11 ก.พ. 2022 เวลา 11:11 • ไลฟ์สไตล์
ตัดใจทิ้งไม่ลง? ลองทำตาม “กฎ 0%” ให้เคลียร์บ้านได้แบบ 100%
1
คุณเคยดูคลิปจัดบ้านบน TikTok แล้วเกิดไฟความขยันอยากจัดบ้านตามวิดีโอไหม แต่พอลงมือทำจริง ของที่มีกลับไม่ได้น้อยลงเลยสักชิ้น เพราะตัดใจทิ้งไม่ลง ทั้งๆ ที่เสียเวลานั่งคัดแยกของทีละชิ้นๆ ไปตั้งหลายชั่วโมง
2
ทำไมการจัดบ้านแบบต้อง “ตัดสินใจทิ้งหรือเก็บ” ถึงทำให้เราเคลียร์ของไม่ได้สักที?
1
หากพูดถึงในทางจิตวิทยา เขาบอกว่า จริงๆ แล้ว ในตัวเรามี “แบตเตอรี่ใจ” (Mental Battery) อยู่ แบตฯ อันนี้บรรจุพลังของใจในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ (Will Power) เอาไว้ เมื่อไรก็ตามที่เราต้อง “ตัดสินใจ” แบตฯ ก็จะยิ่งอ่อนลง จนเข้าสู่ภาวะ “Decision Fatigue” หรือความเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจ ยิ่งมีเรื่องให้ต้องตัดสินใจเยอะ ใจก็จะยิ่งเหนื่อยล้าลงเรื่อยๆ
ย้อนกลับมาที่การจัดบ้าน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมช่วงแรกๆ ของการเริ่มเก็บบ้านถึงเป็นไปด้วยดี แต่พอต้องตัดสินใจเลือกของแต่ละชิ้นมากๆ เข้า เราก็รู้สึกหมดแรงลงอย่างรวดเร็ว จนสุดท้ายต้องล้มเลิกแผนการทิ้งของ กลายเป็นเก็บไว้ทุกชิ้นเหมือนเดิม
1
ในเมื่อการเลือกเคลียร์ของทีละชิ้น จากเดิมที่มีของอยู่ 100% ให้ค่อยๆ ลดลงไปเหลือ 80%, 50%, 20% จนถึงปลายทางที่ 0% นั้นทำได้ยาก ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มที่ปลายทางกันเลยดีไหม?
มากำจัดของจาก 100% ให้เป็น 0% ตั้งแต่เริ่มต้น กับ “กฎ 0%” กันดีกว่า!
1
5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้กฎ 0%
1. กำหนดพื้นที่ที่ต้องการเคลียร์ของ
.
การจำกัดพื้นที่ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตที่เราจะต้องจัดการให้สำเร็จ ถ้าเราบอกตัวเองว่า เราจะเริ่มเก็บที่ห้องนอนก็อาจจะกว้างเกินไป เพราะห้องนอนนั้นมีหลายมุม ให้ลองกำหนดไปเลยว่าเป็น “โต๊ะวางของข้างเตียงนอน” “ตู้เสื้อผ้า” หรือ “ชั้นวางหนังสือ” แล้ววางแผนเคลียร์แต่ละพื้นที่เป็นวันๆ ไป จะจัดการได้ง่ายมากกว่าเดิม
2
2. เริ่มเคลียร์ของที่ยุ่งเหยิง
เมื่อรู้ขอบเขตพื้นที่แล้ว ให้เราหากล่องหรือถุงสำหรับแพ็กของมาเตรียมไว้ และเก็บของ ‘ทุกชิ้น’ ลงอุปกรณ์ที่เตรียมมา อย่าเพิ่งตัดสินใจว่าเราต้องใช้ของชิ้นนี้หรือไม่ ให้แพ็กของทั้งหมดลงไปก่อน ให้พื้นที่ที่เราเคลียร์กลายเป็นพื้นที่โล่งๆ และจัดการทำความสะอาดพื้นที่นั้นๆ ให้เรียบร้อย
3. นำของที่เก็บแล้วไปไว้ที่อื่น
คุณอ่านไม่ผิดแน่นอน เพราะวิธีนี้จะแนะนำให้คุณนำของทั้งหมดที่แพ็กแล้วไปไว้ที่อื่น เช่น ห้องเก็บของ หรือบ้านอีกหลังไปเลยก็ได้ ถ้าขั้นตอนนี้ทำคุณเริ่มรู้สึกกังวลว่า คุณจะไม่มีของบางอย่างไว้ใช้ ให้ลองลิสต์ของที่ต้องใช้ในวันนี้ แล้วค่อยหยิบของตามลิสต์ออกมาเท่านั้น เช่น ถ้าคุณจัดโต๊ะที่หัวเตียง คุณจะเริ่มนึกถึงโทรศัพท์มือถือและสายชาร์จ ก็ให้นำแค่สองอย่างนี้ออกมา ส่วนหนังสือที่ไม่เคยหยิบมาอ่าน, โคมไฟที่ไม่เปิดใช้ ไปจนถึงนาฬิกาที่ไม่เคยหยิบดู ฯลฯ ให้แพ็กเก็บตามเดิม และนำไปเก็บไว้ที่อื่นตามแผน
หมายเหตุ: คุณอาจมีของที่มีค่าทางจิตใจ เช่น รูปครอบครัว ที่ทำให้คุณอบอุ่นทุกครั้งที่เห็น ของเหล่านี้สามารถเลือกออกมาได้ แต่ลองพิจารณาดูว่าจะวางไว้ที่เดิม หรือหาที่ใหม่ที่เหมาะสมและไม่รก
4. เอาของกลับมาแค่ของที่ต้องใช้จริงๆ
เมื่อเคลียร์พื้นที่จนเหลือ 0% แล้ว ให้เราใช้ชีวิตปกติแบบเดิมสักหนึ่งวัน ถ้ามีของอะไรที่ต้องใช้ ก็ค่อยไปเอาออกมาจากแพ็กที่เก็บไว้ การเลือกว่าจะเอาชิ้นไหนกลับมาใช้การตัดสินใจน้อยกว่าการต้องพิจารณาทิ้งหรือเก็บของทุกชิ้น เมื่อทำแบบนี้ทุกวัน เราจะพบว่า ของหลายๆ ชิ้นเราแทบไม่นึกถึง หรือลืมไปเลยว่าเคยมี สุดท้ายเราจะเหลือแต่ของใช้จำเป็นจริงๆ เท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามซื้อของใหม่ซ้ำกับของที่เก็บไปแล้ว แค่เพราะขี้เกียจไปรื้อมันออกมาเด็ดขาด!
2
5. กำจัดของที่เราไม่ใช้แล้ว
หลังจากเราไม่มีของอะไรให้ต้องเก็บกลับแล้ว ได้เวลากำจัดของที่ยังเหลือในกล่องออกไป ให้เราบอกตัวเองไว้เสมอว่า ของที่นอนอยู่ในกล่องคือ ของที่เราไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป เราสะสมของเหล่านี้โดยไม่ได้นำมาใช้จริงมาเป็นปีๆ จนฝุ่นเกาะหมดแล้ว
1
และนี่คือ 4 ขั้นตอนย่อยๆ ที่ช่วยให้เราจัดการกับของเหลือเหล่านี้ได้
- ขายออกไป: เราอาจจะเลือกของที่ดูมีราคาและสามารถขายต่อได้ อย่างเช่นแจกันสวยๆ ลองขายให้ร้านรับซื้อของเก่า เว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่างๆ และตลาดนัดทั่วไป นอกจากเราจะได้กำจัดของที่ไม่ใช้แล้ว เรายังได้เงินเล็กๆ น้อยๆ กลับมาใช้อีกด้วย
- บริจาค: ลองหาช่องทางบริจาคทางอินเทอร์เน็ต เช่น มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิสวนแก้วที่รับของสภาพสมบูรณ์ บางแห่งมีรถมารับของให้ถึงที่ด้วย
- เก็บไว้: ของบางชิ้นเราอาจจำเป็นต้องเก็บใช้ในอนาคตจริงๆ แต่ก่อนจะเก็บของชิ้นนั่นกลับมา ลองถามตัวเองก่อนว่า “ของชิ้นนั้นสำคัญต่อเราจริงๆ หรืออาจต้องนำมาใช้บ่อยๆ ไหม”
ถ้าหากยังตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะจัดการกับของบางชิ้นที่ถูกเก็บออกไปนานแล้วอย่างไรดี ลองมาดูไกด์ไลน์สำหรับเลือกว่าจะ ‘เก็บ’ หรือ ‘ทิ้ง’ กัน
- ถามตัวเองว่า เรา ‘ต้องใช้’ ของชิ้นนี้ หรือแค่ ‘อยากมี’ ของชิ้นนี้ไว้ ลองคัดแยกของที่ทำให้เราลังเลออกเป็นกลุ่มๆ แล้วเลือกของจากกองนั้นให้น้อยที่สุด เช่น เราอยากมีกางเกง 20 ตัว แต่เราใช้จริงแค่ 2-5 ตัวเอง ก็เลือกเท่าจำนวนที่ใช้ก็พอ
- จำกัดปริมาณหรือน้ำหนักของที่เราจะเก็บ ลองนึกภาพว่า ถ้าเราต้องนำของเหล่านี้ใส่ในกระเป๋าเป้ใบเดียว เราจะเอาอะไรไปบ้าง นี่จะช่วยให้เราเลือกของที่จำเป็นต่อชีวิตเราจริงๆ ได้
- ตั้งจุดประสงค์ใหม่ให้ของที่มีคุณค่าต่อใจ ของบางชิ้นอาจเต็มไปด้วยความทรงจำ เช่น สมุดวาดภาพสมัยเรียนอยู่ปี 1 เราอาจถ่ายภาพของชิ้นนั้นและภาพข้างในเก็บเอาไว้แทน เราอาจเลิกรู้สึกยึดติดกับของชิ้นนั้นได้ง่ายขึ้น
แต่ถ้าเราทำใจทิ้งไม่ลงจริงๆ การเก็บของชิ้นนั้นเอาไว้ก่อน แล้วมาเลือกใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดร้ายแรงอะไร ลองชาร์จแบตฯ ในใจเราจนเต็ม ให้เวลาตัวเองได้ตัดสินใจ เพราะข้อดีของกฎ 0% คือ เราไม่จำเป็นต้องรีบร้อนตัดสินใจ เพราะเราได้เคลียร์ของออกไปพื้นที่นั้นจนหมดแล้ว
กฎ 0% กับพื้นที่ดิจิทัล
.
หลายคนมีโทรศัพท์มือถือและโน้ตบุ๊กที่เต็มไปด้วยแอปพลิเคชัน ไฟล์ และโปรแกรมต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วมากมาย จนหาสิ่งสำคัญที่ต้องใช้จริงๆ ไม่เจอ เราก็สามารถใช้กฎ 0% ได้เหมือนตอนเราจัดบ้านเช่นกัน
เริ่มจากใช้ Hard Drive แบบพกพาเป็นเสมือนกล่องสำหรับเก็บของออก จากนั้นให้เราคัดลอกไฟล์ทั้งหมดลงใน Hard Drive นั้น เมื่อตรวจเช็กแน่ใจว่าเราเก็บข้อมูลมาครบ ก็ให้ลบไฟล์เดิมในเครื่องทิ้ง แล้วเมื่อไรที่มีเหตุต้องใช้ไฟล์เก่า ค่อยย้ายกลับมาใส่โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ของเราอีกที อย่าลืมจัดเรียงไฟล์เข้าโฟลเดอร์ให้เป็นระเบียบด้วย
1
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหนในการจัดบ้าน เคลียร์คอมพิวเตอร์ ปัญหาหลักไม่ได้อยู่ที่ของ แต่เป็นที่เราเอง ดังนั้นขณะจัดการกับสิ่งของเหล่านั้น ท่องไว้เสมอว่า การเคลียร์ของช่วยให้ชีวิตเราเรียบง่าย ไม่ต้องมานั่งหาของให้วุ่นวาย เสียเวลาทำงาน และอย่ารีบร้อนตัดสินใจ ให้เวลาตัวเองได้ทบทวนความสำคัญแต่ละชิ้นแบบถี่ถ้วนดูเสียก่อน
1
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
- อันนั้นก็เผื่อใช้ อันนี้ก็อยากเก็บไว้! คุณอาจเป็น Hoarding Disorder โดยไม่รู้ตัว https://bit.ly/3srqkpV
แปลและเรียบเรียงจาก:
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskills
1
โฆษณา