10 ก.พ. 2022 เวลา 13:00 • ดนตรี เพลง
ต่างที่… ต่างความรู้สึก…
เรื่อง กวินญา ภาพ มติมนต์
อาจารย์ทัศนา นาควัชระ นักดนตรีคลาสสิกผู้ออกเดินทางสร้างศิลปะผ่านเสียงเพลง
เสียงของวิโอล่าที่ดังก้องกังวานไปทั่วโถงทางเดินภายในหอสมุดวังท่าพระ สะกดให้ทุกสายตา ต้องมองหาที่มาของท่วงทํานองอันพลิ้วไหว และเพียงไม่กี่อึดใจ เราก็ได้พบกับผู้บรรเลงบทเพลงนั้น ฝีมือของ “อาจารย์ทัศนา นาควัชระ” อาจารย์ประจําคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อํานวยการด้าน ดนตรีและหัวหน้าวง Pro Musica ยังคงโดดเด่นสมคําร่ำลือเสมอ
ความรัก ความหลงใหลในเสียงดนตรีของอาจารย์ทัศนา ก่อตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วัยเด็กที่เติบโตมา ท่ามกลางครอบครัวที่รักในเสียงดนตรี ทั้งดนตรีไทย สุนทราภรณ์ ป๊อป สากล รวมถึงดนตรีคลาสสิก อาจารย์ เริ่มเล่นซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีไทยชิ้นแรกตามมาด้วยไวโอลิน จนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ที่คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้รับทุนสนับสนุนในการศึกษาต่อต่างประเทศยาวนาน ต่อเนื่องถึง 11 ปี อาจารย์ทัศนาเล่าว่ากว่าจะประสบความสําเร็จอย่างในทุกวันนี้ เวลาเข้าไปเรียนหรือซ้อมจะ ได้ยินคําว่า “ไม่...ไม่ถูก...” จากผู้ควบคุมวงและอาจารย์อยู่เสมอ เจออุปสรรคตลอดเวลา แต่ยังต่อสู้ ดิ้นรน จนพัฒนาขึ้นในทุก ๆ วัน มันเป็นสายเลือดของวิชาชีพ การมีวินัยจะผลักดันให้เรามุ่งมั่นทําทุกอย่างเพื่อสร้าง ผลงานที่ดีที่สุด นี่คือสิ่งที่นักดนตรีและศิลปินทุกคนตระหนักรู้ทุกลมหายใจ
ภาพ: CreativeMatters
ทําไมต้อง “ดนตรีคลาสสิก”
“ผมโตมาในครอบครัวที่ฟังดนตรีคลาสสิก มันเลือกไปโดยธรรมชาติ ผมไม่ได้ตั้งใจมาตั้งแต่เกิด ว่าผมจะเป็นนักดนตรี เพราะมันค่อย ๆ ซึมซับ พอเข้ามหาวิทยาลัยก็รู้ตัวแล้วว่าเราจะต้องมีอาชีพนี้แน่นอน” “ดนตรีคลาสสิกไม่จําเป็นต้องเล่นแต่เพลงฝรั่ง อย่างไวโอลินที่ผมชอบมากที่สุดก็นํามาเล่นเพลงไทยได้ไพเราะ ครอบครัวผมฟังเพลงสุนทราภรณ์เราก็เล่นเพลงสุนทราภรณ์ ตอนนี้มันไม่ใช่เรื่องของฝรั่ง อีกต่อไปแล้ว” อาจารย์ทัศนาเปรยว่าเครื่องดนตรี ศิลปิน และผู้ฟังจะปรับตัวเข้าหากัน อยู่ร่วมกันได้ในสังคมบนพื้นฐานของความรักในดนตรี
ภาพ : www.promusicabkk.com
ศิลปะกับสถานท่ีที่เปลี่ยนไป
“พวกเราที่เล่นอะคูสติก เครื่องดนตรีท่ีสร้างเสียงได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องไฟฟ้าช่วยขยาย เรานับว่าห้อง แสดงเป็นเครื่องดนตรีของเราด้วย เสียงที่สร้างออกไปอยู่ในห้องต่าง ๆ ที่ต่าง ๆ ห้องนั้นก็กลายเป็นเครื่อง ดนตรีของเรา แต่ละที่ก็มีลักษณะพิเศษของมันไป ดีบ้าง ดีมาก ดีน้อย เล่นในโบสถ์ก็อีกแบบหนึ่ง เล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์โบราณที่เป็นไม้ก็อีกแบบหนึ่ง เล่นในโมเดิร์นคอนเสิร์ตฮอลล์ที่เป็นบล็อกคอนกรีตก็อีกแบบ หนึ่ง” หรือจะกล่าวก็ได้ว่า ดนตรีแบบเดียวกันแต่ต่างสถานที่ ก็จะให้อารมณ์ ความรู้สึก ภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบันดนตรีคลาสสิกไม่ได้จํากัดอยู่แต่ในคอนเสิร์ตฮอลล์ อาจารย์ทัศนาและกลุ่มนักดนตรี 4-5 คน เริ่มมีกิจกรรมพาเสียงดนตรีไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยจัดแสดงบนรถกระบะ มีทาวเวอร์เครื่องเสียง 2 เครื่อง ก็เป็นเวทีคอนเสิร์ตได้แล้ว อาจารย์มองว่าวงขนาดเล็กนั้นจัดการได้ง่าย จะเล่นที่ไหนก็ได้ สนุก และได้บรรยากาศเสียงรอบข้างเคล้าประกอบดนตรีไปด้วย
ภาพ : www.promusicabkk.com
ถ้าพูดถึงการออกเดินทางไปแสดงดนตรี แน่นอนว่าอาจารย์ทัศนาข้ึนแสดงมานับพันครั้ง ได้เล่นดนตรี ในสถานที่สําคัญบนโลกนี้มาพอสมควร เช่น เวียนนา เบอร์ลิน ลอนดอน แต่ถ้าเป็นที่ที่แปลกและประทับใจที่สุดก็ต้องเป็นเทศกาลดนตรีที่จัดในถ้ำมหึมาทางใต้สุดของเสปน ใช้เวลาเดินทางจากสวิตเซอร์แลนด์ข้ามวันข้ามคืน ที่นั่นมันมีความแปลก เช่น มีน้ำหยดลงมาจากเพดานแล้วเราต้องคอยเล็ง คอยหลบ เป็นความรู้สึก ประทับใจครั้งหนึ่งซึ่งไม่คิดว่าจะได้เจอที่ไหนอีก
ภาพ : www.promusicabkk.com
เปิดใจฟังเพื่อลบภาพจํา
เมื่อถามอาจารย์ถึงมุมมองที่คนส่วนใหญ่มองว่าดนตรีคลาสสิกเป็นดนตรีของคนเฉพาะ กลุ่ม อาจารย์เองก็ไม่ปฏิเสธ เพราะเราเห็นแบบนั้นผ่านหนังสือ ภาพยนตร์ ที่กลุ่มคนชนชั้นสูงใส่หูกระต่าย เข้าไปอยู่ในคอนเสิร์ตฮอลล์ นั่งเงียบ บัตรราคาแพง แต่แบบที่เล่นบนรถกระบะ ใส่หมวก ใส่เสื้อยืด เหงื่อตก ไม่เสียเงินฟังก็มี แล้วยังเล่นเพลงเดียวกันได้อีก เราถูกปลูกฝังมาแบบนั้น เราอาจจะเห็นโดยที่เรา ไม่รู้จัก ถ้าวันหน่ึงเราได้รู้จักในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย สนุกสนาน ถ้าลองมาสัมผัสก็คงจะลบภาพเหล่านั้นออกไป... ได้บ้าง
อีกหน่ึงช่องทางที่สามารถทําให้คนในปัจจุบัน “รู้จัก” เพลงอะไรก็ได้ในโลกนี้อย่าง “ออนไลน์สตรีมมิ่ง (Online Streaming)” ทั้งยูทูบ (Youtube) สปอติฟาย (Spotify) แอปเปิลมิวสิก (Apple Music) ซึ่งแตกต่าง จากยุคที่อาจารย์ทัศนาเป็นนักเรียน จะต้องไปร้านขายซีดี ดีวีดี วิดีโอเฉพาะอย่างที่อมรินทร์พลาซ่า เมื่อเวลาหมุนเวียนไป การเข้าถึงเพลงหรือสื่อต่าง ๆ ก็ทําได้ง่ายขึ้น เป็นปัจจัยทําให้คนฟังเพลงหลา กหลาย มีทางเลือกท่ีอยากให้คนเล่นเพลงแบบน้ัน ๆ มากขึ้น
เมื่อผู้ฟังสามารถเสพอรรถรสผ่านเสียงเพลงในโลกออนไลน์ได้ แต่ในฐานะของนักดนตรี อาจารย์ทัศนา กลับมองว่า “การบันทึกเสียงในห้องอัดที่ไม่มีคนฟัง ความรู้สึกมันไม่เหมือนกันกับการเล่นคอนเสิร์ตให้คนฟัง
จริง ๆ แม้ว่าการแสดงสดมันอาจไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะเล่นตั้งแต่ต้นจนจบ มีผิดมีพลาด แต่มันมีชีวิต การบันทึกเสียงในสตูดิโอเราต้องเล่นให้ถูก เพราะมันจะอยู่ตรงนั้นชั่วลูกชั่วหลาน ถ้าเราเล่นผิดก็ปล่อยออกไป ไม่ได้ เลยต้องใช้เทคโนโลยีตัดต่อให้สมบูรณ์ที่สุด ทําให้เสียความเป็นธรรมชาติของดนตรีไป”
ภาพ: CreativeMatters
เมื่อ “โควิด” มาปะทะวงการ “ดนตรี”
พายุลูกใหญ่อย่างโควิด ได้ทิ้งร่องรอยความเจ็บปวดให้กับทุกอาชีพไม่ต่างจาก “วงการดนตรี” ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน
“ผลกระทบนั้นมีหลายระดับ ตัวเองเป็นทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักดนตรีที่เป็นเหมือนกึ่งงาน อดิเรก อาจกระทบในส่วนข้อจํากัดการเล่นดนตรี แต่สําหรับนักดนตรีหลาย ๆ คนที่เล่นดนตรีเป็นอาชีพ งานสอน งานแสดง นักดนตรีในผับ บาร์ ตกงานมา 2 ปี และบางส่วนอาจเลิกเล่นดนตรีไปเลยก็มี ทุกคนก็พยายามปรับตัว อย่างในช่วงล็อกดาวน์ อาจารย์เองก็มีเล่นดนตรีและพูดคุยกับผู้ฟังที่สนใจเรื่อง เครื่องดนตรีผ่านโลกออนไลน์” อาจารย์ทัศนาเล่าด้วยความหวังที่จะให้เหตุการณ์นี้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว
ภาพ: CreativeMatters
ดนตรีคลาสสิกไทยในเวทีโลก
“กําลังวิ่ง” คงเป็นคําที่เปรียบเทียบวงการดนตรีคลาสสิกไทยในตอนนี้ ดนตรีที่อาจารย์ชอบมากที่สุด อย่างไวโอลินยังตามหลังยุโรป อเมริกา รวมถึงฝั่งเอเชีย ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ประเทศเหล่านี้มีมาตรฐาน การเล่นที่สูงมาก และใกล้ ๆ บ้านเราอย่างสิงคโปร์ก็มีโรงเรียนดนตรีชั้นนํา ส่วนประเทศไทยเพิ่งจะมีคณะ ที่เปิดสอนด้านดนตรีมาไม่เกิน 60 ปีนี้เอง
อาจารย์มองว่า “วงการดนตรีคลาสสิกบ้านเรากําลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดี หลังจากที่มีโรงเรียนดนตรี และมีเด็กสนใจเพิ่มขึ้น มีคนไปเรียนต่างประเทศกลับมา วงการดนตรีก็จะมีมาตรฐานมากขึ้น ภายในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ดนตรีทุกประเภทในไทยมีการเรียนการสอนที่ถูกต้อง คนได้ยินได้ฟังผ่านสื่อมากขึ้น ผมเห็นว่า โดยรวมคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ”
วงการดนตรีคลาสสิกไทยกําลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเราได้รับการผลักดันพอสมควรแล้วหรือยัง
“ผมว่ายังไม่ได้รับการผลักดันเท่าที่ควร เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ไม่ใช่เพียงแค่ดนตรี ตะวันตกแต่รวมไปถึงดนตรีไทย ถ้าย้อนไปว่าทําไมเราถึงตามเขาอยู่ ก็เพราะว่าเรายังไม่ได้รับการสนับสนุนแบบจริงจัง มีแบบแผน และวิสัยทัศน์ระยะยาวว่าจะทําอะไรเกี่ยวกับวงการดนตรีศิลปะของเรา จริง ๆ มันมีอะไรให้ทําเยอะมาก ดนตรีอีสาน ดนตรีทางใต้ ผมว่ามันมีคาแรกเตอร์ ลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่สามารถเอาไปทําเป็นธุรกิจให้เขาอยู่ได้จริง ๆ แต่ต้องมีคนกลาง มีผู้รู้ มีทุนมาสนับสนุน ซึ่งก็ต้องรอว่ารัฐ จะทําอะไรให้กับวงการศิลปะมากกว่านี้...”
เอกสารอ้างอิง
ทัศนา นาควัชระ. (2565). อาจารย์ประจําคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สัมภาษณ์, 21 มกราคม.
Pro Musica. (2021). Media. Accessed January 21. Available from https://promusicabkk.com/media
TASANA NAGAVAJARA. (2022). Biography. Accessed January 21. Available from www.tasana-nagavajara.com
ติดตามผลงาน ผศ.ดร.ทัศนา นาควัชระ เพิ่มเติมได้ที่
#CreativeMatters
#Music
#TasanaNagavajara
#ทัศนานาควัชระ
#ProMusica
Facebook: CreativeMatters
โฆษณา