Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
14 ก.พ. 2022 เวลา 12:19 • การเมือง
Moscow - Washington Hotline : จุดกำเนิดสายตรงฉุกเฉินของสุดยอดผู้นำรัสเซีย - สหรัฐ
3
บทสรุปที่ยังไม่แน่ชัด จากการต่อสายตรงของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐ กับผู้นำรัสเซีย “วลาดิเมียน์ ปูติน” เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความกังวลให้กับทั่วโลกในขณะนี้ไม่น้อย
1
แต่ในขณะที่ทุกคนสนใจแต่เนื้อหาของการหารือ มีอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจแต่ไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไร คือ วิธีการสื่อสารที่ครั้งนี้ทำ “ผ่านการโทรศัพท์ระหว่างผู้นำโดยตรง” ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก
อันที่จริงแล้ว การสื่อสารระหว่างผู้นำของสหรัฐและรัสเซียในอดีตนั้น เคยต้องใช้เวลาส่งและแปลความแต่ละข้อความมากกว่า 10 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ซึ่งความล่าช้าตอนนั้น เกือบจะนำทั้งสองประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามแล้ว
ในบทความนี้ Bnomics จึงจะพาทุกท่าน ไปดูต้นกำเนิดและพัฒนาการของช่องทางสื่อสารระหว่างผู้นำของทั้งสองชาติกัน
1
📌 “วิกฤติขีปนาวุธคิวบา” ที่มาของสายด่วนระหว่างประเทศ
ย้อนกลับไปในสมัย วิกฤติขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missile Crisis) การสื่อสารระหว่างผู้นำของสหรัฐและรัสเซีย(ในตอนนั้นยังเป็นโซเวียด) เป็นเรื่องที่ทำได้อย่างยากเย็น เนื่องจากที่ปรึกษาทางการทหารทั้งสองฝ่ายยังไม่เห็นด้วยที่จะให้ผู้นำสื่อสารกันโดยตรง
ภายใต้ความตึงเครียดของสถานการณ์ ประธานาธิบดีสหรัฐในยุคนั้น นายจอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ถูกบีบให้ตัดสินใจว่า จะตอบโต้กับการตั้งฐานขีปนาวุธของรัสเซียอย่างไรดี โดยมีสองทางเลือกหลัก 1) เปิดสงคราม และ 2) เจรจาทางการทูต
ในตอนนั้น เคนเนดีเลือกที่จะใช้วิธีการทางการทูต แต่เรื่องมันก็ไม่ได้จบลงอย่างง่ายดาย เพราะปัญหาการสื่อสารระหว่างทั้งสองประเทศที่เชื่องช้า โดยข้อเรียกร้องจากทางโซเวียดที่ส่งมาถึงสหรัฐในยุคนั้น ต้องใช้เวลาในการส่งและการแปลความ “นานถึงประมาณ 12 ชั่วโมง” เลยทีเดียว
1
“เวลาไม่ค่อยท่า” คงเป็นประโยคที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในตอนนั้น เพราะเช้าต่อมา ในวันที่ 27 ตุลาคม 1962 ตอนที่ทางสหรัฐยังร่างจดหมายตอบกลับไม่เสร็จสิ้นด้วยซ้ำ ทางโซเวียดก็ได้ส่งจดหมายอีกฉบับมาเพิ่มแล้ว โดยมีเนื้อหาที่เกรี้ยวกราดและรุนแรงกว่าเดิม
เคนเนดีได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ โดยการทำเหมือนไม่เคยได้รับจดหมายฉบับที่สอง และก็ร่างจดหมายสำหรับตอบกลับจดหมายฉบับแรกของโซเวียด ซึ่งเป็นฉบับที่เปิดกว้างทางการเจรจามากกว่า ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงถอยคนละก้าว และคลี่คลายปัญหาไปได้
หลังจากวิกฤติครั้งนี้ ทั้งสองประเทศมหาอำนาจก็รู้ได้ทันทีว่า จำเป็นต้องสร้างช่องทางในการสื่อสารระหว่างรัฐที่มีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารความต้องการของทั้งสองฝ่ายได้อย่างทันท่วงที และหลีกเลี่ยงโอกาสในการเกิดสงครามขีปนาวุธ
จึงได้ลงนามในข้อตกลงที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี 1963 เป็นการเริ่มต้นของปฏิบัติการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “Direct Communication Link (DCL)”
มีผู้คนจำนวนมากที่เข้าใจผิด คิดว่า การสื่อสารระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศมหาอำนาจนี้ จะทำได้โดยตรงผ่านโทรศัพท์ส่วนตัวอย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริงเลย ส่วนหนึ่งที่เป็นแบบนี้ เพราะ มีหนังจำนวนมากที่บอกว่าเป็นเช่นนั้น โดยมักจะแสดงออกมาผ่าน “โทรศัพท์สีแดง (Red Phone)” ที่แค่ยกหูก็ต่อสายตรงถึงผู้นำอีกคนเลย
1
ในความเป็นจริง ในช่วงยุคแรกของการสื่อสารระหว่างทั้งสองรัฐบาลทำผ่านแค่ตัวอักษรเท่านั้น เพราะทั้งสองฝ่ายยังกังวลอยู่ว่า หากมีการเจรจากันผ่านทางคำพูดโดยตรงเลย อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่พึงประสงค์ได้
โดยในช่วงเริ่มแรก หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงปี 1963 ได้มีการพัฒนาสายเคเบิลที่ผ่านทั้ง วอชิงตัน - ลอนดอน – โคเปนฮาเกน – สตอกโฮล์ม - เฮลซิงกิ – มอสโก และทำการส่งข้อความกันผ่านโทรเลขที่เข้ารหัสเป็นภาษาของตัวเอง (สหรัฐใช้ภาษาอังกฤษ และรัสเซียใช้ภาษารัสเซีย) เพื่อให้สื่อสารได้อย่างไม่ตกหล่น
แล้วส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามถอดรหัสและแปลด้วยตนเอง โดยเครื่องถอดรหัสในยุคแรกที่มีการใช้กัน ก็เป็นเครื่องที่ผลิตจากประเทศที่เป็นกลางอย่างนอร์เวย์ เพื่อไม่เปิดเผยความลับเทคนิคการเข้ารหัสของทั้งสองประเทศ โดยเจ้าเครื่องนี้ มีชื่อว่า “Electronic Teleprinter Cryptographic Regenerative Repeater Mixer หรือชื่อย่อว่า ETCRRM”
📌 เครื่องถอดรหัสเครื่องแรก
เครื่องถอดรหัสนี้ ใช้เทคนิคการเข้ารหัสแบบใช้ครั้งเดียว (One-Time Pad: OTP) ผ่านตัวเลขที่ทำการสุ่มโดยสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถโดยแฮกได้อย่างแน่นอน
โดยข้อความแรกที่ทำการทดสอบผ่านระบบจากสหรัฐไปถึงรัสเซีย ประกอบไปด้วยตัวอักษรทุกตัวในภาษาอังกฤษ และตัวเลขทุกตัวด้วย เป็นข้อความว่า “THE QUICK BROWN FOX JUMPED OVER THE LAZY DOG’S BACK 1234567890”
1
ซึ่งแม้กระบวนการจะยังดูมีความยุ่งยากอยู่ระดับหนึ่ง แต่ก็ช่วยย่นระยะเวลาจากสมัยวิกฤติคิวบาได้มากโข
📌 การพัฒนาต่อยอดจากระบบสายตรงฉุกเฉิน
มีการพัฒนาต่อยอดเจ้าตัว “Hotline” ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศเรื่อยมา ทั้งการใช้ดาวเทียมเป็นตัวกลาง การใช้แฟกซ์ การใช้อีเมลเข้ารหัส ทั้งหมดนี้ก็เพื่อร่นระยะเวลาในการส่งข้อมูล และก็เพิ่มประสิทธิภาพให้ส่งข้อมูลเป็นไฟล์อย่างอื่นได้นอกจากตัวอักษรอย่างเดียว
1
ซึ่งช่องทางนี้ ก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์จริงๆ หลายครั้ง ในกรณีที่ทั้งสองประเทศคิดว่า เข้าข่ายสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดสงครามระหว่างประเทศได้ โดยการใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เกิดขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ถูกลอบสังหารในปี 1963 นั่นเอง
แต่การพัฒนาต่อยอดการสื่อสารของทั้งสองประเทศ ไม่ได้จบอยู่แค่ระบบสายตรงฉุกเฉิน ที่เป็นการส่งข้อความระหว่างผู้นำเท่านั้นครับ แต่ยังมีระบบการส่งข้อความอื่นที่พัฒนาคู่ขนานกันมาด้วย
ทั้งระบบ Nuclear Risk Reduction Center (NRRC) ที่พัฒนาตั้งแต่ปี 1987 ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารฐานนิวเคลียร์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศ
ระบบ Cybersecurity Link ที่ออกมาใช้ตอนปี 2013 เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านความมั่นคงไซเบอร์ หลังจากเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลโดยอดีตเจ้าหน้าที่ CIA “Edward Snowden” กลายเป็นข่าวใหญ่โต
โดยระบบนี้มีการรวมการโทรผ่านโทรศัพท์ (Phone Call) ไว้ด้วย ซึ่งมีการบอกว่า ถูกใช้ครั้งแรกในสมัยประธานาธิบดี บารัค โอบามา ในการเตือนรัสเซียไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งของสหรัฐ
และ ระบบ Direct Voice Link (DVL) ที่เป็นระบบที่เปิดโอกาส ให้มีการคุยกันบทสนทนาเสียงโดยตรงระหว่างทั้งสองฝ่าย แม้ระบบนี้จะใช้เครือข่ายดาวเทียมเดียวกับส่วน Hotline ที่ช่องทางสำหรับเรื่องฉุกเฉินที่อาจจะนำไปสู่สงคราม แต่ DVL ก็ไม่ได้จัดอยู่ในการสื่อสาร Hotline
1
เพราะโดยปกติแล้วสายนี้ จะใช้สำหรับการทูตและการจัดการเดินทางระหว่างผู้นำทั่วไปมากกว่า ต้องเป็นกรณีวิกฤติจริงๆ เท่านั้น ที่อาจจะมีการนำมาใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ
เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ระหว่างผู้นำโดยตรงแต่ละครั้ง ต้องผ่านการเตรียมตัว เตรียมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนมาก และระหว่างการพูดคุยก็ต้องมีผู้ช่วยและล่ามแปลภาษา คอยนั่งฟังและให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลาด้วย
ทำให้การคุยกันระหว่างไบเดนและปูติน กว่าหนึ่งชั่วโมงผ่านโทรศัพท์ เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการทูตระหว่างสองประเทศนี้ ยิ่งทำให้เราต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า สถานการณ์ที่เรากำลังเจออยู่ตอนนี้ อาจจะเป็นสถานการณ์ที่พิเศษอย่างยิ่ง และใกล้เคียงกับเหตุฉุกเฉินมากกว่าที่หลายคนคิด
1
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
https://www.cryptomuseum.com/crypto/hotline/index.htm?fbclid=IwAR2mcgZm_D4glnEt0wUs71ZA5Wx-FFW7DsUQ8qa2KNXf_5LBgeJhSlQWKYo
https://www.nytimes.com/live/2022/02/12/world/russia-ukraine-news?fbclid=IwAR3QVY41UvO5VZSKqRML82FzSeyCqS9CqnThKeMxOD1K0HBJ-843O_40cDU
https://www.nbcnews.com/news/us-news/truth-behind-red-phone-how-u-s-russia-really-connect-n698406?fbclid=IwAR1b6z8X6453R37uupZFaSixS8lA5qxtHYr3v0Y0M9se4KPxYKG8EClMnH8
https://www.history.com/this-day-in-history/hotline-established-between-washington-and-moscow?fbclid=IwAR2r-6qRBCxEpGYzyq8cfEyGgzPyuMOMayVV-gp8BN-CUMNVIpMKY9QG7RI
https://www.nbcnews.com/news/us-news/what-obama-said-putin-red-phone-about-election-hack-n697116?fbclid=IwAR3D7O_PX84NM8ED7cr9RMh7n7EWmwtu4Zx9nlYTAmx2vn55efPPRFAKdSI
https://obamawhitehouse.archives.gov/the-press-office/2013/06/17/fact-sheet-us-russian-cooperation-information-and-communications-technol?fbclid=IwAR1yOivQG58zj_tnDr-wP6tzGqm-bxthaI6xs2_kHMufcowaIfqfAu57u2U
https://www.armscontrol.org/factsheets/Hotlines?fbclid=IwAR3VKvWl3YU3FpqZI8nkEL4Umma9HHNnWOHy-Bh1Ck_WmpYYs5caf9QMNdA
https://en.wikipedia.org/wiki/Moscow%E2%80%93Washington_hotline?fbclid=IwAR3VKvWl3YU3FpqZI8nkEL4Umma9HHNnWOHy-Bh1Ck_WmpYYs5caf9QMNdA
https://www.washingtonpost.com/opinions/2019/09/30/heres-what-presidential-phone-call-with-foreign-leader-looks-like-normal-white-house/?fbclid=IwAR1Tapr7C30dyTMZ_sH7LTVc-2xk73eskZYHzRqBFGF65FlU1Jq0duVGneQ
เครดิตภาพ :
Alexei Nikolsky, Sputnik, Kremlin Pool Photo via AP
Brendan Smialowski | AFP | Getty Images
สหรัฐอเมริกา
ข่าวรอบโลก
22 บันทึก
19
1
14
22
19
1
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย