Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิต ∙ อิคิ ∙ 生き : ใช้ชีวิตแบบที่อยากมีชีวิต
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2022 เวลา 22:58 • ความคิดเห็น
🗓• บันทึกการอ่าน 20220205
🎋• Feng Shui and Money
✍🏻• Eric Shaffert เขียน | ชนิกานต์ เลิศศักดิ์วิมาน แปล [ ชมพู่ AVP#4 ]
🔖• สัปดาห์ที่เจ็ด || ค้นหาภารกิจของคุณ
[ Feng Shui and Money ]
ทุกครั้งที่เราให้หรือรับเงินคนอื่น เราจะทำให้พลังงานหมุนเวียนในจักรวาลส่งผลต่อโลก
ลองถามตัวเองว่าเรารู้สึกอย่างไรตอนจ่ายเงิน
• เราจ่ายแบบไม่ลังเล จ่ายด้วยความรู้สึกขอบคุณ รู้สึกดีที่ให้เงินคนอื่นไหม [ อิคิ ∙ 生き : จ่ายด้วยความ [ Appreciate ] ชื่นชม ยินดี ในสิ่งที่ผู้อื่นทำ หรือไม่ ]
• หรือเรารู้สึกไม่เต็มใจ ถูกบังคับให้ต้องจ่าย
หากเรามองว่าทุกการใช้จ่ายคือการ “บริจาคเงิน” เชิงจิตวิญญาณ เราควรรู้สึกว่า . . .
• หากบุคคล บริษัท ห้างร้านใด ที่เราเห็นคุณค่า ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น หน้าที่ของเราคือต้องสละเงินของเราให้กิจการของเขา
[ อิคิ ∙ 生き ]
อิคิ ∙ 生き เห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นมากค่ะ ทุกครั้งที่เราต้องจ่ายเงิน หากเราจ่ายด้วยความรู้สึกยินดี เต็มใจ พร้อมส่งมอบความปรารถนาดีไปยังผู้รับ ชีวิตเราจะดำเนินไปด้วยจิตใจของการเป็นผู้ให้ที่โรยไปด้วยความพอใจ เบิกบาน และ มีความอิ่มเอมในชีวิต
ในขณะเดียวกันการมีจิตใจของการเป็นผู้ให้ ก็จะส่งผลให้เราพร้อมที่จะเป็นผู้รับด้วยความภูมิใจ ยินดี และอิ่มเอมเช่นเดียวกันค่ะ เพราะถ้าเราให้ใครด้วยความรู้สึกยินดีเต็มใจ เราก็จะรับรู้ได้เช่นเดียวกันว่า คนที่ให้เราเขาก็รู้สึกแบบนั้นเช่นกัน ดังนั้นการรับและมอบก็จะเป็นพลังงานดี ๆ ที่เราควรมีให้เพื่อนมุนษย์ค่ะ
[ Feng Shui and Money ]
หลักการนี้ยังใช้กับงานที่เราทำได้ด้วย หากเราคิดว่างานที่เราทำมันมีคุณค่า เราก็มีสิทธิเชิงจิตวิญญาณที่จะต้องได้รับค่าตอบแทนจากคุณค่าความสำคัญในตัวงานที่เราทำ
หากเราไม่คิดเงินให้เหมาะสม เราไม่เพียงแต่ลดทอนคุณค่าของสิ่งที่เราควรได้ แต่ยังทำให้ภาพลักษณ์ของงานที่เราทำนั้นดูแย่ลง
ไม่ใช่เอาเรื่อง “เมตตา” หรือเรื่องเชิงจิตวิญญาณมาอ้างแล้วลดทอนคุณค่าของตัวเองหรืองานของตัวเองได้
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเห็นว่าการแลกเปลี่ยนเงินเป็นเรื่องการสนับสนุนไม่ใช่เรื่องหน้าที่แล้ว เมื่อนั้นเราได้ปลดตัวเองจากจิตสำนึกความจนได้
[ อิคิ ∙ 生き ]
เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ อิคิ ∙ 生き เห็นด้วยมากค่ะ ส่วนตัว อิคิ ∙ 生き จะเลือกทำงานกับคนที่เห็นคุณค่าในงานของเราเสมอ ซึ่งปกติ อิคิ ∙ 生き จะประเมินจากความรู้สึกที่ได้ร่วมงานกัน หากคนที่เราทำงานด้วยเห็นคุณค่าในงานของเรา เราจะสัมผัสได้เลยว่าเราและเขาเคารพซึ่งกันและกัน มอบความรู้สึกที่ดีต่อกันตลอดระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกัน
สัญลักษณ์ของความเคารพให้เกียรติมักถูกแสดงออกมาด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ. . .
• ความเคารพในกันและกัน
• สุภาพ ไม่ดูถูก ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน
• ตรงต่อเวลา หากไม่สามารถปฏิบัติตามเวลาที่นัดกันไว้จะมีการสื่อสารเสมอ
• มีความเกรงอกเกรงใจ
• มีความรู้สึกที่ดีให้กันและกัน มีความห่วงใย ส่งความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน
• รู้สึกขอบคุณในสิ่งที่แต่ละคนทำให้อย่างสม่ำเสมอ
• ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง ติดขัดตรงไหน ปรึกษาและบอกกล่าว
• ไม่เพิกเฉยกับอีกฝ่าย [ ส่งข้อความไปครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่อ่าน ไม่ตอบกลับ ]
• หากผู้ถึงเรื่องเงิน เมื่อเราประเมินค่าตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว คนที่เห็นคุณค่าของสิ่งที่เราทำจะเต็มใจที่จะให้ค่าตอบแทนเรา พร้อมความรู้สึกที่ขอบคุณ
ในทางกลับกันคนที่ไม่เห็นคุณค่างานของเราก็จะส่งพลังอีกแบบกลับมาค่ะ ตัวอย่างเช่น . . .
• ไม่เคารพซึ่งกันและกัน
• ไม่ตรงต่อเวลา เพิกเฉยต่อนัดหมาย
• ไม่ได้รู้สึกว่าใจถึงใจ ปฏิสัมพันธ์เพราะหน้าที่ ฉันเป็นลูกค้า เธอเป็นผู้ให้บริการ
• ไม่เกรงอกเกรงใจ
• ไม่ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ หลงลืมสิ่งที่รับปากไว้อย่างสม่ำเสมอ
• เพิกเฉยต่อการสนทนา
• หากกล่าวถึงเรื่องเงิน เขาจะไม่เต็มใจที่จะจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม อาจต่อรองราคาแต่ต้น มองงานของเราเป็นเพียงสินค้าที่มีไว้ต่อราคาเพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุดเท่านั้น
ปกติ อิคิ ∙ 生き จะมีเกณฑ์ในใจก่อนที่จะลงมือทำงานกับใครคนใดคนหนึ่งอยู่ค่ะ สิ่งที่ อิคิ ∙ 生き ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ เรื่องความตั้งใจในการร่วมงานกัน ตรงต่อเวลา มีการสื่อสารต่อกันหากไม่สามารถทำตามนัดหมายได้
ในทางกลับกัน อิคิ ∙ 生き ก็จะตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากใครคนใดคนหนึ่งต่อรองราคางานของเราทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มปฏิสัมพันธ์กันมากพอ หรือพูดอีกอย่างว่าเห็นตัวเงินเป็นเรื่องหลักและคุณค่างานที่เราทำเป็นเรื่องรอง หากเป็นเช่นนี้ตั้งแต่ต้น อิคิ ∙ 生き จะมองว่าเราและเขาอาจไม่เหมาะสมกัน
การตัดสินใจไม่ร่วมงานกันตั้งแต่ต้น เป็นการปลดปล่อยศักยภาพซึ่งกันและกัน ตัวเราเองก็จะได้มีเวลาไปดูแลคนที่มีความตั้งใจและเห็นคุณค่าในงานเรา ส่วนอีกฝ่ายก็จะได้ทำงานกันคนที่ให้ข้อเสนอด้านมูลค่าดีที่สุดในแบบที่เขาต้องการค่ะ
สำหรับการทำงานวางแผนการเงิน จะเป็นงานที่ อิคิ ∙ 生き ไม่เคยได้รับเงินตรง ๆ จากลูกค้าเลย สิ่งที่ได้คือส่วนแบ่งจากบลจ.ที่ลูกค้าซื้อกองทุนผ่านบัญชีที่เปิดกับเรา ซึ่งปกติรายได้จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 3,000 บาทต่อปี ต่อเงินลงทุนของลูกค้าที่ 1 ล้านบาท หากเราเอาจำนวนดังกล่าวหารเป็นต่อเดือนก็จะอยู่ที่ 125 - 250 บาทต่อเดือนเท่านั้นค่ะ การได้ส่วนแบ่งนี้ลูกค้าจะไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติมอะไร เพราะทางบลจ.แบ่งส่วนของบลจ.ให้ค่ะ
ดังนั้น อิคิ ∙ 生き จึงมักถูกถามจากลูกค้าที่ใกล้ชิดแทบทุกคนว่า อิคิ ∙ 生き ทำแล้วได้เงินจากตรงนี้ไหม ได้เท่าไหร่ มันโอเคไหม และทุกคนจะรู้สึกพอใจหรือดีใจที่เราได้เงินจากจุดนี้ ลูกค้ากลุ่มนี้มักมองว่าเค้าจะต้องลงทุนอยู่แล้ว หากให้เราซึ่งเป็นคนใกล้ชิดดูแลเรื่องแผนการเงิน แทนที่คนอื่นจะได้ส่วนแบ่ง ให้คนใกล้ชิดดูแลดีกว่า อย่างน้อยเราก็เป็นคนได้
อิคิ ∙ 生き เองก็มักจะรู้สึกขอบคุณลูกค้ากลุ่มนี้เสมอ เพราะการมีโอกาสดูแลลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ท่านนี้ ส่งผลให้ อิคิ ∙ 生き สามารถดูแลลูกค้ารายที่เล็กลงด้วยมาตรฐานที่ดูแลลูกค้ารายใหญ่ได้ โดยไม่ต้องนำเรื่องผลตอบแทนมาเป็นข้อจำกัดในการเลือกให้บริการลูกค้า
จะมีเพียงสามสิ่งที่ อิคิ ∙ 生き ขอ [ ในใจ ] จากลูกค้า นั่นคือ . . .
• ความตั้งใจในการทำงานร่วมกัน
• ความยินดีเต็มใจในการสนับสนุนกันและกัน
• ความเคารพและให้เกีรยติซึ่งกันและกัน
หากลูกค้ามีคุณสมบัติสามอย่างนี้ อิคิ ∙ 生き จะรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากในการทำหน้าที่อย่างสุดกำลัง
ส่วนเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะมองข้ามไปบ้าง เช่น การที่เราทำงานกับใครมาสักพักเราพอจะรู้ว่าลูกค้าท่านไหนเป็นอย่างไร มีโจทย์ชีวิตอย่างไร เช่น ยุ่งมากไม่มีเวลาอ่านไลน์ ไม่ได้ตอบกลับทุกครั้ง หรือการบ้านที่ต้องทำอาจใช้เวลานานมาก หรือ บางทีเราจะต้องเตือน ติดตาม ทวงถามบ้าง
ในส่วนนี้ อิคิ ∙ 生き ถือเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะมองข้ามไปอย่างเข้าใจ เพราะระหว่างการสื่อสาร อิคิ ∙ 生き จะสัมผัสได้จาก Energy ที่ไม่ได้ตั้งใจในการเพิกเฉยแต่ติดข้อจำกัดบางอย่าง ที่ลูกค้าส่งกลับมาให้ค่ะ เช่น อุ๊ยลืมไปเลยเดี๋ยวรีบจัดการให้นะคะ หรือ ทำช้าแต่ก็ทำน้าาาา ☺️
สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด อิคิ ∙ 生き เพียงแค่ต้องการสื่อสารว่า เราต้องให้เกียรติตัวเรา งานของเรา ด้วยการทำงานอย่างสุดกำลังกับคนที่เห็นคุณค่าในงานที่เราทำค่ะ ทุกความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนจะเกิดจากการมีโอกาสได้ให้และรับซึ่งกันและกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับหรือให้อย่างเดียว จะส่งผลให้เกิดความ “ไม่” สมดุลในความสัมพันธ์ ส่งผลให้ความสัมพันธ์เหล่านั้นไม่มีคุณภาพ และไม่ยั่งยืน
ส่วนตัวมองว่าการเป็นผู้ให้ที่ดีคือให้ด้วยความเต็มใจ พร้อมส่งความปรารถนาดีไปยังผู้รับ ส่วนการเป็นผู้รับที่ดี ก็รับด้วยความรู้สึก ภูมิใจในตัวเอง ยินดีในสิ่งที่ได้รับ ขอบคุณผู้ที่ส่งความปรารถนาดีให้กับเรา
สำหรับวันนี้ อิคิ ∙ 生き ของส่งความปรารถนาดีไปให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนเลยนะคะ แล้วพบกับ อิคิ ∙ 生き ใหม่
ในบทความหรือบันทึกการอ่านตอนต่อ ๆ ไปนะคะ สวัสดีค่ะ 🙏🏻😊
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
หนังสือ•คือ•ชีวิต
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย