10 ก.พ. 2022 เวลา 08:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
FB Beryl
ประวัติความเป็นมา
ปลย. FB Beryl หรือชื่อในกองทัพโปแลนด์คือ 5,56 mm karabinek szturmowy wz. 1996 (ปืนเล็กยาวจู่โจมขนาด 5,56 ปี 1996) เป็นอาวุธปืนเล็กยาวจู่โจมใช้กระสุนขนาด 5.56x45มม. นาโต้ ออกแบบและผลิตโดยโรงงาน Łucznik Arms Factory เมือง Radom (ปัจจุบันคือบริษัท FB "Łucznik" Radom) ปลย.รุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแทนที่ ปลย.AKM ขนาดกระสุน 7.62x39มม. และ ปลย. Kbk wz. 88 Tantal ขนาดกระสุน 5.45x39มม. ที่ถูกใช้งานโดยกองทัพโปแลนด์
ปลย. FB Beryl
ปลย. FB Beryl
ตัวปืนถูกออกแบบในปี ค.ศ.1995-96 และถูกนำเข้าประจำการในกองทัพโปแลนด์ในปี ค.ศ.1997 โดยใช้พื้นฐานการพัฒนามาจาก ปลย. Kbk wz. 88 Tantal ในทางกลับกันต้นตระกูลของ ปลย.ตระกูลนี้อย่าง ปลย. Kbk wz. 88 Tantal นั้นก็มาจากการได้สิทธิบัตร ปลย.AK-74 ของสหภาพโซเวียตมาดังนั้นจะบอกว่า ปลย. FB Beryl นั้นต้นตระกูลดั้งเดิมมาจาก ปลย. AK-74 ก็ได้ นอกจากนี้ในโรงงาน Łucznik Arms Factory ยังมีการพัฒนารุ่นปืนเล็กสั้นอย่าง FB Mini-Beryl ซึ่งชื่อในกองทัพโปแลนด์คือ 5,56 mm karabinek krotki wz. 1996 ซึ่งตั้งใจผลิตออกมาเพื่อให้พลรถถังและหน่วยรบพิเศษใช้งานมีพื้นฐานมาจาก ปลส. AKS-74U ของสหภาพโซเวียต
นอกจากนี้ปลย.ตระกูล FB Beryl ยังมีการทำรุ่นสำหรับพลเรือนยิงโหมดกึ่งอัตโนมัติขายอีกด้วย. และรุ่นที่ใช้กระสุนขนาด 7.62x39มม. นั้นมีชื่อว่า FB Beryl M762 ซึ่งถูกพัฒนาและผลิตในช่วงที่โรงงาน Łucznik Arms Factory นั้นแปรสภาพเป็นบริษัท FB "Łucznik" Radom สำหรับการส่งออกปัจจุบันมีลูกค้าคือกองทัพไนจีเรียสำหรับ FB Beryl M762
พลร่มโปแลนด์กับ ปลย. FB Beryl
ปลส.FB Mini-Beryl
ปลส.FB Mini-Beryl
คุณลักษณะของตัวปืน
ปลย. FB Beryl นั้นมีคุณลักษณะโดยรวมทั้งชิ้นส่วนต่าง ๆ และระบบปฏิบัติการคล้ายคลึงกับ ปลย. Kbk wz. 88 Tantal แต่ส่วนสำคัญที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ มันใช้กระสุนคนหละขนาดกัน, นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกันคือ ลำกล้อง,โครงปืน,พานท้าย,ด้ามปืน,ปลอกสลดแสง,ศูนย์ปืน และ ซองกระสุน หากมีการติดตั้งกับชุดแปลงบ่อซองกระสุนนั้นมันจะสามารถใช้ซองกระสุนของ ปลย.M16 ได้
ตัวปืนใช้ลำกล้องความยาว 18 นิ้วเกลียว 1:9 ลำกล้องมีส่วนที่อยู่ภายนอกตัวปืน (นับจากรังเพลิงจนถึงฐานศูนย์หน้า) คล้าย ๆ กับ ปลย. Kbk wz. 88 Tantal แต่ความยาวจากฐานศูนย์หน้าถึงศูนย์หลังของ ปลย. FB Beryl นั้นจะมีมีรูปร่างเรียวที่มองเห็นได้โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลดลงไปทางปลายปากกระบอกปืน ใช้สำหรับติดตั้งตัวปลอกลดแสงให้ตรงจุด
ปลอกลดแสงของตัวปืนนั้นสามารถใช้ติดตั้งลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กได้ ตัวปลอกลดแสงนั้นมีความเรียวเล็กน้อย ในบริเวณด้านหน้าปลอกลดแสงนั้นมีจุดยึดสำหรับเวลาติดดาบปลายปืน และ อีกจุดตรงบริเวณด้านล่างศูนย์หน้า ตรงปลอกลดแสงจะมีรูเจาะระบายไว้ 6 จุด รูเหล่านี้เจาะแบบไม่สมมารตบริเวณรอบปลอกลดแสงมันมีหน้าที่เพื่อทำให้ตัวปืนมีสเถียรภาพมากขึ้นระหว่างที่ผู้ยิงทำการยิงต่อเนื่อง ตัวปลอกลดแสงนั้นสามารถติดตั้งปลอกทวีแรงถอยได้โดยภายในปลอกลดแสงจะมีการทำจุดไว้ยึดสำหรับติดตั้งปลอกทวีแรงถอยอยู่ บริเวณกลางปลอกลดแสงจะมีการทำร่องเกลียวเป็นรูปแหวนวนของปลอกลดแสงเพื่อใช้ยึดลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กอยู่
โครงปืนของ ปลย. FB Beryl นั้นมีการปรับปรุงหลายจุดจาก ปลย. Kbk wz. 88 Tantal มันมีการเสริมชุดยึดฐานพานท้ายเพื่อให้มีความแช็งแรงขึ้นและมีจุดยึดสำหรับชุดรางพิคาทินี่ที่ออกแบบมาสำหรับ ปลย. FB Beryl โดยเฉพาะ
พานท้ายเหล็กพับข้างของ ปลย. FB Beryl นั้นมีการเคลือบฟิล์มหด. ตัวพานท้ายเหล็กนั้นมีแผ่นรองพานท้ายติดตั้งไว้บริเวณด้านหลังพานท้ายแผ่นรองพานท้ายนั้นทำมาจากยางเพื่อความกระชับในการประทับเล็ง ตัวปืนรุ่นใหม่ ๆ นั้นจะมีการเปลี่ยนไปใช้พานท้ายแบบปรับระดับได้แบบ ปลส.M4 แต่ก็ยังคงพับข้างได้เช่นเดิม
ประกับล่างของตัวปืนนั้นมีการออกแบบให้มีลักษณะทำมุมเอียงเพื่อให้ผู้ยิงนั้นจับปืนได้มั่นคงขึ้น บริเวณด้านล่างของประกับลำกล้องนั้นจะมีจุดไว้สำหรับยึดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40มม. แบบ 5,56mm karabinek-granatnik wz.1974 อยู่ (ปลย. FB Beryl รุ่นแรก ๆ นั้นจะไม่มีจุดยึดตรงนี้โดยเวลาจะติดตั้ง ค.40มม. จะทำการติดตั้งโดยร่องบริเวณประกับลำกล้องด้านข้างแทน) ภายหลังมีการเพิ่มประกับแบบรางพิคาทินี่ และ ประกับแบบมีด้ามจับในตัวเพิ่มมา
ระบบศูนย์ของ ปลย. FB Beryl นั้นมีคล้ายกันมากกับระบบศูนย์ของ ปลย. Kbk wz. 88 Tantal แต่แตกต่างกันตรงที่ระบบศูนย์ของ ปลย. FB Beryl จะมีการเพิ่มจุดยึดคู่ที่ด้านข้างของฐานศูนย์หลังซึ่งใช้ยึดกับตัวราง Picatinny ที่ออกแบบมาสำหรับ ปลย. FB Beryl โดยเฉพาะเพื่อสำหรับติดตั้งเครื่องช่วยเล็งต่อไปนี้: กล้องตรวจการณ์กลางคือแบบ PCS-6, กล้องเล็งจุดแดงแบบ CK 3, กล้องเล็งกำลังขยายแบบ LKA-4 และกล้องเล็งแบบ CWL-1 พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ อย่างไรก็ตามภายหลังกองทัพโปแลนด์ได้มีการเพิ่มกล้องเล็งแบบ EOTech 552 มาเพิ่มเติมแทน CK 3 และ กล้องตรวจการณ์กลางคือแบบ PCS-5M เพื่อเป็นตัวเลือกเพิ่มเติมจาก แบบ PCS-6 และ CWL-1 ที่มีขนาดที่ใหญ่
ซองกระสุนของ ปลย. FB Beryl นั้นทำมาจากวัสดุพลาสติกและไม่สามารถใช้งานร่วมกับ ปลย. Kbk wz. 88 Tantal ได้
ปลย. FB Beryl ยังคงมีคันบังคับการยิงที่เป็นฝากันฝุ่นในตัวแบบ ปลย. AK แบบอื่น ๆ แม้มันจะยิงคันบังคับการยิงบริเวณด้านซ้ายคล้าย ๆ แบบ ปลย. Galil ถึงจะคนหละตำแหน่งก็ตามและของ ปลย. FB Beryl จะมีความแตกต่างคือด้านขวาจะเป็น ห้ามไก และ กึ่งอัตโนมัติ แต่ด้านซ้ายจะเป็น กึ่งอัตโนมัติ,อัตโนมัติ และ ยิงชุดหละ 3 นัด.
ปลย. FB Beryl ใช้กระสุนขนาด 5.56x45มม. นาโต้ที่ โดยทั้งกระสุนแบบมารตฐาน,กระสุนส่องวิถี และ กระสุนฝึกหัดบรรจุจะผลิจผลิตโดยบริษัท Zakłady Metalowe Mesko ในเมือง Skarżysko-Kamienna
อุปกรณ์มารตฐานที่จะบรรจุลงกล่องมาจากบริษัท บริษัท FB "Łucznik" Radom สำหรับ ปลย. FB Beryl นั้นจะประกอบไปด้วย ซองกระสุน 3 ซอง, แหนบบรรจุกระสุนจุได้ 15 นัด, ชุดติดตั้งแหนบบรรจุกระสุนลงซองกระสุน, ชุดทำความสะอาดตัวปืน, น้ำมันหล่อลื่นหนึ่งกระปุก, แส้ทำความสะอาด (ให้มา 2 ชิ้นอยู่ในชุดทำความสะอาดตัวปืน) สายสะพาย, ซองบรรจุกระสุน และ ขาทราย
หน่วยรบพิเศษโปแลนด์กับ ปลย. FB Beryl ติดตั้งกล้องตรวจการณ์กลางคืนในอิรัก
รุ่นต่าง ๆ ของตัวปืน
1.ปลย. kbs wz. 96A Beryl (ปี ค.ศ.1996) เป็นรุ่นมารตฐานของ ปลย. FB Beryl และมีการผลิตและใช้งานเยอะที่สุดในกองทัพโปแลนด์ตัวปืนติดตั้งราง Picatinny แบบ POPC I และเครื่องช่วยเล็งชนิดต่าง ๆ ของโปแลนด์ (CWL-1, CK-3, LKA-4, PCS-6) และมีการติดตั้งรางแบบ POPC III เพิ่มเติมในภารกิจของกองทัพโปแลนด์ในอิรัก นอกจากนี้ยังมีติดตั้งประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียอีกด้วย
1.ปลย. kbs wz. 96A Beryl (ปี ค.ศ.1996) เป็นรุ่นมารตฐานของ ปลย. FB Beryl และมีการผลิตและใช้งานเยอะที่สุดในกองทัพโปแลนด์ตัวปืนติดตั้งราง Picatinny แบบ POPC I และเครื่องช่วยเล็งชนิดต่าง ๆ ของโปแลนด์ (CWL-1, CK-3, LKA-4, PCS-6) และมีการติดตั้งรางแบบ POPC III เพิ่มเติมในภารกิจของกองทัพโปแลนด์ในอิรัก นอกจากนี้ยังมีติดตั้งประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียอีกด้วย
1.ปลย. kbs wz. 96A Beryl (ปี ค.ศ.1996) เป็นรุ่นมารตฐานของ ปลย. FB Beryl และมีการผลิตและใช้งานเยอะที่สุดในกองทัพโปแลนด์ตัวปืนติดตั้งราง Picatinny แบบ POPC I และเครื่องช่วยเล็งชนิดต่าง ๆ ของโปแลนด์ (CWL-1, CK-3, LKA-4, PCS-6) และมีการติดตั้งรางแบบ POPC III เพิ่มเติมในภารกิจของกองทัพโปแลนด์ในอิรัก นอกจากนี้ยังมีติดตั้งประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียอีกด้วย
1.ปลย. kbs wz. 96A Beryl (ปี ค.ศ.1996) เป็นรุ่นมารตฐานของ ปลย. FB Beryl และมีการผลิตและใช้งานเยอะที่สุดในกองทัพโปแลนด์ตัวปืนติดตั้งราง Picatinny แบบ POPC I และเครื่องช่วยเล็งชนิดต่าง ๆ ของโปแลนด์ (CWL-1, CK-3, LKA-4, PCS-6) และมีการติดตั้งรางแบบ POPC III เพิ่มเติมในภารกิจของกองทัพโปแลนด์ในอิรัก นอกจากนี้ยังมีติดตั้งประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียอีกด้วย
2.ปลย. kbs wz. 96B Beryl (ปี ค.ศ.2004) ตัวปืนนั้นเหมือนกับรุ่นมารตฐานแต่มีประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียมาตั้งแต่โรงงานและใช้รางพิคาทินี่แบบยึดตายตัว นอกจากนี้ตัวปืนเวอร์ชั่น “B” ยังได้รับการติดตั้งรางพิคาทินี่แบบ POPC II (รางสั้น) และ รางพิคาทินี่แบบ POPC III (รางยาว) อย่างไรก็ตามก็มีตัวปืนบางล็อตที่ได้รับการติดตั้งรางแบบ POPC I แทน
2.ปลย. kbs wz. 96B Beryl (ปี ค.ศ.2004) ตัวปืนนั้นเหมือนกับรุ่นมารตฐานแต่มีประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียมาตั้งแต่โรงงานและใช้ราง Picatinny แบบยึดตายตัว นอกจากนี้ตัวปืนเวอร์ชั่น “B” ยังได้รับการติดตั้งรางพิคาทินี่แบบ POPC II (รางสั้น) และ รางพิคาทินี่แบบ POPC III (รางยาว) อย่างไรก็ตามก็มีตัวปืนบางล็อตที่ได้รับการติดตั้งรางแบบ POPC I แทน
2.ปลย. kbs wz. 96B Beryl (ปี ค.ศ.2004) ตัวปืนนั้นเหมือนกับรุ่นมารตฐานแต่มีประกับล่างที่มีด้ามจับในตัวแบบ ปลย. PM md. 63 ของโรมาเนียมาตั้งแต่โรงงานและใช้ราง Picatinny แบบยึดตายตัว นอกจากนี้ตัวปืนเวอร์ชั่น “B” ยังได้รับการติดตั้งรางพิคาทินี่แบบ POPC II (รางสั้น) และ รางพิคาทินี่แบบ POPC III (รางยาว) อย่างไรก็ตามก็มีตัวปืนบางล็อตที่ได้รับการติดตั้งรางแบบ POPC I แทน
3.ปลย. kbs wz. 96C Beryl (ปี ค.ศ.2009) รุ่นนี้จะได้รับการติดตั้งพานท้ายแบบใหม่ (ทั้งแบบตายตัวและจัดปรับได้) ราง Picatinny แบบใหม่ (POPC IV), ประกับแบบใหม่, ซองกระสุน และ ด้ามจับ
3.ปลย. kbs wz. 96C Beryl (ปี ค.ศ.2009) รุ่นนี้จะได้รับการติดตั้งพานท้ายแบบใหม่ (ทั้งแบบตายตัวและจัดปรับได้) ราง Picatinny แบบใหม่ (POPC IV), ประกับแบบใหม่, ซองกระสุน และ ด้ามจับ
4.ปลย. kbs wz. 96D Beryl (ปี ค.ศ.2013-14) รุ่นนี้จะมีพานท้ายคล้าย ๆ กับเวอร์ชั่น “C” แต่พานท้ายจะพับข้างได้, ใช้ซองกระสุนของ ปลย.M16 ตัวราง Picatinny จะติดตั้งตายตัวกับหลังเต่าของตัวปืน, ศูนย์หน้า-หลังพับได้ กองทัพโปแลนด์ปฏิเสธที่จะซื้อปืนรุ่นนี้และเปลี่ยนไปซื้อรุ่น C แต่ปรับปรุงพานท้ายเป็นแบบพับได้แทน
4.ปลย. kbs wz. 96D Beryl (ปี ค.ศ.2013-14) รุ่นนี้จะมีพานท้ายคล้าย ๆ กับเวอร์ชั่น “C” แต่พานท้ายจะพับข้างได้, ใช้ซองกระสุนของ ปลย.M16 ตัวราง Picatinny จะติดตั้งตายตัวกับหลังเต่าของตัวปืน, ศูนย์หน้า-หลังพับได้ กองทัพโปแลนด์ปฏิเสธที่จะซื้อปืนรุ่นนี้และเปลี่ยนไปซื้อรุ่น C แต่ปรับปรุงพานท้ายเป็นแบบพับได้แทน
5.ปลย. Beryl M545 เป็นรุ่นส่งออกใช้กระสุนขนาด 5.45x39มม.
6.ปลย. Beryl M762 เป็นรุ่นส่งออกใช้กระสุนขนาด 7.62x39มม. มีลูกค้ารายแรกคือกองทัพไนจีเรีย
6.ปลย. Beryl M762 เป็นรุ่นส่งออกใช้กระสุนขนาด 7.62x39มม. มีลูกค้ารายแรกคือกองทัพไนจีเรีย
6.ปลย. Beryl M762 เป็นรุ่นส่งออกใช้กระสุนขนาด 7.62x39มม. มีลูกค้ารายแรกคือกองทัพไนจีเรีย
ปลย.Beryl M762 ในเกมส์ PlayerUnknown's Battlegrounds
ปลย.Beryl M762 ในเกมส์ PlayerUnknown's Battlegrounds
ข้อมูลทางเทคนิค (กล่าวเฉพาะรุ่นมารตฐาน)
ชื่อ : FB Beryl
ผู้ผลิต : FB "Łucznik" Radom
ขนาดกระสุน : 5.56×45 มม.นาโต้
ความจุซองกระสุน : 30 นัด
ความยาวลำกล้อง : 18 นิ้ว
ความยาวตัวปืน : 37.1 นี้ว
น้ำหนักตัวปืน : 3,35 กิโลกรัม
ระบบ : แก๊สดันต่อลูกสูบแบบช่วงชักยาว
อัตราเร็วการยิง : 690 นัด/นาที
ความเร็วปากลำกล้อง : 900 เมตร/วินาที
ระยะหวังผล : 600 เมตร
ประเทศผู้ผลิต : สาธารณรัฐโปแลนด์
ความเห็นส่วนตัว
เรียกได้ว่าเป็น ปลย.AK สายนาโต้ที่แท้จริงสำหรับ ปลย. FB Beryl ถึงจะโดนแย่งตลาดไปโดยเจ้าต้นตำหรับอย่าง Kalashnikov Concern โดย AK-101 และ AK102 แต่ก็ยังพอขายได้บ้างในจำนวนที่น้อยโดยรวมเป็นความพยายามของกองทัพโปแลนด์ในการปรับตัวในการไปใช้ระบบอาวุธของนาโต้และปัจจุบันมันกำลังถูกแทนที่โดย ปลย. FB MSBS Grot ซึ่งทางเพจเราเคยเขียนเกี่ยวกับเจ้า ปลย. FB MSBS Grot ไปแล้วโดยแอดมิน GTD.77 และจะมีการอัพเดตบทความเร็ว ๆ นี้ครับ
ขอบคุณที่รับชมสวัสดีครับ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
@rmz
แหล่งอ้างอิง
#บทความปืนโดยGW
#GW
#แอดมินRMZ
โฆษณา