14 ก.พ. 2022 เวลา 07:23 • การเมือง
"สมรสเท่าเทียม" และ ความเท่าเทียมที่ ... ยังมาไม่ถึง
14 กุมภาพันธ์ เป็นหนึ่งวันที่คู่รักนิยมจูงมือไปจดทะเบียนสมรสกันมากที่สุด แต่ยังมีอีกหลายๆ คู่ที่ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ด้วยเหตุการส่งแขวนร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ที่มีการพิจารณามาอย่างยาวนานตั้งแต่ ปี 2563
พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ความเท่าเทียมที่ยังมาไม่ถึง
ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? ไม่ใช่เฉพาะสำหรับ LGBTQ+ เท่านั้น แต่คือความเท่าเทียมที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และ พ.ร.บ ฉบับนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? The Subtitles Story จะย่อยให้อ่าน
เมื่อสมการการแต่งงานมีเพียงคู่ชายหญิง
ก่อนอื่นขอย้อนปูพื้นถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องการสมรสในปัจจุบันเสียก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรสที่ใช้ในปัจจุบันถูกร่างขึ้นในปี พ.ศ. 2519 ในมาตรา 1448 ของกฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้ที่มีสิทธิหมั้นและจดทะเบียนสมรสได้นั้นต้องเป็นการแต่งงานระหว่าง “ชายและหญิง” เพียงเท่านั้น ซึ่งมีผลไปถึงการขอรับบุตรบุญธรรม การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่รัฐมอบให้ในฐานะสามีภริยา นอกจากนี้ การมอบของหมั้นและสินสอดตกเป็นหน้าที่ของฝ่ายชาย
แน่ละว่านี่คือปี 2565 หากจะยึดกฎหมายที่ถูกกำหนดใช้ในปี 2519 ซึ่งถูกร่างขึ้นในสมัยที่บริบททางสังคม ความเชื่อต่างๆ ในสังคมไทยแตกต่างจากสถาการณ์ปัจจุบันอยู่มาก คำถามคือ “เรื่องเหล่านี้มันยัง make sense อยู่ไหม?”
รายละเอียดเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรส
หากมองออกไปมุมกว้าง เรื่อง same sex marriage หรือการสมรสเท่าเทียม ดูจะไม่ใช่เรื่องผิดแผกอะไร เพราะหลายๆ ประเทศที่มีประชาธิปไตยต่างเปิดกว้าง อ้าแขน พร้อมพลักดันเรื่องความเท่าเทียมกันเพื่อประโยชน์ของประชาชน อาทิ อังกฤษ แคนนาดา นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม แอฟริกาใต้ บราซิล หรือแม้กระทั่งประเทศในแถบเอเชียอย่าง ไต้หวัน และ ประเทศที่มีความเคร่งครัดทางสังคมอย่าง ญี่ปุ่น ต่างก็รองรับการแต่งงานของคู่สมรสผู้มีความหลากหลายทางเพศ
และนี่คือรายละเอียดเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรส
  • บุคคลทุกเพศ ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์หมั้นและสมรส
  • อายุขั้นต่ำในการหมั้น คือ 17 ปี*
  • อายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส คือ 18ปี*
  • การมอบของหมั้น คือ "ผู้หมั้น" มอบให้ "ผู้รับหมั้น" หรือสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ทั้งสองฝ่าย
  • การมอบสินสอด มอบให้บิดามารดาฝ่ายผู้รับหมั้น หรือมอบให้ทั้งสองฝ่าย
  • การจัดการสินสมรสบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
  • คู่สมรสสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
  • สามารถรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้
  • คู่สมรสสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ เช่น สิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล และการรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม
โดยังยังยึดหลักเช่นเดิม ห้ามมีการสมรสซ้อน ห้ามสมรสกับผู้ไร้ความสามารถ และห้ามสมรสกับญาติตามสายโลหิต รวมทั้งการหมั้นและจดทะเบียนสำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง*
รายละเอียดเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการสมรส
สรุปแล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม?
เมื่อความรักถูกกำหนดค่า “ไม่ใช่เรื่องระหว่างคนสองคน” เท่านั้น ด้วยมุมมองของประเทศที่ยึดถือศีลธรรมอันดีงามและให้ค่าความกตัญญู ความ suffer กลับตกอยู่กับผู้ที่ต้องการสมรส ไม่เฉพาะผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่คู่ชายหญิงก็มีปัญหาปวดหัวไม่แพ้เช่นกันในเรื่องสินสอดทองหมั้น
ประโยขน์ของการ #สมรสเท่าเทียม คือ นอกจากให้บุคคลทั้งสองสามารถจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้ว คู่สมรสพึงได้รับสิทธิต่างๆ ที่รัฐกำหนดให้คู่สมรสอย่างเท่าเทียม
  • สามารถสร้างครอบครัวรับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม หรือ บุตรที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ได้
  • สิทธิในการหมั้น
  • สิทธิในการมอบสินสอด
  • สิทธิในการรักษาพยาบาลสามารถเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาลให้คู่สมรส
  • สิทธิในการจัดพิธีศพหากคู่สมรสเสียชีวิต
  • รับสวัสดิการร่วมจากรัฐในฐานะคู่สมรส
  • สิทธิในการใช้นามสกุลร่วมกัน
  • สิทธิในการเปลี่ยนสัญชาติ
  • สิทธิในการออกเอกสารขอวีซ่าเดินทางในฐานะคู่สมรส
ซึ่งทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ เราเชื่อว่าร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ไม่ได้มีขึ้นเพื่อคนรุ่นเราเท่านั้น แต่ในวันข้างหน้าประโยชน์จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานของพวกเราอีกด้วย ไม่ว่าพวกเขาเลือกที่จะเป็นเพศสภาพใดก็ตาม
“ความรักควรเป็นเรื่องของคนสองคน แต่ทุกคู่รักควรได้รับความเท่าเทียม”
หากใครสนใจก็สามารถสนับสนุนและร่วมลงชื่อได้ที่ https://www.support1448.org/
สามารถสนับสนุน ติดตามผลงานได้ที่ @subtitles.story
References:
.
#สมรสเท่าเทียม : สำรวจหลักกฎหมายและร่างพ.ร.บ.แก้ไขกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส https://ilaw.or.th/node/5711
.
ถึงเวลา #สมรสเท่าเทียม ‘เพราะทุกคนมีสิทธิรัก’
#TheSubtitleStory #AllSmallThingsMatter #Culture #สมรสเท่าเทียม #วาเลนไทน์
โฆษณา