Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไปไงมาไง ไหนเล่าซิ
•
ติดตาม
14 ก.พ. 2022 เวลา 09:15 • ข่าว
#ไปไงมาไงไหนเล่าซิ
#รถไฟฟ้าสายสีแดงตะวันตก
#ลดความถี่การให้บริการ 😱😱
อ่านข่าวนี้เมื่อเช้า แอดถึงกับอึ้งไปเล็กน้อย ที่รถไฟฟ้า 🟥สายสีแดงตะวันตก เส้นทาง บางซื่อ-ตลิ่งชัน จะลดความถี่การให้บริการลงในช่วงเร่งด่วนเป็น 20นาที/ขบวน และในช่วง off peak 30นาที/ขบวน
🙄🙄 ถ้าจะห่างขนาดนี้นี่เตรียมรอวันม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลยนะ แล้วคือเพิ่งเปิดมาได้ไม่ถึงปี สถานีกลางบางซื่อยังไม่ fully open แต่ตัว feeder อย่างแดงตะวันตก เริ่มออกอาการเซแล้ว งอแงแล้วหนึ่ง
อันนี้เดาได้เลยว่าปัญหาคือ คนมาใช้บริการน้อย น้อยจนการรถไฟฯ ใจบางๆ หวิวๆ กุจะขาดทุนอีกแล้วเหรอ ม่ายยยนะ
แล้ววิธีการแก้ปัญหาที่การรถไฟฯ ถนัดมากๆ คือ นโยบายแบบตั้งรับ ประมาณว่าตัยแร้ววว ชั้นจะขาดทุนแล้ว ต้องลด คชจ แล้ว ลดเที่ยวบริการลง ให้ match กับจำนวน ผู้ใช้บริการดีกว่า นี่แหล่ะฉันจะไม่ขาดทุน
แต่การแก้ปัญหานี้นั้นการันตีได้เลยว่าจะยิ่งทำให้คนใช้บริการน้อยลง เพราะมันไม่สะดวก ลองนึกภาพว่ามาใช้บริการ แล้วถึงชานชาลาปุ๊บ รถไฟเพิ่งออกไปหวิวๆ นี่คือนั่งรอเก้ออีก 30นาทีเลยนะ เสียเวลาทิ้งขว้างไปเลย ใครจะอาศัยนั่งไปทำงานนี่ก็ต้องคิดหนักเลยว่า ทำไงดี ขึ้นรถไม่ทันนี่ตกเส้นแดง สแกนนิ้วเข้างานไม่ทันกันเลยทีเดียว แล้วสุดท้ายคนก็จะหันกลับไปใช้บริการขนส่งรูปแบบอื่นที่มัน Reliable มากกว่า
▶️ที่นี้ลองวิเคราะห์ดูว่า ทำไมการรถไฟฯ มั่นใจว่าถึงห่างขึ้น คนก็ยังจะมาใช้บริการ?
▪️ก็ตัวอย่าง City Line ของ Airport Link นี่ไง ช่วงเร่งด่วนก็ 15นาที/ขบวน คนยังแน่นเป็นปลาป๋องเลย แล้วเราจะต้องวิ่งทำไมถี่ๆ รวบๆ มาขึ้นขบวนเดียวกันซะให้หมด จะได้คุ้ม คชจ
🤔 แต่ที่แอดมองคือ 1คำตอบ ไม่สามารถ ใช้แก้แล้ว work ทุกปัญหา เพราะว่า
▪️ด้วย Masterplan ของสายสีแดงทั้ง Network ที่ครอบคลุมเหนือ ใต้ ออก ตก เนี่ย 90% คือเป็นเขตทางของรถไฟทางไกลปัจจุบัน แค่ add ระบบ commuter เข้าไปเพิ่ม ในเขตทางเดิม มันก็เลย feasible เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องที่ดิน มีแต่เรื่องการก่อสร้างและ operate
▪️และด้วยเหตุผลข้างบน Route เดิมบนเส้นทางเดิม ที่สร้างมาแล้ว 100กว่าปี แปลว่า ตอนนี้บางสถานีนั้นก็ไม่ได้เป็นย่านชุมชน เหมือนเมื่อก่อน ทางรถไฟ ไม่ได้เป็นเส้นเลือดหลัก ที่มีชุมชนเกาะเกี่ยวเหมือนก่อน บางสถานีก็เลยมี Catchment area ที่จะเข้าถึงผู้ใช้บริการได้น้อยและเบาบาง ดังนั้นจะบอกว่าศักยภาพการเข้าถึงของเส้นตะวันออก อย่าง City Line ของ Airport Link กับเส้นตะวันตก บางซื่อ-ตลิ่งชัน มีศักยภาพเท่ากัน และใช้วิธีการแก้ปัญหาเดียวกันน่าจะจบ จึงไม่น่าเป็นไปได้
▪️สายตะวันออกนั้น มีความโดดเด่นตรงที่ เส้นทางตัดผ่านถนนสายหลักสำคัญๆ ของกรุงเทพ ตั้งแต่ พญาไท ราชปรารภ อโศก รามคำแหง และสุดท้ายมี node สำคัญคือ สนามบินสุวรรณภูมิ คือ ถ้าให้ ผดส เลือก นั่งรถเมล์จากคลองตันเข้าเมือง ยังไงทนรอขึ้น City Line จากรามคำแหงมาพญาไท ก็ยังดีกว่าไปติดบนถนนเพชรบุรี และที่สำคัญระหว่างสถานีย่อยๆ ตามทางมันก็มี demand การเดินทางระหว่างกัน ไม่ใช่แค่เป็นการ feed คน จากสุวรรณภูมิ/ลาดกระบัง มาเข้าเมืองที่ มักกะสัน กับ พญาไท อย่างเดียว แต่เอาจริงๆ นะเส้น City Line ก็ยังถือว่า Undersupply อยู่ดีในช่วงเร่งด่วน เพราะคนล้นมากเว่อ ถ้าเพิ่มความถี่ต่อขบวนช่วงเร่งด่วนต่ำกว่า 10 นาทีได้มันจะเป็นอะไรที่น่าใช้กว่านี้มาก
▪️รถไฟฟ้าสีแดงสายตะวันตก ที่ operate อยู่ตอนนี้นั้น เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ - บางซ่อน -บางบำหรุ-ตลิ่งชัน รวมทั้งหมด 4สถานี เป็น Phase แรก โดยใน masterplan ขั้นสุดนั้น สายนี้จะวิ่งไปถึง นครปฐม ขั้นกลาง ไปสุดที่ศาลายา แล้วก็จะมีแยกจากตลิ่งชัน ไปเชื่อมกับ 🟦สายสีน้ำเงินที่บางขุนนนท์ และ 🟧สายสีส้มที่บางขุนนนท์ และ ศิริราช โดยที่ในส่วนต่อขยายของ 🟩สายสีเขียวอ่อน BTS สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า ก็จะขยายมาเชื่อมกับสายสีแดงตะวันตกที่ตลิ่งชัน
▪️ใน Masterplan ภาพใหญ่ มันคือ network ที่ครบเลยแหล่ะ แต่ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ปลายทางตลิ่งชันนั้น ไม่เชื่อมต่อกับอะไรเลย ที่เชื่อมอยู่ก็คือกับสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชันของการรถไฟเอง ไม่มี node สำคัญ ไม่มี shuttle feeder อะไรที่จะดึงคนเข้ามาใช้ระบบ หรือแม้กระทั่งส่งคนออกจากระบบไปยังชุมชนใกล้เคียง และด้วยศักยภาพเส้นทางที่ตัดผ่านถนนเส้นหลักไม่กี่เส้น ตั้งแต่ประชาชื่น (ไม่มีสถานี) กรุงเทพ-นนท์ (สถานีบางซ่อน เชื่อมกับสีม่วง) จรัญสนิทวงศ์(ไม่มีสถานี) จากนั้นก็จะไม่มีการตัดกับถนนสายหลักยาวๆ เป็นเส้นทางเหมือนไส้แซนด์วิช จนไปตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย (สถานีบางบำหรุ) ตัดถนนราชพฤกษ์ (ไม่มีสถานี) และจบที่สถานีตลิ่งชัน ห่างจากจุดตัดถนนราชพฤกษ์มาประมาณ 700เมตร
และด้วยความที่ทางรถไฟไม่ได้สำคัญเหมือนแต่ก่อน ตั้งแต่มีถนนบรมราชชนนี ความเจริญอะไรต่างๆ ก็ไปอยู่บนถนนหมด รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นอย่างรถเมล์ก็ไม่มี แค่จะออกจากสถานีตลิ่งชันไปถนนบรมราชชนนีเพื่อต่อรถเมล์ก็ยากลำบากแล้ว ถ้าบ้านไม่ได้อยู่ใกล้สถานีจริง ก็ต้องมีความพยายามระดับนึงในการมาใช้บริการรถไฟสายนี้
▪️เพราะฉะนั้นการลดความถี่การให้บริการ โดยไม่เพิ่มศักยภาพ catchment area การเข้าถึงสถานี และ การเชื่อมต่อกับชุมชนและระบบขนส่งอื่นไปพร้อมๆกัน ไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ดีของรถไฟฟ้าสายนี้ และการลดเที่ยวบริการ ก็จะเป็นการลดคนใช้บริการตามกันไป
▪️ในมุมมองของแอดนะ ถ้าปัญหาคือคนใช้งานระบบน้อย นี่ต้องคิดหาแผนการเชิงรุก ให้คนมาใช้งานเยอะขึ้นสิ โปรโมชั่นราคาก็ทำได้ ถ้าเน้นคนใช้งานประจำ ก็ Promotion Flat Rate ตั๋วรายเดือนไป แต่ไม่ใช่ตัดจบด้วยการลดความถี่ซ้ำเข้าไปอีก ให้เกิดปัญหาใหม่คือใช้งานไม่สะดวก แล้วพอไม่สะดวกคนก็ไม่ใช้งาน วนลูปไปไม่จบสิ้น แล้วคู่แข่งตัวใหญ่ที่สะดวกกว่า ง่ายกว่า ในการเดินทางจากย่านนี้เข้าเมือง ไม่ใช่ที่ไหนเลย ก็ทางด่วนส่วนต่อขยายจากบางซื่อ-กาญจนาภิเษก ที่วิ่งอยู่บนหัวเส้นทางสายนี่นั่นแหล่ะ แล้วถ้าจะสู้ให้ได้ก็ต้องมีอาคารจอดแล้วจร หรือถ้าคิดว่าคนมีรถไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานระบบนี้ ก็ควรจะมีรถเมล์หรือ shuttle จากชุมชน จากถนนใหญ่เข้าถึงสถานีให้ง่ายกว่านี้
แล้วจากสถานีตลิ่งชัน ถ้ามี Shuttle เชื่อมไป node สำคัญๆ อย่าง สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ (ฉิมพลี) และ รพ.ศิริราช ได้ก็น่าจะช่วย feed คนเข้ามาระบบได้เยอะกว่านี้ อาจจะใช้ตั๋วร่วม co กับ ขสมก ทำรถเวียน ก็ได้ เพราะ การรถไฟฯ ไม่ถนัดทำอะไรเองอยู่แล้ว ส่วนระยะกลางกว่านี้ถ้าสามารถขยายเส้นทางไปศาลายาได้เร็วขึ้น ก็จะช่วยเชื่อม node ใหญ่ อย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เข้ากับโครงข่ายในเมืองและเพิ่ม traffic ให้ระบบมากขึ้น
นี่ได้แต่ภาวนาว่าการลดความถี่การให้บริการจะเป็นแค่ชั่วคราว เพื่อวัดผล ส่วนมาตรการต่างๆ ที่ช่วยเพิ่ม Traffic ให้กับระบบนั้น ก็หวังว่าทางผู้บริหารจะพิจารณาเข็นออกมาให้ชื่นใจคนใช้บริการบ้างอะโนะ
#SRTRedLineWest
#TalingchanBangsue
#BangkokMassTransit
รถไฟฟ้า
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย