนได้ แอปพลิเคชั่นที่ใช้ AI วิเคราะห์อาการป่วยเบื้องต้น
สามารถดาวน์โหลด และใช้งานได้ฟรีแล้วที่นี่ 📲
http://onelink.to/2fryfd
1.เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)
เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง
การเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นปัญหาที่พบมากในผู้หญิง โดยผู้หญิงทุก 3 ใน 4 คนเคยเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
อาการ:
- คันอย่างรุนแรงบริเวณปากช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด
- มีอาการแสบร้อน (ขณะมีเพศสัมพันธุ์ , ปัสสาวะ)
- ตกขาว (สีขาวข้น มีน้ำใสๆ จับตัวเป็นก้อน)
- เกิดผื่นแดง (บริเวณอวัยวะเพศ และรอบๆต้นขา)
โรคเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อรามากกว่าปกติภายในช่องคลอด จนเสียสมดุล โดยปกติเชื้อราเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามช่องปาก อวัยวะเพศ ระบบทางเดินอาหาร หรือบนผิวหนังของคนเราในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อเชื้อราเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้นจึงพัฒนาให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ เชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออาจเกิดได้จากหลายสายพันธ์ุ แต่สายพันธ์ุที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในช่องคลอดได้มากที่สุดมีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่ม แคนดิดา (Candida)
ระยะเวลา : ไม่กี่ชั่วโมงจนถึงสัปดาห์ บางรายถึงเดือน +
สาเหตุ :
- การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ซึ่งจะไปลดปริมาณแบคทีเรีย แลคโตบาซิลลัส และทำให้ค่าความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอดเสียสมดุล
- การตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้
สภาวะของร่างกายที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
- เป็นโรคทางผิวหนังอื่น ๆ นำมาก่อน เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังอื่น ๆ
- มีภาวะโรคอ้วน
- การรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัดหรือการรับประทานยาคุมกำเนิดในปริมาณสูง ซึ่งจะไปเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน
- การสวนล้างช่องคลอดหรือการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยบริเวณช่องคลอดบ่อย ๆ อาจทำให้เสียสมดุลภายในช่องคลอด
การรักษา :
- ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคไม่รุนแรงสามารถซื้อยาต้านเชื้อราที่ขายทั่วไป ควบคู่กับการดูแลตนเองได้จากที่บ้านโดย
2.ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย(Bacterial Vaginosis)
เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียภายในช่องคลอด อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง คัน และมีตกขาวผิดปกติ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีช่วงอายุ 15-49 ปี
อาการ : มีอาการตกขาวผิดปกติโดยจะมีสีเขียว สีขาว หรือสีเทา มีลักษณะเป็นน้ำ เป็นฟอง หรือเป็นแผ่น และมีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา จะมีลักษณะอาการคล้าย อาการเชื้อราในช่องคลอด
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
2.ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย(Bacterial Vaginosis)
เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียภายในช่องคลอด อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง คัน และมีตกขาวผิดปกติ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีช่วงอายุ 15-49 ปี
อาการ
มีอาการตกขาวผิดปกติโดยจะมีสีเขียว สีขาว หรือสีเทา มีลักษณะเป็นน้ำ เป็นฟอง หรือเป็นแผ่น และมีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา จะมีลักษณะอาการคล้าย อาการเชื้อราในช่องคลอด
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
- มีลักษณะตกขาวเปลี่ยนไป ร่วมกับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
- มีไข้
- มีการติดเชื้อที่ช่องคลอดอยู่ก่อนหน้า แต่ตกขาวมีสีและลักษณะเปลี่ยนไป
- มีคู่นอนหลายคนหรือเพิ่งเปลี่ยนคู่นอนใหม่ แล้วมีสัญญาณและอาการของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกับอาการภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้ยารักษาการติดเชื้อราที่ช่องคลอดด้วยตนเอง แต่อาการยังไม่ดีขึ้น
สาเหตุ :โดยทั่วไปในช่องคลอดจะมีทั้งแบคทีเรียชนิดที่ดีอย่างแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) และชนิดที่ไม่ดีอย่างแอนแอโรบส์ (Anaerobes) ซึ่งหากมีแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีมากจนเกินไปจะทำให้ปริมาณแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลและเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้
ปัจจัยอื่น :
- การสูบบุหรี่
- การสวนล้างช่องคลอด
- การใส่ห่วงคุมกำเนิด โดยเฉพาะในสตรีที่มีประจำเดือนกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
- การตั้งครรภ์ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิด Bacterial Vaginosis มากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์
- การไม่สวมถุงยางอนามัยหรือไม่ใช้แผ่นยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
การรักษา
*การไปหาแพทย์ ผู้ป่วยห้ามทำความสะอาดหรือใช้สเปรย์พ่นช่องคลอดก่อนรับการตรวจ เพราะอาจไปดับกลิ่นที่ช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์ และอาจเกิดอาการระคายเคือง
*ควรนัดวันไปพบแพทย์ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือนด้วย
- การตรวจภายใน แพทย์อาจวินิจฉัยอาการได้จากการสังเกตบริเวณโดยรอบช่องคลอด เช่น มีกลิ่นเหม็น หรือมีตกขาวผิดปกติหรือไม่ แพทย์อาจใช้มือข้างหนึ่งตรวจในช่องคลอดและใช้มืออีกข้างกดบริเวณหน้าท้อง หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์ตรวจดูภายในช่องคลอด เพื่อตรวจสอบอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานและหาสัญญาณของการติดเชื้อภายใน
- การตรวจตกขาว แพทย์จะนำตัวอย่างของตกขาวที่เก็บได้ภายในช่องคลอดออกมาตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นภาวะ Bacterial Vaginosis หรือไม่
- การตรวจวัดค่า pH วิธีนี้จะใช้ตรวจสอบความเป็นกรดภายในช่องคลอด โดยระดับค่า pH ที่ 4.5 หรือมากกว่า จะถือเป็นสัญญาณของภาวะ Bacterial Vaginosis
3. พยาธิในช่องคลอด(Trichomoniasis)
ภาวะติดเชื้อปรสิตจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ผู้หญิงมีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศ
ผู้หญิง
- ช่องคลอดส่งกลิ่นเหม็น
- มีตกขาวสีเขียวและเป็นฟอง
- เจ็บขณะปัสสาวะ
- อาจทำให้หญิงมีครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ผู้ชาย : สามารถติดเชื้อได้เช่นกันแต่มักไม่แสดงอาการ โดยผู้ที่ติดเชื้อควรรับประทานยาปฏิชีวนะจนกว่าจะหายดี แต่บางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำได้
- การติดเชื้อในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ แต่อาจมีอาการได้ตั้งแต่ 5-28 วันขึ้นไป
อาการ :
- มีตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวเป็นฟอง ซึ่งอาจเป็นสีขาว เทา เหลือง หรือเขียว และอาจส่งกลิ่นเหม็นคาวปลา
- มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
- บวม แดง คัน หรือรู้สึกแสบบริเวณอวัยวะเพศ
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- เจ็บปวดขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์
*ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการเหล่านี้
สาเหตุ : พยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas Vaginalis ที่ตรวจพบได้จากน้ำในช่องคลอดหรือน้ำอสุจิของผู้ป่วย ซึ่งติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และผู้หญิงสามารถติดเชื้อนี้ได้ทั้งในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ
กลุ่มเสี่ยง :
- ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- มีเพศสัมพันธุ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
- เคยเป็นโรคนี้ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์โรคอื่นๆ
การรักษา :
- ต้องรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- งดดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยาเมโทรนิดาโซลหรือทินิดาโซล และอย่างน้อย 3 วันหลังหยุดใช้ยา เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หรือผิวแดง
- งดมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษาและหลังจากหายเป็นปกติอย่างน้อย 1 สัปดาห์ (ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น)
- ปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ หากแพ้ยาเมโทรนิดาโซลหรือทินิดาโซล
- หญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาเมโทรนิดาโซลหรือทินิดาโซล เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองหรือทารกได้ โดยเฉพาะหากรับประทานยาปริมาณมากในครั้งเดียว
- ยาเมโทรนิดาโซลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกถึงรสโลหะในปาก เป็นต้น
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย