12 ก.พ. 2022 เวลา 23:00 • สุขภาพ
📌มารู้จักภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) กันเถอะ
ออกซิเจนถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอันดับแรกในการดำรงชีวิต ออกซิเจนโดยธรรมชาติเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ถ้าขาดก๊าชออกซิเจนก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะหลังจากหายใจเข้าไปก๊าชออกซิเจนจะถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย เป็นต้น
ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ถ้าหากร่างกายเกิดการขาดออกซิเจนหรือมีออกซิเจนเข้าไปหมุนเวียนไม่เพียงพอจะเกิดอะไรกันนะ
หากร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอย่างอาการหายใจสั้นและถี่ ความจำเสื่อมชั่วคราว อาการชัก หรืออาจหมดสติได้ โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย
 
1.การเดินทางขึ้นที่สูงเกิน 8,000 ฟุต
2.อากาศมลพิษ
3.เล่นกีฬาและออกกำลังกาย
4.ภาวะเครียด
5.อาหารที่มีไขมันมาก
6.คนสูงอายุ
7.สูบบุหรี่
8.ดื่มแอลกอฮอลล์
9.ติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ
👉ภาวะบกพร่องออกซิเจนแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia)
เกิดจากความกดดันออกซิเจนในถุงลมปอด เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่สูงหรือ
กลั้นหายใจ และปอดบวม
2.ภาวะขาดออกซิเจนในระบบไหลเวียนโลหิต‎ (Stagnant Hypoxia)
เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการไหลเวียนของกระแสโลหิต เช่น การลดลงของปริมาณแรงดันเลือดจากหัวใจ เนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว หรือภาวะเลือดคั่ง
3.ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด‎ (Hypemic Hypoxia)
จำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตลดลง เช่น โรคโลหิตจาง การเสียเลือด และภาวะผิดปกติของสารเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้ตามปกติ รวมถึงการที่ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอ
 
4.‎ภาวะขาดออกซิเจนที่เป็นพิษต่อเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)
‎เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สารไซยาไนด์
 
 
👉อาการของภาวะขาดออกซิเจน
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตนเองรู้สึกได้เช่น รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบาก มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ร้อนๆ หนาวๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง เคลิ้มฝัน ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ เพ้อ หมดสติ หรือชัก เป็นต้น อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
👉การวินิจฉัย
แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญสามารถวินิจฉัยสมองที่มีภาวะขาดออกซิเจนได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) เป็นการตรวจการทำงานของเซลล์สมอง โดยวิธีนี้สามารถบอกสาเหตุของอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
👉วิธิป้องกัน
แนะนำให้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงและบรรยากาศที่มีความกดอากาศสูง สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีอากาศเป็นพิษ หากสังเกตว่ามีความเสี่ยงของภาวะบกพร่องออกซิเจนบ่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญและเข้ารับการฟื้นฟูด้วยการให้ออกซิเจน เพื่อให้ระดับออกซิเจนในเลือดและสมองกลับมาดีขึ้น
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Hypoxia #ภาวะขาดออกซิเจน
โฆษณา