11 ก.พ. 2022 เวลา 01:51 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#รวม ตรรกะวิบัติและอคติที่ควรสอนตั้งแต่เด็ก (ตอน2)
(เรียบเรียงโดย สัมโมทิก สวิชญาน)
เวลาอธิบายปรากฏการณ์การใช้เหตุผลเพี้ยนๆ ของคนในสังคม มักจะต้องพูดถึงแนวความคิดสองอย่างคือ logical fallacy กับ cognitive bias ทั้งสองวลีนี้เหมือนจะมีความหมายคล้ายๆ กัน อย่างแรกหมายถึง ข้อผิดพลาดในตรรกะ อย่างหลังหลังหมายถึง ความบิดเบี้ยวของระบบการคิดและวิจารณญาณ
อันที่จริง การคิดเหล่านี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเมื่อไม่นานมานี้เอง อีลอน มัสก์ ก็ทวิตว่าเรื่องพวกนี้ควรมีสอนกันตั้งแต่เด็กๆเพื่อให้เป็นการรู้เท่าทันจิตใจของเราเอง (และของคนอื่น) มาดูกันดีกว่าว่าความลำเอียงทางความคิดและตรรกะวิบัติเหล่านี้มีอะไรบ้าง (แบบสั้นๆ)
Reactance
หากอะไรทำให้รู้สึกสูญเสียอิสรภาพ(หรือทางเลือก) จะขัดใจจนตอบสนองเพื่อให้รู้สึกเหมือนได้กู้คืนอิสรภาพนั้นกลับคืนมา เช่น พนักงานขายรถบอกสมชายว่ารุ่นทั่วๆไปนั้น ก็เหมาะกับสมชายแล้ว แต่สมชายรู้สึกเหมือนโดนลดตัวเลือก จึงตอบโต้ด้วยการซื้อรุ่นท็อปๆ แทน (ซึ่งจริงๆ รุ่นทั่วๆไป อาจจะดีพอใช้งานแล้ว)
2
Confirmation Bias
คือการมองแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่อของตัวเอง เช่น สมชายเชื่อว่าคนถนัดซ้ายเก่งศิลปะ ทุกครั้งที่สมชายเห็นคนถนัดซ้ายเก่งศิลปะก็ยิ่งรู้สึกว่าความเชื่อของตัวเองนั้นจริง (โดยลืมมองไปว่าคนถนัดซ้ายที่ไม่เก่งศิลปะนั้นก็มีมากมาย)
2
แผนภาพเวนน์ แสดงถึง Confirmation Bias ที่มา : Researchgate
Backfire Effect
เป็นการมองว่าสิ่งที่ขัดแย้งความเชื่อของตัวเองนั้นหลอกหลวง และยิ่งเชื่ออย่างเดิมยิ่งขึ้น(หนักกว่าเก่า) เช่น ยิ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามบอกว่ามนุษย์ไปดวงจันทร์มาแล้วจริงๆ สมชายก็ยิ่งเชื่อหนักกว่าเดิมว่าการไปเยือนดวงจันทร์เป็นการจัดฉาก
1
Third-Person Effect
คือการเชื่อว่าภาคสื่อสารมวลชน (สื่อโทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ) มีผลต่อคนอื่นมากกว่าตัวเอง เช่น สมชายรู้สึกว่าป้าข้างบ้านโดนล้างสมองโดยช่องโทรทัศน์ช่องหนึ่ง (โดยอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองก็โดนล้างสมองโดยอีกช่องเหมือนกัน)
4
Belief Bias
การมองว่าข้อสรุปที่ตรงกับความเชื่อของตัวเองนั้นมีเหตุผลหนักแน่น (ทั้งๆ ที่เหตุผลอาจจะไม่หนักแน่นจริงๆ ก็ได้) เช่น สมชายเชื่อว่าดื่มน้ำเต้าหู้แล้วจะฉลาด พอมีงานวิจัยออกมาว่าน้ำเต้าหู้ช่วยเพิ่ม IQ ได้ สมชายก็เชื่องานวิจัยนั้นโดยทันที (โดยลืมไปเช็กดูว่างานวิจัยนั้นทำถูกต้องหรือเปล่า หรือลงในวารสารที่น่าเชื่อถือแค่ไหน)
2
ที่มา : Wikipedia
Availability Cascade
คือปรากฏการณ์ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมีความเชื่อหรือเห็นไปในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากมีสื่อพูดไปในทางนั้นกันเยอะ เรื่องนี้อาจจะเกิดกับความเชื่อที่ถูกต้อง(ผลดี) หรือความเชื่อแบบผิดๆ(ผลเสีย) ก็ได้ ผลดีก็เช่น คนหันมาเข้าใจปรากฏการณ์โลกร้อนเพราะสื่อพูดกันเยอะ ผลเสียก็เช่น คนในพื้นที่หนึ่งต่างก็พูดกันว่าบ่อขยะมีสารเคมีรั่วไหล แล้วก็เกิดความเชื่อตามๆ กันไปโดยไม่มีใครไปเช็กแน่ๆ สักคนว่ามีการรั่วจริงหรือเปล่า
Declinism
คือการเชื่อว่าสมัยก่อนดีกว่าสมัยนี้ และสังคมเสื่อมลงไปเรื่อยๆ เช่น “สมัยนี้ขโมยขโจรมันเยอะนะลูก” (สมัยก่อนก็อาจจะเยอะเหมือนกันก็ได้ แต่แค่บังเอิญจำแต่สิ่งดีๆ มา หรือ สมัยนั้นสื่ออาจะไม่ได้นำเสนอมากเท่าทุกวันนี้)
3
ที่มา : tomorrowsworld.org
Status Quo Bias
คือการมักชอบสิ่งที่เป็นอยู่ ไม่อยากเปลี่ยน กลัวว่าเปลี่ยนแล้วจะเสียใจภายหลัง
1
Sunk Cost Fallacy
เป็นการถลำลึกลงไปในเรื่องที่ลงทุนลงแรงไปแล้ว โดยไม่ชั่งน้ำหนักผลที่ตามมาให้ดีก่อนว่าควรจะหยุดหรือไม่ เช่น สมชายลงทุนในเหรียญแมว แล้วขาดทุนไปมาก เลยรู้สึกว่าขาดทุนมาขนาดนี้แล้วจะหยุดได้ไง (ได้สิ ถ้าไม่อยากหมดตูด)
2
Gambler’s Fallacy
เป็นการคิดว่าความน่าจะเป็นที่อะไรบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคต ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต ทั้งๆ ที่จริงๆ ไม่เกี่ยวกัน เช่น สมชายซื้อหวยเลขท้าย 69 เพราะ 69 ไม่เคยออกมาก่อนในรอบสิบปีที่ผ่านมา (ทุกงวดหวยก็มีโอกาสออกได้ทุกเลขโดยไม่เกี่ยวกะว่าเลขนั้นเคยออกไปหรือยัง)
4
ผลจาก Gambler’s Fallacy ในการซื้อหวยเลขที่เคยถูกในอดีต ที่มา : Wikipedia
Zero-Risk Bias
เวลาต้องลดความเสี่ยงของกิจกรรมบางอย่าง มักรู้สึกดีกว่าถ้าได้ลดความเสี่ยงของปัจจัยบางตัวให้เหลือศูนย์ ทั้งที่การลด “ความเสี่ยงโดยรวม” อาจจะเกิดผลดีกว่า เช่น สมชายรู้สึกดีที่ได้ซื้อประกันอุกกาบาตตกใส่รถ (ลดความเสี่ยงที่ต้องจ่ายค่าซ่อมจากอุกกาบาตเป็นศูนย์) ทั้งที่จริงๆแล้วเอาเบี้ยประกันไปซื้อประกันกว้างๆแบบอื่นๆจะคุ้มกว่า
3
Framing Effect
คือตัดสินใจอะไรว่าอะไรบางอย่างดีหรือไม่ดีโดยขึ้นกับสิ่งที่ถูกนำเสนอไว้ เช่น สมชายรู้สึกดีเมื่อซื้อยาแต้มสิวที่เขียนว่า “ 70% ใช้แล้วสิวหาย” แทนที่จะซื้ออีกแบรนด์ที่เขียนว่า “30% ใช้แล้วสิวไม่หาย” ทั้งที่จริงๆค่าสถิติมันเหมือนกัน
1
Framing Effect ของใบยินยอมการผ่าตัด อัตราความสำเร็จ 90% เท่ากับ อัตราความเสี่ยง 10 % ที่มา :Wikipedia
Stereotyping
เอาความเชื่อแบบเหมารวมมาตัดสินอะไรบางอย่าง โดยไม่ดูเป็นกรณีๆ ไป เช่น ระหว่างจ้างคนอังกฤษกับคนอเมริกันที่มีคุณสมบัติพอๆ กัน สมชายเลือกจ้างคนอังกฤษเพราะรู้สึกว่าคนอเมริกันชอบพูดตรงๆ แรงๆ (ทั้งที่จริงๆ แล้วของแบบนี้ต้องดูเป็นคนๆ ไป)
Outgroup Homogeneity Bias
คือการเชื่อว่าคนที่ไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกับตัวเอง “ก็เหมือนๆ กันหมด” เช่น สมชายเชื่อว่ากลุ่มการเมืองที่ตัวเองมีส่วนร่วมอยู่ เกิดจากการรวมตัวกันของอุดมการณ์ที่หลากหลาย แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่มีความหลากหลายอะไรเลย ทุกคนคิดถึงผลประโยชน์เหมือนๆ กันหมด
Authority Bias
เป็นการเชื่ออะไรบางอย่างเพียงเพราะคนพูดดูเป็นคนน่าเชื่อถือ (ทั้งที่จริงๆ แล้วความถูกต้องของข้อมูลไม่เกี่ยวกับว่าผู้พูดเป็นใคร) เช่น สมชายเชื่อทุกอย่างที่ “ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ” บอก โดยไม่พินิจพิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาบอกนั้นเป็นเหตุเป็นผลหรือเปล่า
ที่มา : https://blog.42courses.com/home/behavioural/authority-bias
ย้อนกลับไปอ่านตอน 1 ได้ที่
โฆษณา