16 ก.พ. 2022 เวลา 09:50 • การศึกษา
[ตอนที่ 59] ประเด็นจากประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา : การเพิ่มหรือเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงอื่นตามเกณฑ์การทับศัพท์หรือการออกเสียงภาษานั้น
ชื่อตามป้ายบอกทางบนทางหลวงใกล้เมืองท่าโคเปอร์ (Koper) ของประเทศสโลวีเนีย ซึ่งแสดงชื่อเมืองพูลาในประเทศโครเอเชีย ในภาษาสโลวีเนีย-โครเอเชีย-อิตาลี และชื่อเมือง 3 แห่งแถบชายฝั่งของสโลวีเนีย ในภาษาสโลวีเนีย-อิตาลี [Credit ภาพ: User ‘romanm’ @ wiki.openstreetmap.org]
จากร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาเสนอ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
- เว็บไซต์รัฐบาลไทย : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51583
ร่างประกาศฯ จากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
ชื่อเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมซึ่งมีประเด็นอยู่ [ที่มา: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา]
ชื่อเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมในร่างประกาศของสำนักราชบัณฑิตยสภา ทำให้เกิดประเด็นน่ากังวลอยู่ 2 ประเด็น
1. ชื่อ Bangkok ที่เก็บใส่วงเล็บ - กล่าวถึงไปแล้วในเนื้อหาตอนก่อนหน้า
2. การเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามการออกเสียงและเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาท้องถิ่น
สำหรับเนื้อหาในตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะข้อ 2. การเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามการออกเสียงและเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาท้องถิ่น
[การเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามการออกเสียงและเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาท้องถิ่น]
มาดูหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่ทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำ ปัจจุบันทำเสร็จแล้ว 15 ภาษา
- ภาษาอังกฤษ
- ภาษาเยอรมัน (ตามสำเนียงมาตรฐาน)
- ภาษาอิตาลี
- ภาษาฝรั่งเศส (ตามสำเนียงฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่)
- ภาษาสเปน (ตามสำเนียงสเปนตอนเหนือ)
- ภาษาอาหรับ (ตามสำเนียงมาตรฐานสมัยใหม่)
- ภาษารัสเซีย
- ภาษาญี่ปุ่น (ตามสำเนียงโตเกียว)
- ภาษาเกาหลี
- ภาษาจีน (ตามสำเนียงมาตรฐาน)
- ภาษาเวียดนาม (ตามสำเนียงฮานอย)
- ภาษามลายู
- ภาษาอินโดนีเซีย
- ภาษาฮินดี
- ภาษาพม่า
กำลังดำเนินการ 4 ภาษา
- ภาษาเขมร
- ภาษาดัตช์
- ภาษาโปรตุเกส (ตามสำเนียงใด? เพราะภาษาโปรตุเกสมีสำเนียงฝั่งยุโรปกับฝั่งบราซิล)
- ภาษาฟิลิปปินส์
ในร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ระบุถึงการเพิ่มชื่อเมืองหลวงตามเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับภาษานั้น เช่น เมืองหลวงของมาเลเซีย เพิ่มชื่อ “กัวลาลุมปูร์” (ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายูของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) นอกเหนือจากชื่อเดิมคือ “กัวลาลัมเปอร์”
แต่หากจะเพิ่มชื่อเมืองหลวงของประเทศอื่นตามเกณฑ์การทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา “ในตอนนี้” จะมีปัญหากระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ ดังนี้
1. เกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสภามีจุดอ่อนตรง “ไม่มีมาตรฐาน” กับภาษาที่มีวรรณยุกต์
- เกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเวียดนาม : พยายามเอาเสียงวรรณยุกต์ภาษาเวียดนาม 6 เสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงวรรณยุกต์ในระบบเสียงภาษาไทย
ที่มา - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/112/7.PDF
- เกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า : ราชบัณฑิตยสถานกลับไม่เอาเสียงวรรณยุกต์ในระบบเสียงภาษาไทย ไปเทียบให้ใกล้เคียงเสียงวรรณยุกต์ 3 เสียงพ่วงอยู่กับเสียงสระในภาษาพม่า
1
ที่มา - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/082/1.PDF
2. ถ้าปรับให้ชื่อเมืองหลวงมีชื่อเพิ่ม คราวนี้ชื่อเมืองหลวงประเทศอื่น ๆ ที่การอ่านชื่อในภาษาท้องถิ่นแตกต่างออกไปก็ต้องเพิ่มชื่อทั้งหมด และตอนนี้สำนักงานราชบัณฑิตยสถานมีเกณฑ์การทับศัพท์เพียง 15 ภาษา ยังไม่ครอบคลุมภาษาที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันออก ภูมิภาคตะวันออกกลาง ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา
ตัวอย่างชื่อเมืองหลวงในทวีปยุโรปที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภายังไม่มีเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาท้องถิ่น
สามารถฟังการออกเสียงชื่อเมืองหลวงในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์ Forvo
- ลิชบัว : https://forvo.com/word/lisboa/#pt
- เบโอกรัด : https://forvo.com/word/beograd/#sr
- วาร์ซาวา : https://forvo.com/word/warszawa/#pl
- เคอเบินฮาวน์ : https://forvo.com/word/københavn/#da
- สต็อกโคล์ม : https://forvo.com/word/stockholm/#sv
3. การปรับเพิ่มชื่อเมืองตามเสียงอ่าน จะครอบคลุมถึงเมืองอื่น ๆ กับดินแดนอื่น ๆ (พวกเขตปกครองพิเศษ) ที่ไม่ใช่เมืองหลวงหรือไม่?
4. การปรับเพิ่มชื่อเมืองตามเสียงอ่าน จะครอบคลุมกรณีที่เมืองนั้นมีภาษาท้องถิ่นหลายภาษาหรือไม่?
ที่มาของการทับศัพท์ภาษาทิเบตและภาษากวางตุ้ง จากบล็อก Phyblas บล็อกเพื่อนบ้านสายภาษาต่างประเทศอีกแห่ง
- หลักการทับศัพท์ภาษากวางตุ้ง : https://phyblas.hinaboshi.com/20190208
- หลักการทับศัพท์ภาษาทิเบต : https://phyblas.hinaboshi.com/20200105
ดังนั้น จากปัญหาที่เกิดขึ้นในการเขียนชื่อเมืองหลวงของต่างประเทศด้วยเสียงอ่านตามภาษาท้องถิ่น ผมจึงคิดว่าทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาควรทำเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอื่น ๆ ให้มากกว่านี้ก่อน และเพิ่มความรัดกุมในการทับศัพท์ชื่อเมืองในภาษาต่างประเทศให้มากขึ้นครับ
โฆษณา