11 ก.พ. 2022 เวลา 02:18 • สุขภาพ
“ในที่สุด ฉันก็ได้มองเห็นเธออีกครั้ง”
AI สร้างแสงสว่างปลายอุโมงค์ของผู้สูงอายุ
ภาวะจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age related macula degeneration;AMD) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสร้างความลำบากอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ โดยพบว่าผู้ที่อายุเกิน 80 ปี เกิดภาวะนี้ถึง 12% การค่อยๆสูญเสียการมองเห็นไปทีละน้อย ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงสุขภาพกายและจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ในทางการแพทย์ปัจจุบันการรักษาภาวะนี้เป็นไปได้อย่างจำกัด เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
เป็นที่น่ายินดีที่ไม่นานมานี้ ทางโรงพยาบาลจักษุมัวร์ฟีลด์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ทดสอบทำการผ่าตัดพิเศษฝังไมโครชิพในจอประสาทตา ในหญิงสูงอายุ วัย 88 ปี ซึ่งสูญเสียการมองเห็นจากภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้สำเร็จ
โดยทีมแพทย์ได้ทำการผ่าตัดฝังไมโครชิพ ขนาด 2 มล.ในจอประสาทตาของเธอ จากนั้นให้เธอใส่แว่นตาที่ต่อกับคอมพิวเตอร์ประมวลผลขนาดเล็ก ที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่คาดเอวของเธอ และช่วยให้เธอกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง
โดย AI(Artificial intelligence (AI) ) จะทำการส่งสัญญาณควบคุมการโฟกัสภาพที่ควรโฟกัส จากนั้นแว่นตาจะเปลี่ยนภาพที่ได้เป็นสัญญาณอินฟาเรด ส่งลงบนไมโครชิพ จากนั้นจึงเปลี่ยนกระแสประสาทส่งไปที่สมองเพื่อแปลผลภาพที่เห็นต่อไป
Mahi Muqit ศัลยแพทย์กล่าวว่า “การผ่าตัดฝังอุปกรณ์นี้เป็นความหวังที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้ มองเห็นได้ใหม่อีกครั้ง ทางทีมกำลังรวบรวมข้อมูลให้มากขึ้นเพื่อสรุปผลและแนะนำการผ่าตัดวิธีนี้ต่อไปในอนาคต”
นับได้ว่าความสำเร็จนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เราเห็นว่าการผนวกเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ากับการรักษาเดิม สามารถช่วยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้กลับมาเห็นคนที่ท่านรัก สิ่งที่ท่านคิดถึงได้อีกครั้ง นับได้ว่าAIช่วยสร้างแสงสว่างปลายอุโมงค์ของผู้สูงขึ้นมาได้อีกครั้งเลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจากสำนักข่าว BBC ครับ
โฆษณา