15 ก.พ. 2022 เวลา 13:44 • ปรัชญา
ผมขอยก “กาลามาสูตร” ในทางพระพุทธศาสนามานำเสนอครับ โดย
กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1) มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟัง ๆ ตามกันมาหรือเพียงมีใครพูดให้ฟัง
2) มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน
3) มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
4) มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
5) มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ
6) มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อกัน
7) มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อเพราะลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้ หรือเห็นด้วยตา ได้ยินกับหู เพราะเรื่องราวหนึ่งอาจมีอะไรมากกว่าที่เห็น
8) มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
9) มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
10) มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเป็นครูของเรา เพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา
เป็นศาสดาของเรา
ผมขอยกตัวอย่าง กรณี “ยิงเสือ เพราะต้องการช่วยชีวิตวัวที่เลี้ยงไว้”
1) ถ้าเสือจู่โจมวัว และคนเลี้ยงวัวยิงเสือในบริเวณที่เลี้ยงวัว แสดงว่า ต้องมีรอยเท้าเสือเป็นทางยาวมาจากแนวป่า
หากคนเลี้ยงวัวเข้าไปยิงเสือ ในพื้นที่ที่ไม่มีวัวที่ถูกเลี้ยงกินหญ้าอยู่ และชัดเจนว่าเป็นเขตอาศัยของเสือ อันนี้ก็ต้องสงสัย ได้ว่า เสือถูกล่า ไม่ใช่การยิงเพื่อป้องกันวัว
2) ใช่ว่า คนเลี้ยงวัวจะอ้างการปลิดชีวิตเสือว่าเป็นการป้องกันวัวได้ทุกกรณี เพราะถ้าคนเลี้ยงวัวเข้าไปล่าเสือ แล้วเอาซากเสือมาวางใกล้คอกวัว เพื่ออ้างว่า เสือจะมากินวัว เลยต้องยิง แต่ชัดเจนว่า ไม่มีรอยเท้าเสือให้เห็นเลย!
ดังนั้น “การพิสูจน์ทราบ” จึงเป็นหัวใจสำคัญของการชี้ “ถูก-ผิด”
โฆษณา