Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 ก.พ. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โลกกำลังเข้าสู่ ศึกแย่งชิง ทรัพยากรมนุษย์
3
400,000 คน คือตัวเลขตำแหน่งงานว่างของประเทศเยอรมนี
ที่กำลังต้องการแรงงานทักษะสูงเข้ามาเติมเต็ม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2021
และในช่วงปี 2021-2030 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของสหภาพยุโรปแห่งนี้
อาจต้องการแรงงานเพิ่มอีกกว่า 5 ล้านคน
8
ไม่ใช่แค่เยอรมนี แต่สิ่งที่ประเทศร่ำรวยทั่วโลก ไล่มาตั้งแต่ประเทศในสหภาพยุโรป
แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จนถึงสิงคโปร์ ล้วนต้องการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเวลานี้
ก็คือ “แรงงานจากชาวต่างชาติ”
3
เรื่องราวเหล่านี้เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 โลกอยู่ในยุคสมัยที่เรียกว่า ยุคจักรวรรดินิยม..
1
ประเทศมหาอำนาจในยุโรป ต่างพากันแย่งชิงดินแดนในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
เพื่อยึดดินแดนเหล่านี้เป็นอาณานิคม ตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ นำมาเป็นวัตถุดิบ
ป้อนเข้าสู่โรงงาน เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมของตัวเอง
1
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 20
ถึงแม้จะเกิดสงครามโลกถึง 2 ครั้ง แต่ประเทศในยุโรป ก็สามารถผ่านพ้นและพลิกฟื้นเศรษฐกิจด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาจนกลับมาเป็นประเทศร่ำรวยมั่งคั่ง
3
ในขณะที่ประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น กลุ่มสี่เสือเศรษฐกิจ และจีน
ก็ใช้ประโยชน์จากความร่ำรวยของยุโรปและสหรัฐอเมริกา พัฒนาอุตสาหกรรมของตัวเอง
จนกลายเป็นฐานการผลิตสินค้า สามารถส่งออกสินค้าไปตีตลาดโลก
และกลายเป็นประเทศร่ำรวยได้เป็นผลสำเร็จ
3
แต่ความร่ำรวยก็มีราคาที่ต้องจ่าย..
1
เมื่อประเทศมีรายได้มากขึ้น นำมาสู่การพัฒนาสวัสดิการ
โดยเฉพาะสวัสดิการสาธารณสุข ที่ทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น
และสวัสดิการการศึกษาที่ทั่วถึง ที่ทำให้ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้น
เลยเลือกที่จะแต่งงานช้า และมีลูกน้อยลง
10
ทั้งหมดส่งผลให้ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น และประชากรที่เกิดใหม่มีน้อยลงเรื่อย ๆ
แล้วศตวรรษที่ 21 ก็เปิดฉากด้วยสิ่งที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงวัย”..
6
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ที่เผชิญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
โดยญี่ปุ่น มีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วน 10% ของประชากร
มาตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งมีส่วนทำให้ GDP ของญี่ปุ่นแทบไม่ไปไหนมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว
3
สังคมผู้สูงอายุได้แผ่ขยายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศร่ำรวย ทั้งประเทศในสหภาพยุโรป แคนาดา เกาหลีใต้ จนถึงสิงคโปร์
เมื่ออัตราการเกิดของคนในประเทศลดต่ำ สวนทางกับคนสูงอายุที่เพิ่มขึ้น
วัยแรงงานของประเทศจึงลดลง ภาษีจากแรงงานที่เติมเต็มระบบสวัสดิการจึงมีแนวโน้มลดลง
8
สิ่งที่ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ต้องการก็คือ “ผู้อพยพจากต่างชาติ”
เพื่อเข้ามาทำงานจ่ายภาษีให้ระบบสวัสดิการ ชดเชยประชากรวัยแรงงานที่พากันเกษียณอายุ
และขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป
6
นำมาสู่การจัดตั้งนโยบายอย่างจริงจัง เพื่อดึงดูดผู้อพยพจากต่างชาติ
โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพ หรือแรงงานในภาคส่วนบริการ
1
เยอรมนีเป็นประเทศที่ต้องการแรงงานต่างชาติมากที่สุดในสหภาพยุโรป
ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด จึงวางแผนชัดเจนที่จะดึงดูดผู้อพยพจากต่างชาติ
4
ทั้งการออกกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองที่ผ่อนปรนให้บริษัทเยอรมันสามารถรับแรงงานทักษะสูงจากทั่วโลกได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่เอื้อกฎให้กับชาติในสหภาพยุโรปเท่านั้น
2
และวางแผนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้อยู่ที่ชั่วโมงละ 12 ยูโร หรือราว 444 บาท
จากชั่วโมงละ 9.6 ยูโร หรือ 355 บาท ในปี 2021 เพื่อให้เยอรมนีน่าดึงดูดสำหรับแรงงานต่างชาติ
12
แคนาดา ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อีกแห่งหนึ่งของทวีปอเมริกาเหนือ
ถึงแม้จะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุไม่มากเท่ายุโรป แต่ก็ต้องการผู้อพยพเช่นกัน
เพื่อขยายขนาดเศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มประชากรจาก 38 ล้านคนในปี 2021
1
แคนาดาจึงตั้งเป้าว่าจะดึงดูดผู้อพยพวัยแรงงานให้ได้ 1,200,000 คน ภายในปี 2021-2023
เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป โดยชูจุดเด่นในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดี
สวัสดิการด้านสาธารณสุข และสวัสดิการการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสำหรับลูกหลานของผู้อพยพ
10
โดยในปี 2021 ก็ได้ดำเนินนโยบายดึงดูดแรงงานทักษะสูงกว่า 90,000 คน
โดยการรับสมัครเพื่อให้สิทธิ์ผู้พำนักถาวร หรือ Permanent Resident
แก่ผู้สมัครที่เป็นบุคลากรด้านการบริการสุขภาพ บริการผู้สูงอายุ บริการอาหาร
และนักศึกษาต่างชาติจบใหม่ในระดับมหาวิทยาลัย
9
ทางฝั่งทวีปเอเชีย ก็มีเกาหลีใต้ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 10 ของโลก
ที่กลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก
โดยอัตราการเกิดของเด็กเกิดใหม่ต่อผู้หญิง 1 คน ของเกาหลีใต้ ในปี 2020 อยู่ที่เพียง 0.9 คน
เกาหลีใต้จึงกำหนดนโยบายการย้ายถิ่นฐานอย่างจริงจัง ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2022
ทั้งการให้สิทธิ์พำนักถาวร และสนับสนุนการแปลงสัญชาติ สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติที่จบหลักสูตรปริญญาโท หรือปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์ในเกาหลีใต้
2
จัดตั้ง “Korean Wave Visa” เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถในด้านวัฒนธรรมบันเทิง
เช่น K-POP หรือผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาในประเทศ
รวมถึงการสร้างหลักประกันให้กับเด็ก ๆ ลูกหลานของผู้อพยพที่เกิดในเกาหลีใต้ว่าจะได้รับการศึกษาในระบบของเกาหลีใต้ เท่าเทียมกับเด็ก ๆ ชาวเกาหลีใต้ทุกคน..
1
ประเทศร่ำรวยต่างพากันจัดตั้งนโยบาย เพื่อดึงดูดแรงงานชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนา ชดเชยสถานการณ์แรงงานที่น่าเป็นห่วงของประเทศตัวเอง
4
1
แต่ผู้ที่น่าเป็นห่วงมากกว่า กลับเป็นเหล่าประเทศกำลังพัฒนา
ที่อยากจะพัฒนาอุตสาหกรรม หวังจะลืมตาอ้าปากด้วยเม็ดเงินลงทุน
ของประเทศร่ำรวยเหมือนในอดีต
4
กลับกลายเป็นว่า ประเทศเหล่านี้กำลังสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ไปให้กับประเทศร่ำรวย
10
หากศตวรรษที่ 19 คือช่วงเวลาของการแย่งชิงดินแดน เพื่อดึงดูดทรัพยากรธรรมชาติ
ศตวรรษที่ 21 ก็เรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาของศึกแย่งชิงทรัพยากรมนุษย์ โดยไม่ต้องแย่งชิงดินแดน
11
ศึกครั้งนี้คงบอกไม่ได้ว่า ประเทศร่ำรวยแห่งไหนจะเป็นผู้ชนะ
แต่ผู้พ่ายแพ้ ก็น่าจะเป็นประเทศ ที่ไม่สามารถดึงดูดประชากรของตัวเอง ให้อยู่ในประเทศได้..
14
2
References:
-
https://www.un.org/development/desa/dpad/publication/world-economic-situation-and-prospects-november-2021-briefing-no-155/
-
https://image.mfa.go.th/mfa/0/pFxDf7ZYQ7/ข่าวน่ารู้/Weekly_News_160464.pdf
-
https://www.reuters.com/article/us-southkorea-fertility-rate-idUSKBN2AO0UH
-
https://www.businessinsider.com/germany-government-increase-minimum-wage-workers-three-per-cent-2021-11
1
ทรัพยากรมนุษย์
128 บันทึก
192
13
275
128
192
13
275
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย