11 ก.พ. 2022 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
รู้จัก “Kazuo Hirai” ซีอีโอ ผู้ชุบชีวิต Sony
1
หากพูดถึงเหตุการณ์อุทกภัย หรือ น้ำท่วม เชื่อว่าใครหลายคนคงนึกย้อนไป
ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทย ในปี 2011 หรือราว 11 ปีก่อน
ซึ่งถูกประเมินมูลค่าความเสียหาย จากธนาคารโลก ไว้กว่า 1,000,000 ล้านบาท
4
ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันนั้น มีบริษัทแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
กำลังประสบปัญหา จนมูลค่าบริษัทหายไป เทียบเท่ากับมูลค่าความเสียหาย จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทย บริษัทนั้นคือ “Sony” ณ ตอนนั้น Sony มีมูลค่าบริษัทเหลือเพียง 320,000 ล้านบาท
2
อย่างไรก็ตาม Sony สามารถกลับมาทำกำไร และสร้างการเติบโตได้อีกครั้ง
ปัจจุบัน มีมูลค่า 4,400,000 ล้านบาท กลายมาเป็นบริษัทใหญ่สุดอันดับ 2 ในตลาดหุ้น ประเทศญี่ปุ่น
เป็นรองเพียง Toyota เท่านั้น
2
โดยผู้ที่เข้ามาพลิกวิกฤติให้กับบริษัท มีชื่อว่าคุณ Kazuo Hirai
ที่จริง ๆ แล้ว เขาเพิ่งขึ้นมารับตำแหน่งเป็นซีอีโอได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
1
แล้วเขา ทำได้อย่างไร ?
วันนี้ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนจะไปฟังเรื่องราวของ Sony
เรามาทำความรู้จักกับคุณ Kazuo Hirai กันก่อน
คุณ Kazuo Hirai เกิดเมื่อปี 1960 ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
โดยคุณพ่อของเขามีอาชีพเป็นนายธนาคาร และบ่อยครั้งที่คุณพ่อของเขาต้องเดินทาง ไปติดต่องานที่ต่างประเทศ ซึ่งบ่อยครั้งก็จะพา คุณ Kazuo Hirai ไปด้วย
1
ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใกล้เคียงญี่ปุ่น
หรืออีกซีกโลกหนึ่งอย่างแคนาดา และเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
2
โดยเฉพาะแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกตั้งอยู่
ไม่ว่าจะเป็น Intel หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
หรือ Walmart ธุรกิจห้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก
1
จนเมื่อเขาอายุได้ 15 ปี คุณพ่อของเขาต้องย้ายไปทำงานประจำ อยู่ที่ประเทศแคนาดา
1
ทำให้เขาต้องย้ายจากโรงเรียนในญี่ปุ่น ไปที่โรงเรียน Valley Park Middle School ในประเทศแคนาดา
2
หลังจากนั้น ในช่วงของการเรียนมหาวิทยาลัย คุณ Kazuo Hirai ได้กลับมาเรียนที่ International Christian University ในสาขาศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ที่ในเมืองมิตากะ ประเทศญี่ปุ่น
1
และจากการที่เขาได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศอยู่บ่อย ๆ
รวมถึงได้ไปใช้ชีวิตอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้เขาเรียนรู้ และมีความสามารถ 2 อย่างด้วยกัน
- เขาเข้าใจและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
- เขาเข้าใจการทำงานของหลายบริษัท จากหลายประเทศ
ซึ่งมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กร หรือเรื่องระยะเวลาการทำงาน
โดยเฉพาะประเทศในฝั่งอเมริกากับฝั่งเอเชียนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมาก
หลังจากจบการศึกษาในปี 1984 คุณ Kazuo Hirai ได้เริ่มเข้าทำงานที่บริษัท Sony Music Entertainment ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Sony อีกทีหนึ่ง โดยในช่วงเริ่มต้น เขาทำงานในตำแหน่ง ฝ่ายการตลาดในแผนกเพลงสากล
4
แต่ด้วยความสามารถ ในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม
ซึ่งแตกต่างจากพนักงานคนอื่นในประเทศญี่ปุ่น ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษที่ดีมากนัก
ทำให้เขาได้มีโอกาส ไปทำงานที่ Sony Music Japan's New York office ในประเทศสหรัฐอเมริกา
4
ตลอด 10 ปี ในการทำงาน เขาค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นมาจนในปี 1995 เขาได้ย้ายมาทำงานในแผนก Computer and Video Games ซึ่งดำเนินการภายใต้บริษัท Sony Computer Entertainment America
หรือ SCEA ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Sony ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับวิดีโอเกมในสหรัฐอเมริกา
3
หลังจากนั้นเพียง 4 ปี คุณ Kazuo Hirai ก็ได้ขึ้นเป็นประธานและผู้บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการของ CEA
ซึ่งเขามีหน้าที่ รับผิดชอบในการบริหารจัดการธุรกิจ เกี่ยวกับวิดีโอเกมในอเมริกาทั้งหมด
1
ซึ่งต้องบอกว่าการได้รับตำแหน่งในครั้งนี้เอง
เป็นจุดที่ทำให้เขา เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงผู้บริหาร
โดยผลงานชิ้นแรกที่เริ่มสร้างชื่อเสียงให้คุณ Kazuo Hirai คือ
การสร้างยอดขาย ให้กับเครื่องเล่นเกม “PlayStation 2” ในสหรัฐอเมริกา
3
ที่บอกว่าสร้างชื่อนั้น ก็เพราะว่าภายหลังจากเริ่มวางขาย ได้เพียง 11 เดือน
PlayStation 2 ในสหรัฐอเมริกา มียอดออร์เดอร์กว่า 8.24 ล้านเครื่อง
มากกว่าในเอเชียรวมถึงญี่ปุ่น ที่ทำการวางขายมาแล้ว 18 เดือน ซึ่งทำยอดอยู่ที่ 6.85 ล้านเครื่อง
และจากผลงานที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง
ทำให้คุณ Kazuo Hirai ค่อย ๆ ขยับตำแหน่งขึ้นมาเรื่อย ๆ
จนในปี 2009 คุณ Kazuo Hirai ก็ได้กลายเป็น ผู้บริหารบริษัทลูกของ Sony หลายบริษัทในเวลาเดียวกัน
5
ไม่ว่าจะเป็นแผนกที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์ VAIO, โทรศัพท์มือถือ Xperia,
บริการอื่น ๆ เช่น เพลง และแน่นอนรวมไปถึงเครื่องเล่นเกม PlayStation
3
และแล้วจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทั้งคุณ Kazuo Hirai เอง รวมถึง Sony Corporation
ก็เกิดขึ้นในปี 2012 เมื่อคุณ Kazuo Hirai ได้ขึ้นแท่นมาเป็นซีอีโอเต็มตัว ของบริษัท Sony
แต่ก็ต้องบอกว่า Sony ในเวลานั้น
เรียกได้ว่าอยู่ในช่วงที่กำลังย่ำแย่เลยทีเดียว
เราลองมาดูผลประกอบการของ Sony กัน ว่าเป็นอย่างไร ?
ปี 2010 รายได้ 2.00 ล้านล้านบาท ขาดทุน 11,714 ล้านบาท
ปี 2011 รายได้ 2.00 ล้านล้านบาท ขาดทุน 74,537 ล้านบาท
ปี 2012 รายได้ 1.86 ล้านล้านบาท ขาดทุน 131,129 ล้านบาท
จากผลประกอบการในตอนนั้น
เรียกได้ว่านอกจากรายได้ไม่โตแล้ว
รายได้ก็ลดลง แถมยังมีผลการขาดทุนมากขึ้นทุกปี
ทันทีที่คุณ Kazuo Hirai เข้ารับตำแหน่งซีอีโอ
เขาก็พบว่า ปัญหาของ Sony ในตอนนั้น รุงรังเต็มไปหมด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น
- บริษัทมีธุรกิจหลายส่วนมากจนเกินไป และไม่ได้มีการโฟกัส ที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ แต่ละหน่วยงานยังทำงานแบบ ต่างคน ต่างทำ เรียกได้ว่าบริษัทไม่มีจุดโฟกัส ไม่มีทิศทางการทำธุรกิจที่ชัดเจน
2
- บริษัทมีพนักงานมากจนเกินไป ซึ่งในหลายตำแหน่งทำงานทับซ้อนกัน
เมื่อรู้ถึงปัญหาที่ Sony กำลังเผชิญอยู่ คุณ Kazuo Hirai จึงได้วางกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหมดนี้
เพียงไม่กี่เดือน หลังจากขึ้นรับตำแหน่งซีอีโอ เขาได้ประกาศกลยุทธ์ที่จะมาแก้ปัญหาของ Sony
โดยกลยุทธ์นั้น มีชื่อว่า “One Sony”
3
อธิบายกลยุทธ์ One Sony ง่าย ๆ ก็คือ
บริษัทต้องการให้ทุกคนใน Sony ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระดับบริหาร
ไปจนถึงพนักงานตัวเล็ก ๆ เห็นภาพ และแนวทางของบริษัทในอนาคต ไปในทิศทางเดียวกัน
1
โดย Sony จะโฟกัสแค่ธุรกิจหลัก ๆ คือ
1. ธุรกิจเกม ซึ่งมีตัวชูโรงอย่างเครื่องเล่นเกม PlayStation
2. ธุรกิจ Digital Image ซึ่งประกอบไปด้วย
กล้องดิจิทัล, เลนส์, รวมไปถึง Image sensor ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีหน้าที่ในการเปลี่ยนภาพที่เราเห็น ให้กลายเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
1
3. ธุรกิจ Mobile ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์หลักคือ สมาร์ตโฟน Xperia
ส่วนธุรกิจที่ Sony ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงธุรกิจที่ไม่สามารถทำกำไรได้ บริษัทก็จะหยุดทำธุรกิจนั้นหรือขายธุรกิจนั้นออกไปทั้งหมด
2
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่า Sony ได้ทำการขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ ซึ่งคือแบรนด์ VAIO ให้กับทางบริษัทจัดการเงินทุนอย่าง Japan Industrial Partners
3
รวมถึงขายธุรกิจแบตเตอรี่ ให้กับบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Murata Manufacturing Co., Ltd.
ซึ่งดีลนี้คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 5,000 ล้านบาท
2
นอกจากนี้ ยังมีการปรับแนวทางของธุรกิจ TV โดยเปลี่ยนจากการผลิต TV ที่มีเทคโนโลยีจอ LCD ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงในเวลานั้น
1
โดยทาง Sony ได้ทำการขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท S-LCD ซึ่งเป็นบริษัทผลิตจอ LCD
ให้กับทาง Samsung ซึ่งดีลนี้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท
2
จากนั้นหันมาเน้นผลิตจอคุณภาพสูง ที่มีระดับ 4K ซึ่งยังไม่มีคู่แข่งในตลาดมากนัก
เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ในเวลานั้น
1
นอกจากเรื่องการขายกิจการออกไปแล้ว เพื่อเป็นการลดต้นทุนของบริษัทลง
คุณ Kazuo Hirai ยังได้ปลดพนักงาน ที่มีหน้าที่ทับซ้อนกันในบางตำแหน่ง กว่า 10,000 คน
4
แนวทางทั้งหมดนี้ ใช้เวลาหลายปี แต่แล้วการเข้ามาปรับโครงสร้างองค์กร ของคุณ Kazuo Hirai
ก็เริ่มเห็นผลได้ชัดในปี 2016 เมื่อบริษัท Sony เริ่มพลิกกลับมาทำกำไรได้สำเร็จ
4
โดยมีธุรกิจเกม ที่มีรายได้หลักมาจากเครื่องเล่นเกม PlayStation 4 ที่สามารถขายได้กว่า 50 ล้านเครื่อง หลังจากวางจำหน่ายได้เพียง 4 ปี
เราลองมาดูผลประกอบการ หลังจากปี 2016 กันว่าเป็นอย่างไร ?
ปี 2016 รายได้ 2.33 ล้านล้านบาท กำไร 42,453 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 2.18 ล้านล้านบาท กำไร 21,052 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 2.45 ล้านล้านบาท กำไร 140,982 ล้านบาท
2
จากผลประกอบการ
หากลองเทียบกับช่วงก่อนที่คุณ Kazuo Hirai จะขึ้นมาเป็นซีอีโอ
บริษัท Sony มีรายได้อยู่ที่ระดับ 2 ล้านล้านบาท
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมรายได้ถึงมีอัตราการเติบโตที่ต่ำ ?
3
นั่นเป็นเพราะว่า Sony ได้ตัดขายธุรกิจบางส่วนออกไป
2
ทำให้ยอดขายจากธุรกิจในส่วนที่ขายออกไปนั้นหายไปด้วย ซึ่งก็ส่งผลมายังยอดขายโดยรวมอีกทีหนึ่ง
แต่หากเราลองมาดูในส่วนของการทำกำไรแล้ว ก็จะพบว่ามีการปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งก็เป็นผลจากการที่บริษัท ทำการลดต้นทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายธุรกิจที่ขาดทุนออกไป หรือการลดพนักงานในส่วนที่มากเกินความจำเป็นให้น้อยลง
1
โดยทั้งหมดนี้ก็จะส่งผลมายังกำไรในบรรทัดสุดท้าย
ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดว่า กำไรของ Sony ปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด
2
หลังจากที่คุณ Kazuo Hirai เข้ามาพลิกฟื้น Sony สำเร็จแล้ว
ในปี 2018 เขาได้ประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอของบริษัท แต่ยังคงมีตำแหน่งเป็นประธานและกรรมการบริษัท
2
และในปีถัดมา คุณ Kazuo Hirai ในวัย 59 ปี ก็ได้ประกาศลงจากตำแหน่งทั้งหมด กลายเป็นเพียงที่ปรึกษาอาวุโสของทาง Sony มาจนถึงปัจจุบัน
3
เราลองมาเทียบมูลค่าบริษัท
ณ วันแรกที่คุณ Kazuo Hirai ขึ้นเป็นซีอีโอของ Sony
กับมูลค่าบริษัทในวันที่ลงจากตำแหน่งผู้บริหาร
5
สิ้นปี 2012 Sony Corporation มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 370,000 ล้านบาท
สิ้นปี 2018 Sony Corporation มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 2,020,000 ล้านบาท
1
คิดเป็นการเติบโตกว่า 5 เท่าภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี เท่านั้น
1
แล้วเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรกับเรา ?
1
ในมุมของผู้บริหารและบริษัท
จะเห็นได้ว่า บางครั้งการที่บริษัทของเรา เลือกที่จะทำอะไรหลายอย่างมากจนเกินไป
จนขาดการโฟกัสในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ก็อาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจากแต่ละธุรกิจนั้น
ไม่ได้มีจุดเด่น หรือคุณภาพดีพอที่จะสามารถแข่งขันในตลาดได้
1
กลับกัน หากเราลองเลือกที่จะทำเพียงไม่กี่สิ่งที่เราถนัด และเป็นจุดแข็งของเราจริง ๆ
ไม่แน่ว่าบางครั้งผลลัพธ์ อาจจะออกมาดีกว่าทำหลายอย่างพร้อม ๆ กันก็ได้
1
ในมุมของนักลงทุน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า “ผู้บริหาร” นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราควรให้ความสำคัญ
บางครั้งเราอาจมองว่า ถ้าบริษัทมีกิจการที่ดี มีธุรกิจที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว ผู้บริหารคงไม่มีผลอะไรมากนัก
1
แต่จากเรื่องนี้เราคงได้เห็นกันแล้วว่า
สำหรับบริษัทที่ประสบปัญหา ผู้บริหารที่เก่ง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริษัทเป็นอย่างมาก..
2
โฆษณา