13 ก.พ. 2022 เวลา 04:27 • ปรัชญา
ได้แต่รู้มาก แต่ไม่ทำ ได้ประโยชน์อะไร
เรื่องของการเรียนรู้นั้นดี มันก็เหมือนการเรียนสายอาชีวะ ถ้าเรียนแค่อ่านหนังสือ เปิดคอมพิวเตอร์ ดูอะไรมากมายก็จริง เค้าก็เรียกว่า ได้แต่รู้เท่านั้นแหละ รู้แล้วไม่ลงมือฝึกหัดด้วยตัวเอง เมื่อถึงเวลาจะต้องลงมือทำ ทำการทำงาน ต้องไปก่อสร้าง ซ่อมแซมบำรุงรักษาอะไรต่างๆจะทำได้มั้ย แล้วคนที่รู้แล้วฝึกหัดทำ กับคนที่ได้แต่รู้ไม่ทำ แบบไหนมันดีกว่ากัน พวกที่รู้มากอ่านไม่ลงมือทำ เวลาใครพูดเรื่องที่รู้ก็พูดได้เป็นวักเป็นเวรที่จดจำมาคำภีร์ตำราว่างั้นนะ พอใครปฏิบัติมีอุปสรรคมาถาม ก็ยกคำภีร์ตำราปะเคนให้ แล้วเวลาปฏิบัติธรรม ภาวนามันมีแค่จิตกับกายเท่านั้น ไม่ได้เอาตำราแบกเข้าไปด้วย แล้วจะทำยังไง ส่วนพวกที่รู้..รู้นิดรู้หน่อย แต่ฝึกทำจนชำนาญ เวลาไปฟังพวกรู้มาก ก็ต้องเงียบ หรือไม่งั้นก็เดินหนีดีกว่า เพราะไม่รู้เหมือนเค้า อธิบาย บรรยายอะไรกับเค้าไม่เป็นนี้นะ
แต่เรารู้ว่าศาสนานั้นสอนให้เราฝึกหัดกระทำอะไร ชี้ให้เราใช้กายที่เราอาศัยนั้นกระทำขึ้น เรื่องราวของการสร้างบุญกุศลบารมี มันเป็นเรื่องราวของจิตแต่ละดวง จะมีเหตุผลดี รองรับ ช่วยเหลือ ช่วยให้เห็นความสำคัญที่ช่วยเหลือจิตตัวเองด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมาเอง โดยเรือยกายของคุณบิดามารดาที่จิตนี้อาศัยอยู่ กระทำขึ้นมา เมื่อเราได้ลงมือกระทำ เราก็ได้เรียนรู้จากปฏิบัติ ซึ่งบางเรื่องราวก็ใช่ว่าจะมีในตำราที่เค้าเขียน เพราะนั้นมันเขียนมาจากจิตของแต่ละดวง บางครั้งก็อุปโลกน์ แต่การลงมือปฏิบัติ เรื่องราวของคำว่าจิต อารมณ์ กาย ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน มีการปรุงแต่งที่ไม่เหมือนกัน มีลีลาของกายวาจาใจผิดแผก แต่กต่างกันไป ย่อมมีทิฐิ ที่ชอบไม่ชอบในเรื่องราวต่างๆ ไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น การที่จิตแต่ละดวงจะเอาอะไรมาเป็นที่พึ่ง จะพึ่งอะไร ก็อยู่ที่เหตุผลสติปัญญาของจิตแต่ละดวง จะไปยึดอะไร จะเห็นอะไรสำคัญ จะทำอย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อถึงที่ถึงเวลาก็ต้องจากโลกนี้ไป จะเอาอะไรไป มันก็ได้แต่มีคำถาม แต่ไม่มีคำตอบ เพราะต้องปฏิบัติขึ้นมา จิตของตัวเอง พิจารณาด้วยเหตุผล ของตัวเอง ว่าจิตที่มีบุญกุศล เป็นอย่างไร จิตที่ไม่มีบุญเป็นอย่าง แล้วก็เลือกกระทำ ยังงั้นมันก็รู้ไปแค่นั้นเอง รู้แล้ว .ไม่ทำ มีประโยชน์อะไรให้แก่จิตของตัวเอง
แม้แต่บางเรื่อง เค้าก็ว่าแบบนี้เรียกว่า วิปัสสนา มันก็แค่อุปโลกน์นึกคิดเรื่องที่จดจำมา ให้มีลีลาไปตามอารมณ์ คนที่เค้าทำจริง เค้าทำไปจนกายนั้นนิ่ง จิตนิ่ง จึงนำเรื่องที่ติดขัดอยู่มาพิจารณา เรื่องที่ยังไม่เข้าใจในเหตุผลต่างๆ มาพิจารณา ใคร่ครวญ เค้ากระทำตอนที่จิตนิ่ง ไม่มีอารมณ์รบกวน เค้าพิจารณาเรืองที่ตัวเองหลงอยู่ยึดอยู่ พิจารณาเรื่องของกรรมที่นำมาเกิด กรรมที่ตัวเราอยู่กับแม่ทั้งสี่เป็นอย่างไร การชำระสะสางจิตนั้น ต้องทำอย่างไร อะไรมันเกิดขึ้น ทิฐิความคิดเห็นมีนเกิดมาจากตรงไหนภายในกายนี้ แล้วจะละได้อย่างไร ต้องทำจิตอย่างไรบ้าง ถึงจะสลัดละเรื่องราวนั้นได้ เรื่องราวมันมากมายก่ายกองที่ต้องสะสาง เพราะมันเป็นเรื่องของจิตที่ต้องใช้กายที่จิตอาศัยมากระทำขึ้นเอง มันไม่ได้ไปอยู่ที่อื่น
หมายเหตุ ยิ่งสมัยนี้มีการพัฒนา หลักสูตร หลักสูตรครูสมาธิ ครูวิปัสสนา อบรมไม่เท่าไหร่ก็มีวุฒิบัตรรองรับ ก็เพิ่งรู้ว่า สมัยนี้พัฒนามาไกลเกิน ห่างไกลสิ่งที่ต้นพุทธกาล เค้าสอนกัน สอนให้ทำจิตทำใจ สร้างบุญกุศลบารมี บ้างก็มีอารมณ์วุ่นวายมากมาย ก็เป็นครูสมาธิ หลงลาภยศ ฐานบรรดาศักดิ์ สอนให้ผู้อื่นละโลภ แต่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองสะสมอะไรมากมายก่ายกอง ก็ต้องว่ากันตามยุคสมัย อะไรก็ต้องมีวุฒิบัตรรองรับ บางคนฝึกหัดปฏิบัติมาทั้งชีวิต อยู่เงียบสงบสมถะ ไม่วุ่นวาย เค้าว่าไม่ดี นั้นก็เรื่องของโลกอีกนั้นแหละ แล้วแต่จะกระทำขึ้นเอง ทำไปเพื่ออะไรกัน ทำไว้อวดกันว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดีเท่านั้นเอง ต่อไปก็คงมีหลักสูตรสมาธิอะไรมากมายก่ายกอง นอกเหนือจาก กิริยารอยเดินหนีกรรม รอยยืนเดินนั่งนอนภาวนาพุทโธ ตามรอยองค์พระสัมสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านั่งในป่า แต่คนยุคนี้ นั่งห้องแอร์ กลัวมดจะกัด ยุงจะกัด แต่ไม่กลัวอารมณ์ที่เกิดในตน
ความรู้ที่เราเรียนรู้กันในโลก มันนำพาหาสร้างเวรกรรม ยิ่งรู้มากยิ่งเอารัดเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกันเอง เอาความรู้กลับมาทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง แล้วความรู้แบบไหนที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเองว่าเกิดมาทำมั้ย พัฒนาจิตใจขึ้นมาบ้าง ความรู้ที่ประกอบไปด้วยความโลภทะเยอทะยาน มันนำพาสร้างสิ่งของต่างๆเสียจนล้นเป็นขยะ ไม่มีที่เก็บใช้แล้วก็ทิ้ง ทิ้งให้เป็นพิษกลับมาทำทำลายตัวมนุษย์ด้วยกันเอง แล้วเราก็บอกว่าโลกนี้เจริญ หุ่นยนต์ก็ให้ใช้ หุ่นยนต์ไว้ฆ่าคนก็มี จะตายกันทีละมากๆ ตกลงความรู้ที่ ..รู้กันมันสร้างมวลมนุษย์ให้เป็นเยี่ยงไร กับการที่จิตแต่ละดวงมาอาศัยกายมนุษย์อยู่ไม่เกินแปดสิบปีร้อนไป แล้วจิตดวงนั้นก็ต้องออกจากร่างไป มีความรู้ต่างๆที่เรียนอยู่กับโลก ก็ต้องวางไว้กับโลก แค่เจ็บป่วยพิกลพิการ ตรงนั้นตรงก็ทุกข์ทรมานกัยกายที่อาศัย เวลาผ่านไปวันๆ กินกับนอน รอตายเท่านั้นเอง
ในปัจจุบันนี้ เราก็ได้เห็นธรรมที่เค้ามาบรรยาย ผู้ที่ที่นำบรรยาย ก็หยิบตรงนั้นนิด ตรงนี้ไหน จดจำมาบรรยาย แล้วเราก็ควรสังเกตุการบรรยาย สังเกตว่าผู้ที่บรรยาย มีการประพฤติปฏิบัติธรรมหรือไม สังเกตได้จากอารมณ์ของผู้ที่บรรยายนั้นแหละ ว่าเป็นผู้ที่ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมหรือไม่ เรื่องบรรยายธรรมนั้นดี บางเรื่องผู้ที่บรรยายนี่สิ มีธรรมที่จิตหรือไม่
ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่หายากมาก ที่จะได้ฟังธรรม จากวาจาของผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ และจิตมีธรรม ที่จะบอกกล่าว ชี้เแนะการปฏิบัติธรรม ให้ถูกทาง เพราะท่านผ่านเรื่องราวการประพฤติมาแล้ว จนจิตท่านมีธรรม คำพูดของท่านเป็นคำพูดธรรมดา พูดให้เข้าเหตุผล ไม่นำเรื่องราวคำภีร์มาพูดเลย นั้นเป็นธรรมเกิดจากจิตที่มีธรรม เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็จากเราไปแล้ว เรามาเกิดในยุคที่ร่องรอยการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นจางไป เหมือนจะหายไปในม่านหมอก ที่มาปิดบัง เราจึงต้องรื้อฟื้นเดินตามรอยของท่าน ไม่ได้ไปรื้อฟื้นที่ใคร รื้อฟื้นที่กายและจิตของเราเอง
ฉะนั้น เรื่องของการประพฤติปฏิบัติธรรม เราต้องพยายามมองดูรอยของชาดก พระเวสสันดร เจ้าชายสิทธัตถะ รอยของการสร้างบุญบารมี เพื่อทำความเข้าใจว่า การสร้งทานบุญกุศลบารมี เค้ากระทำกันอย่างไร เริ่มจากทาน ไปหาบุญ เมื่อมีบุญ ก็สร้างบารมีหนีกรรม
โฆษณา