27 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เครดิตภาษีเงินปันผล อีกสิทธิหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นควรรู้
ผู้ถือหุ้นในฐานะผู้รับผลประโยชน์จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแล้ว อีกสิทธิหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นควรรู้ ก็คือ สิทธิในการเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนภาษีเงินได้ของผู้ถือหุ้นค่ะ
2
แล้วเครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร ?
เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ เนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้
สรุปคือ “เงินปันผล” มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อบริษัทนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ภาครัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้ บางส่วน
นักลงทุนสามารถดูอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทได้จาก หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งนักลงทุนต้องเก็บหนังสือรับรองนี้ไว้เป็นหลักฐาน เผื่อกรณีที่กรมสรรพากรขอหลักฐานเพิ่มเติมภายหลังด้วยค่ะ
⛳ หากอยากเครดิตภาษีเงินปันผลต้องทำอย่างไร
ก่อนอื่นให้พิจารณาเงินปันผลที่ได้รับมานั้นสามารถใช้เครดิตภาษีได้หรือเปล่า โดยให้ดูว่าบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรานั้นเสียภาษีนิติบุคคล หรือไม่
ถ้าบริษัทนั้น >> เสียภาษี นักลงทุนก็สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่จะนำมาเครดิตได้ในอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเท่าใด นำอัตราภาษีมาแทนค่าตามสูตร จะได้สัดส่วนการเครดิตภาษีเงินปันผล หรือถ้าบริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
1
สูตรคำนวณ :
เครดิตภาษีเงินปันผล = เงินปันผล * อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายปันผล / (100 – อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)
ตัวอย่าง :
นาย A รับเงินปันผลจากบริษัท รวยล้น จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,000 บาท โดยบริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
1
ดังนั้น เครดิตภาษีเงินปันผล = 5,000 * [20 / (100-20)] = 1,250 บาท
แต่ถ้าบริษัทนั้น >>ไม่เสียภาษี นักลงทุนจะ ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ นักลงทุนอาจต้องพิจารณาต่อว่าบริษัทไม่เสียภาษีเนื่องจากอะไร เช่น
- เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
1
- กฎหมายพิเศษยกเว้น เช่น พาณิชย์นาวี ซึ่งบริษัทเรือหรืออู่เรือส่วนใหญ่เข้าข่ายเกณฑ์ข้อนี้ แต่อาจต้องตรวจสอบกับบริษัทนั้นๆ อีกครั้งว่า จดทะเบียนยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่
ในการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล ผู้ถือหุ้นต้องคำนวณมูลค่าปันผลจากทั้งเงินปันผล (cash dividend) และมูลค่าของหุ้นปันผล (equity stock dividend)
สำหรับในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายปันผลเป็นหุ้นด้วย
โดยผู้ถือหุ้นต้องนำปันผลที่ได้รับจากทุกหลักทรัพย์ในทุกครั้งที่ผู้ถือหุ้นได้รับมารวมเป็นมูลค่าเงินปันผลเพื่อคำนวณเครดิตภาษีในปีภาษีนั้น ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางหลักทรัพย์หรือการจ่ายปันผลบางครั้งได้
ทั้งนี้มูลค่าเครดิตภาษีเงินปันผลมิใช่เงินที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับคืนทั้งหมด แต่ผู้ถือหุ้นต้องนำมูลค่าเครดิตภาษีไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยผู้ถือหุ้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้สิทธิในการขอเครดิตภาษีเงินปันผล คือ ผู้ถือหุ้นที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายเงินปันผลให้
⛳ ผู้มีสิทธิในการขอเครดิตภาษีเงินปันผล
ตามเกณฑ์ในการเครดิตภาษีเงินปันผลของกรมสรรพากร ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก
ส่วนแรก คือ ผู้รับปันผลหรือผู้ถือหุ้น ต้องเป็นบุคคลธรรมดามีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย คือมีชื่อในทะเบียนราษฎร์หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หมายถึง ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยรวมเวลาทั้งหมดไม่น้อยกว่า 180 วันในปีภาษีนั้น
และส่วนที่ 2 คือ ผู้จ่ายเงินปันผลต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
⛳ ควรนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีและใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่
จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากฐานภาษีเงินได้ของนักลงทุน เปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทที่ได้รับเงินปันผล
1
ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา > อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท
>> ไม่ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล
ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา < อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท
>> ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นที่เข้าเกณฑ์มีสิทธิในการขอเครดิตภาษีเงินปันผล อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการขอเครดิตภาษีเงินปันผลทุกคน เนื่องจากในการขอเครดิตภาษีเงินปันผลในขั้นตอนการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขั้นตอนการยื่นแบบฯ)
ผู้ถือหุ้นต้องนำเงินปันผลและเครดิตภาษีเงินปันผลมาคำนวณรวมเป็นรายได้พึงประเมิน ในส่วนที่ 1 ของภาพที่ 1 ที่ผู้ถือหุ้นยื่นภาษีบุคคลธรรมดา โดยใช้สิทธิในการเครดิตภาษีเงินปันผลตาม ภงด.90 ส่งผลให้รายได้พึงประเมิน (รายได้รวมหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่ต้องจ่ายภาษีสูงขึ้น
1
การประเมินภาษีบุคคลธรรมดา ภาพที่ 1
ขณะเดียวกันในส่วนของภาษีที่นำส่งแล้ว ผู้ถือหุ้นต้องนำเครดิตภาษีเงินปันผลและภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นภาษีที่นำส่งไว้แล้ว ในส่วนที่ 2 ของภาพที่ 2 ที่ผู้ถือหุ้นยื่นภาษีบุคคลธรรมดา โดยใช้สิทธิในการเครดิตภาษีเงินปันผลตาม ภงด.90
การประเมินภาษีบุคคลธรรมดา ภาพที่ 1
ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจะต้องวางแผนภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยการเลือกวิธียื่นแบบฯ ที่ส่งผลให้ยอดภาษีสุทธิที่ผู้ถือหุ้นต้องจ่ายต่ำที่สุดนั่นเองค่ะ
Cr. SET
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มีให้กันเสมอค่ะ
🌷🌷❤❤🙏🙏🙏🙏❤❤🌷🌷

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา