11 ก.พ. 2022 เวลา 11:20 • ครอบครัว & เด็ก
🎯 ภาระหนี้สิน💰....เป็นมรดกหรือไม่!!!!❓
📢เ มื่อพูดถึงมรดก 💰 หลายคนคงจะนึกถึงแค่เพียงการจัดการและส่งมอบทรัพย์สิน 🏡 ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ตายแต่เพียงด้านเดียว โดยอาจลืมนึกไปว่า หากผู้ตายก็มีหนี้สิน 💰 ด้วย แล้วหนี้สินนี้เป็นมรดกด้วยหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
✅ ก่อนที่จะไปตอบคำถามว่าหนี้เป็นมรดกหรือไม่ เรามาเรียนรู้กันก่อนว่า แล้วมรดกคืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง👍
" มรดก " คือ ทรัพย์สิน 🏡 ทุกชนิดของผู้ตาย 😇 ที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมถึงสิทธิผูกพันในสังหาริมทรัพย์💵และอสังหาริมทรัพย์🏡 สิทธิและหน้าที่ เช่น หน้าที่ในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ และความรับผิดต่างๆ เช่น การผิดสัญญาและการละเมิด เป็นต้น ทั้งหมดนี้เราจะเรียกรวมกันว่าเป็น กองมรดกของผู้ตาย 😇
" มรดก " จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลถึงแก่กรรม 😇 และ มรดก ของบุคคลนั้นจะตกทอดถึงทายาท 👨‍👩‍👧‍👦 ทันที ทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิด โดยทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่เกิดขึ้นพร้อมกับหรือเนื่องจากความตายของเจ้ามรดก เช่น เงิน 💵 ที่ผู้รับผลประโยชน์ได้รับจากสัญญาประกันชีวิตของผู้ตาย ไม่ถือว่าเป็นกองมรดก หรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ก็ไม่ถือว่าเป็นกองมรดกของผู้ตาย (ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของทายาท)
🎯 ดังนั้น " หนี้จึงเป็นมรดก " เพราะเป็นหน้าที่ในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ 👨‍⚖️ แม้ว่าเจ้ามรดกจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่หน้าที่ในการชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้จะยังคงอยู่ แล้วทายาทจะต้องชำระหนี้เท่าไหร่ ต้องชำระทั้งหมดเลยมั้ย แล้วถ้าเงินที่มีไม่พอจ่ายจะทำอย่างไร
✅ คำตอบ คือ กรณีที่เจ้ามรดกมีหนี้สินซึ่งสร้างภาระไว้ก่อนเสียชีวิตในจำนวนที่มากกว่าทรัพย์มรดก หรือมีแต่หนี้สิน ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินใดๆ ให้แก่ทายาทเลย ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับ เช่น ทรัพย์มรดกของผู้ตายมีมูลค่า 2 ล้านบาท แต่ผู้ตายมีหนี้สินอยู่ 3 ล้านบาท ดังนั้นทายาทจะต้องรับชดใช้หนี้สินในจำนวนเงินที่ไม่เกิน 2 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนอีก 1 ล้านบาทที่เหลือ ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบถือว่าเป็นหนี้ที่เกิดเฉพาะบุคคลนั้น นั่นก็หมายความว่า หากผู้ตายมีแต่หนี้สิน และไม่มีทรัพย์มรดกเลย ทายาทก็ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินนั้น แต่หากมีทรัพย์มรดกเกินกว่าหนี้สิน ทายาทต้องชดใช้หนี้สินที่มีทั้งหมดก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมรดกมาแบ่งกัน ✅
🎯 จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ระบุไว้
 
🎯 ตามกฎหมาย เพื่อให้ทายาทสามารถแบ่งมรดกได้อย่างเร็วที่สุด จึงได้กำหนดว่าเจ้าหนี้ต้องฟ้องเอาเงินจากกองมรดกภายใน 1 ปีตั้งแต่เจ้ามรดกตาย หรือรู้ว่าเจ้ามรดกตาย ซึ่งโดยปกติเมื่อลูกหนี้เสียชีวิต เจ้าหนี้ก็น่าจะทราบได้ เพราะลูกหนี้จะขาดส่งดอกเบี้ย เมื่อขาดส่งดอกเบี้ย ก็ต้องมีการติดตามทวงถาม และจะทำให้เจ้าหนี้ได้ทราบว่าลูกหนี้ได้เสียชีวิตแล้ว แต่ถ้าไม่รู้ และมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าตนเองไม่รู้ ก็สามารถฟ้องได้ภายใน 10 ปี แต่ถ้าเกิน 10 ปีแล้วเพิ่งรู้ จะไม่สามารถฟ้องได้
📢 หากทายาทได้แบ่งมรดกไปแล้ว เจ้าหนี้ต้องฟ้องเอากับทายาททุกคนที่ได้รับการแบ่งมรดก จะฟ้องเฉพาะทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เพราะทายาทแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้เท่ากับหรือไม่เกินมรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดก
✅ หากเจ้ามรดกมีคู่สมรส และมีหนี้สินร่วมกันซึ่งสร้างภาระไว้ก่อนเสียชีวิต หนี้สินร่วมนั้นจะถูกแบ่งครึ่งระหว่างเจ้ามรดกและคู่สมรส โดยหนี้สินในส่วนของเจ้ามรดกจะตกทอดสู่ทายาททันที (เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก)
⏩ กล่าวโดยสรุป หากเจ้ามรดกมีหนี้สิน หนี้ถือว่าเป็นมรดก โดยที่เจ้าหนี้สามารถทวงเงินกับทายาทได้เพียงเท่ากับมรดกที่ได้รับเท่านั้น หากมีหนี้มากกว่านั้น ทายาทก็ไม่ต้องจ่าย โดยเจ้าหนี้กองมรดกต้องฟ้องทายาทให้ชำระหนี้กองมรดกภายในกำหนด 1 ปีนับแต่เจ้าหนี้ได้ทราบหรือควรทราบถึงความตายของเจ้ามรดก หรือภายในกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และต้องฟ้องทายาททุกคน จะฟ้องเพียงคนใดคนหนึ่งไม่ได้ ซึ่งหากต้องเกี่ยวข้องกับคดีมรดก ควรปรึกษาทนายผู้เชี่ยวชาญ
👨‍⚖️ดังนั้นเวลาที่รับมรดกมา ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่าจะต้องรับภาระหนี้สินของผู้ตายมาด้วย ทายาทจึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามรดกที่ได้เป็นทรัพย์สิน และหนี้สินอะไรบ้าง นอกจากนี้ขอแนะนำด้วยว่าหากมีหนี้ก็ควรจะต้องบอกคนในครอบครัวหรือทายาทได้ทราบไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ไปชดใช้เจ้าหนี้ให้เรียบร้อย และจะได้ไม่เป็นปัญหาเมื่อแบ่งมรดกไปแล้ว
บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร
ติดตามข่าวสาร ข้อมูล หรือ สนใจสอบถาม
เรื่องประกันได้ใน "เจนเรื่องประกัน"
🗣 📲เจน : 081-932-6955 เปิ้ล : 095-561-6147
พูดคุยผ่าน chat โดยเพิ่มเพื่อนในLine นี้ได้เลย
📲 Line ID เจนเรื่องประกัน : @janeinsure หรือ https://lin.ee/pYGbFg1
"คุณทราบหรือไม่...ภาระหนี้สินเป็นมรดกส่งต่อได้!!!!"
โฆษณา